Site icon คุณแม่ลูกอ่อน

พัฒนาการทารกแรกเกิดถึง 1 ปี ที่พ่อแม่ควรทำความเข้าใจ (5 – 8 เดือน)

พัฒนาการทารกแรกเกิดถึง 1 ปี ที่พ่อแม่ควรทำความเข้าใจ (5 – 8 เดือน)

พัฒนาการเด็ก” โน้ตมองว่าเป็นเรื่องของไกด์ไลน์ ซึ่งบางครั้งลูกเราก็ไม่ได้เป็นไปตามทฤษฎีเป๊ะๆ แต่พ่อแม่ก็ควรรู้ไว้นะคะ เพราะบางอย่างถ้าเรารู้ว่าลูกของเราอาจมีพัฒนาการช้าไป พ่อแม่จะได้ช่วยลูกในการกระตุ้นพัฒนาการได้ ไม่ควรนิ่งนอนใจ ว่าแล้วเราไปดูกันต่อเลยดีกว่าค่ะว่า พัฒนาการทารกวัย 5 – 8 เดือนจะมีอะไรบ้าง

พัฒนาการเด็กวัย 5 เดือน

น้ำหนัก

  • เด็กผู้ชาย 5 – 8.5 กก.
  • เด็กผู้หญิง 5 – 7.5 กก.

ส่วนสูง

  • เด็กผู้ชาย 59 – 68 กก.
  • เด็กผู้หญิง 58 – 68 กก.

พัฒนาการ

  • พลิกตัวคว่ำหงายได้เอง
  • เข้าใจและจำชื่อของคนและสิ่งของได้
  • ชองเล่นโยนของ โยนบอล และเขย่าของ
  • เริ่มหยิบจับของได้ด้วยนิ้วโป้งและนิ้วชี้

ของใช้จำเป็น

  • เบาะรองคลาน
  • ของเล่นที่มีเสียง

สิ่งที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ

  • ให้กินนมแม่อย่างเดียว 6 – 8 ครั้ง/วัน ทุก 3 – 4 ชม. รวมประมาณ 24 – 32 ออนซ์
  • ฉี่วันละ 10 – 12 ครั้ง ขับถ่ายวันละ 2 – 5 ครั้ง หลังมื้อนม
  • ระวังขอบของเล่นที่มีคม มีเหลี่ยม

พัฒนาการเด็กวัย 6 เดือน

น้ำหนัก

  • เด็กผู้ชาย 6 – 9 กก.
  • เด็กผู้หญิง 5.5 – 8.5 กก.

ส่วนสูง

  • เด็กผู้ชาย 61 – 70 ซม.
  • เด็กผู้หญิง 58 – 68 ซม.

วัคซีน

  • HBV3 ไวรัสตับอักเสบ บี ครั้งที่ 3
  • DPT3 คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ครั้งที่ 3
  • OPV3 วัคซีนโปลิโอ ครั้งที่ 3
  • Hib3 วัคซีนเสริม

พัฒนาการ

  • พลิกตัวคว่ำหงายได้คล่องขึ้น ชอบพลิกตัวไปมา
  • ชอบนอนหงาย จับเท้าตัวเองเล่น บางครั้งก็เอาเข้าปาก
  • นั่งทรงตัวได้นานขึ้น
  • จำชื่อตัวเองได้
  • ส่งเสียงเรียกหาพ่อแม่ได้
  • งอนพ่อแม่เป็นแล้ว (แอบฟ้องผู้อ่านว่าโน้ตโดนมาแล้ว^^)

ของใช้จำเป็น

  • อุปกรณ์ทานอาหารของเด็ก
  • ผ้ากันเปื้อน
  • พลาสติกกันเปื้อนเวลาทานอาหาร

สิ่งที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ

ระวังเรื่องการแพ้อาหารของลูก เพราะช่วงนี้สามารถให้อาหารเสริมลูกได้แล้ว การจะเริ่มอาหารเสริมตัวใหม่ ควรให้ในเวลากลางวัน เพราะหากลูกแพ้อาหารจะได้ไปหาคุณหมอเฉพาะทางได้

พัฒนาการเด็กวัย 7 เดือน

น้ำหนัก

  • เด็กผู้ชาย 7 – 10 กก.
  • เด็กผู้หญิง 6 – 9.5 กก.

ส่วนสูง

  • เด็กผู้ชาย 63 – 73 ซม.
  • เด็กผู้หญิง 61 – 73 ซม.

พัฒนาการ

  • เริ่มเรียกคำเฉพาะได้แล้ว เช่น แมะๆ ปาๆ
  • คลานได้คล่องขึ้น คลานทั้งวันได้
  • พยายามเลียนแบบเสียงที่พ่อแม่ทำ
  • ตั้งใจฟังเมื่อพ่อแม่พูด
  • ชอบเล่นของเล่น ยิ่งกองรอบตัวเยอะๆ ยิ่งชอบ

ของใช้จำเป็น

  • ฟันลูกเริ่มขึ้นแล้ว เตรียมแปรงสีฟันเด็กได้เลยค่ะ

สิ่งที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ

  • ลูกสามารถกินผลไม้สุกได้ แต่ควรระวังเมล็ดติดคอด้วยนะคะ

พัฒนาการเด็กวัย 8 เดือน

น้ำหนัก

  • เด็กผู้ชาย 7.5 – 10.5 กก.
  • เด็กผู้หญิง 6.5 – 10 กก.

ส่วนสูง

  • เด็กผู้ชาย 65 – 75 ซม.
  • เด็กผู้หญิง 63 – 74 ซม.

พัฒนาการ

  • เริ่มอยากยืนและอยากที่จะหัดยืน
  • ชอบสำรวจของต่างๆ ด้วยการหยิบ จับ และเอาเข้าปากเพื่อกัดและชิม รวมถึงตี
  • ชอบพูด ชอบคุยแต่ยังไม่เป็นคำ มักงึมงำคนเดียว
  • ติดแม่มากๆ ไปไหน ไปด้วย

ของใช้จำเป็น

  • ของเล่นสัมผัส หนังสือลอยน้ำ นิทานผ้า

สิ่งที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ

  • ลูกสามารถกินผลไม้สุกได้ แต่ควรระวังเมล็ดติดคอด้วยนะคะ

การเลี้ยงลูกต้องบอกว่าเป็นอะไรที่เหนื่อยสุดๆ งานต่างๆ ที่ถาโถมเข้ามาเป็นงานที่ไม่มีวันจบสิ้น การเป็นแม่ก็ไม่มีวันจบสิ้นเช่นกัน ยกเว้นในวันที่เราไม่หายใจ แต่…ในทุกๆ วันที่เราได้เห็นลูกเติบโต มีพัฒนาการที่ดีก็เป็นอะไรที่ทำให้เราหายเหนื่อย เรียกได้ว่าเป็นปลิดทิ้งเลยก็ว่าได้ (แล้วค่อยเริ่มเหนื่อยกันใหม่และก็หายเหนื่อยใหม่ 555) ยิ่งวันแรกที่เราได้ยินลูกเรียกพ่อเรียกแม่ได้ เป็นอะไรที่น้ำตาจะไหลให้ได้เลย ความปลื้มปริ่มดีใจยังไม่หมดเท่านี้นะคะ ยังมีอีกเยอะ สำหรับครอบครัวไหนที่ยังเป็นคุณแม่มือใหม่ โน้ตขอเอาใจช่วยนะคะ สำหรับบทความต่อไปจะเป็นพัฒนาการของเด็กวัย 9 – 12 เดือน อย่าลืมติดตามกันนะคะ