Site icon คุณแม่ลูกอ่อน

ก่อนไปจดทะเบียนสมรส ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง

ก่อนไปจดทะเบียนสมรส ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง

ผู้หญิงทุกคนต่างใฝ่ฝันถึงวันที่ตัวเองจะได้แต่งชุดเจ้าสาวสีขาว ยืนตัดเค้กก้อนใหญ่ หรือเทแชมเปญลงในแก้วที่เรียงกันเป็นชั้นน้ำตก เป็นวันที่ประกาศอย่างเป็นทางการว่า ฉันและเธอ…เราเป็นสามีภรรยากัน แต่เดี๋ยวก่อน…ยังมีอีกเรื่องที่เราต้องจัดการค่ะ นั่นคือ “การจดทะเบียนสมรส” ซึ่งเป็นการยืนยันว่าเราจะได้รับสิทธิต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนดในฐานะสามีภรรยากัน แต่ไม่ใช่ว่าตื่นเช้ามาจะเดินไปที่อำเภอตัวเปล่าเน้อ ยังมีอีกหลายสิ่งที่ต้องเตรียมไปนะคะ

คุณสมบัติของผู้ที่จะจดทะเบียนสมรส

เราไปสำรวจตัวเองกันก่อนเลยดีกว่าค่ะ

  1. จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 17 ปีบริมบูรณ์ แต่ถ้ายังไม่ถึง 20 ปี จะต้องมีบิดา มารดา หรือผู้ปกครองมาแสดงความยินยอมด้วย ส่วนหนุ่มสาวคู่ไหนที่มีอายุเกิน 20 ปี บริบูรณ์แล้ว สามารถมาจดทะเบียนได้ด้วยตัวเอง
  2. ชายหรือหญิงที่มีอายุครบ 17 ปี บริบูรณ์ ในกรณีที่เหตุอันควร ศาลอาจจะอนุญาตให้สมรสก่อนที่ชายและหญิงนั้นมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ได้
  3. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือไร้ความสามารถ
  4. ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดา (จะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ลูกติดพ่อ หรือลูกติดแม่ นั่นเองค่ะ)
  5. ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
  6. ผู้ที่รับเลี้ยงดูบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
  7. กรณีผู้หญิงที่เคยสมรสมาก่อน (หญิงหม้าย) ถ้าจะจดทะเบียนกับชายคนเดิม สามารถทำได้เลย แต่…ถ้าจะจดทะเบียนกับชายคนใหม่ต้อง…เว้นระยะเวลาจากการหย่าครั้งล่าสุดอย่างน้อย 310 วัน ยกเว้นว่า…
  8. คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
  9. สมรสกับคู่สมรสเดิม
  10. มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้มีการตั้งครรภ์
  11. ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้
  12. กรณีที่ชายหญิงมีอายุไม่ครบ 17 ปี บริบูรณ์ที่ศาลอนุญาตให้สมรสได้

**ส่วนผู้ชายที่หย่าแล้ว หากต้องการที่จะสมรสใหม่ ก็สามารถจดทะเบียนได้เลยนะคะ เพราะผู้ชายท้องไม่ได้ค่ะ

เอกสาระสำคัญที่ต้องใช้ในการจดทะเบียน

  1. บัตรประชาชน (ที่ยังไม่หมดอายุ) ของทั้งชายและหญิง หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
  2. ทะเบียนบ้านตัวจริงของทั้งชายและหญิง (ถ่ายสำเนาไปเผื่อหน่อยก็ดีนะคะ)
  3. พยาน 2 คน และบัตรประชาชนของพยานด้วยนะคะ กรณีที่อายุครบ 20 ปี บริบูรณ์
  4. สำหรับชายหญิงคู่ไหนที่เคยหย่ามาก่อน เอาเอกสารการหย่าไปด้วยนะคะ
  5. หากคู่สมรสของคู่ไหนเสียชีวิตก่อน ให้นำหลักฐานการตายไปแสดงด้วย เช่น ใบมรณะบัตร
  6. สูจิบัตรและทะเบียนบ้านของบุตร (หากเคยมีบุตรมาก่อนที่จะมาจดทะเบียนในครั้งนี้)
  7. แบบฟอร์ม คร.1 (ไปรับได้ที่อำเภอค่ะ)

กรณีที่จดทะเบียนกับชาวต่างชาติ ต้องนำ หนังสือเดินทาง (Passport) และ หนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูตหรือสถานกงสุล หรือองค์การของรัฐบาลที่ประเทศนั้นมอบหมาย พร้อมคำแปล (ที่มีการรับรองว่าแปลถูกต้อง) ไปด้วย

**แนะนำว่าเอกสารทุกฉบับที่จะนำไปด้วยนั้นควรเป็นตัวจริงทั้งหมด พร้อมกับถ่ายสำเนาไปด้วยนะคะ จะได้ไม่เสียเที่ยว

การเปลี่ยนคำนำหน้า และเปลี่ยนนามสกุล

สำหรับสาว ๆ คนไหนที่ยังแอบหวงสถานะอยู่ คำนำหน้าอย่าง “นางสาว” หรือ เปลี่ยนนามกุล จะเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนก็ได้นะคะ เลือกได้ค่ะ แต่หลังจากที่เราจะทะเบียนสมรสแล้ว และได้ทำการเปลี่ยนคำนำหน้าไป เปลี่ยนนามสกุลไป เอกสารสำคัญอีกแผ่นหนึ่งที่ต้องเก็บให้ดีก็คือ “หนังสือสำคัญการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล” เพราะมันต้องใช้คู่กับเอกสารอื่น ๆ ทุกครั้งที่เราไปติดต่อสถานที่ราชการหรือธนาคาร ถ้าอำเภอลืมให้ ช.๕ ต้องทวงนะคะ

ค่าธรรมเนียม

ส่วนใหญ่แล้ว คู่รักก็มักจะเดินทางไปจดทะเบียนที่อำเภอ ซึ่งไม่มีค่าธรรมเนียมใด ๆ แต่หากคู่ไหนที่ต้องการแช๊ะภาพเป็นที่ระทึก เอ้ย! ที่ระลึกกับครอบครัวและหมู่ญาติพี่น้อง ก็ต้องติดต่อไปที่อำเภอ และแจ้งความประสงค์ขอจดทะเบียนนอกอำเภอ ซึ่งจะมี

  1. ค่าธรรมเนียม 200 บาท แต่ถ้าหากเป็นท้องที่ห่างไกล เสียค่าธรรมเนียม 1 บาท
  2. จัดรถรับ – ส่ง นายทะเบียน

เรื่องเอกสารโดยเฉพาะเป็นเอกสารทางราชการ ว่าที่สามีภรรยาควรนำติดตัวไปให้ครบนะคะ เตรียมไปเผื่อดีกว่าขาด จะได้ไม่ต้องเสียเวลาไป-กลับหลายรอบ ถ้าต่างจังหวัดคงใช้เวลาเดินทางไม่เท่าไหร่ แต่ถ้าเป็นกรุงเทพฯ โอย…ไม่อยากจะคิด