Site icon คุณแม่ลูกอ่อน

ลูกมีพัฒนาการช้า จะสังเกตได้อย่างไร มีอะไรที่เป็นสัญญาณเตือน

ลูกมีพัฒนาการช้า จะสังเกตได้อย่างไร มีอะไรที่เป็นสัญญาณเตือน

หากจะพูดถึงเรื่อง “พัฒนาการ” แล้ว โดยทั่วไปเด็กแต่ละคนจะมีพัฒนาการที่ต่างกัน บางคนเร็ว บางคนช้า แต่ที่ว่าช้าน่ะ ต้องช้าแบบไหนถึงเรียกว่า “ช้าแบบผิดปกติ?” วันนี้โน้ตมีวิธีสังเกตพัฒนาการของลูกน้อยมาฝากค่ะ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตเห็นได้ตั้งแต่แรกเกิดเลยทีเดียว

ปัจจัยที่ทำให้ลูกมีพัฒนาการที่ล้าผิดปกติ

มีปัจจัยอะไรบ้างที่จะส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการที่ล่าช้าผิดปกติ

  • กรรมพันธุ์จากคุณพ่อคุณแม่
  • ภาวะระหว่างการคลอดที่ไม่ราบรื่น
  • สุขภาพขณะตั้งครรภ์ของคุณแม่ที่ไม่สมบูรณ์แข็งแรงเท่าที่ควร
  • สุขภาพของลูกหลังคลอดและอาจมีปัจจัยแทรกซ้อนช่วงหลังคลอด
  • มีภาวะด้านโภชนาการที่ไม่เหมาะสม ได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

พัฒนาการล่าช้า เกิดได้ในด้านใดบ้าง

เรื่องของพัฒนาการที่ล่าช้าลูกนั้น เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องหลักเลยที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนกังวล ทีนี้พัฒนาการที่ล่าช้าของลูกที่อาจเกิดขึ้นนั้นมีด้านใดได้บ้าง ไปดูกันค่ะ

  • ทักษะด้านการสื่อสารและภาษา รวมทั้งในด้านการฟัง คือเกี่ยวกับการทำความเข้าใจ และการพูด ก็คือการแสดงออก)
  • ทักษะด้านการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อต่าง ๆ ทั้งมัดเล็กและมัดใหญ่ อาทิ การเดิน การวิ่ง การกระโดด การเขียนหนังสือ และการระบายสี เป็นต้น
  • ทักษะด้านการช่วยเหลือตัวเอง อาทิ การแปรงฟันเอง กินข้าวได้เอง หรือสามารถเข้าห้องน้ำได้เอง เป็นต้น
  • ทักษะด้านสังคม และการปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น อาทิ การสบตา และการเล่นร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น)

8 สัญญาณเตือน ลูกมีแนวโน้มของพัฒนาการที่ล่าช้า

เพื่อเป็นการให้คุณพ่อคุณแม่ได้รู้ทันพัฒนาการของลูกและได้สังเกตลูกว่าลูกจะมีพัฒนาการที่ล่าช้าหรือไม่ วันนี้เรามีวิธีสังเกตลูกน้อยมาฝากค่ะ

ศีรษะ

เพราะถ้าทารกบางคนมีขนาดของศีรษะที่เล็กหรือใหญ่เกินไป นั่นแสดงว่าลูกน้อยอาจมีสมองที่เจริญเติบโตอย่างผิดปกตินั่นเองค่ะ ซึ่งขนาดรอบศีรษะโดยปกติของทารกนั้นจะมีความยาวโดยประมาณดังนี้ค่ะ

  • วัยแรกเกิด – 3 เดือน : 35 เซนติเมตร
  • 4 เดือน : 40 เซนติเมตร
  • 1 ขวบ : 45 เซนติเมตร
  • 2 ขวบ : 47 เซนติเมตร

หู

ตำแหน่งและใบหู

ให้ดูว่าตำแหน่งหูของลูกไม่อยู่สูงหรือต่ำเกินไป รวมถึงใบหูต้องไม่ผิดรูป

เมื่อลูกอายุได้ 6 เดือนโดยประมาณ ทดสอบการได้ยิน

  • วัให้ทดสอบการได้ยินของลูกแล้วสังเกตดูว่าลูกสามารถหันไปตามทิศทางของเสียงได้อย่างถูกต้องหรือไม่
  • ชวนลูกคุยด้วยการทำโทนเสียงสูงต่ำ ให้หลากหลาย
  • ฝึกให้ลูกพูดโต้ตอบ

แต่ถ้าทำทั้งทั้งหมดนี้แล้วลูกไม่มีการตอบสนอง เป็นไปได้ว่าลูกอาจเป็นสัญญาณบอกถึงความผิดปกติบางประการ

ตา

เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า ดวงตามักจะห่างกันจนผิดปกติ ตาเหล่เข้า-ตาเหล่ออก หรือหากมองเห็นแสงสะท้อนจากรูม่านตาลูกเป็นสีขาว แสดงว่ามีความผิดปกติทางสายตา อาจเป็นต้อ หรือจอประสาทตาลอก

วิธีกระตุ้นการเคลื่อนไหวของดวงตา ให้ลูกมองวัตถุที่เคลื่อนไหว อาจเป็นของเล่นที่สีสันสดใส หากลูกมองตามวัตถุแล้วตาแกว่ง ไม่หยุดนิ่ง ไม่จับจ้องที่วัตถุ ไม่สบตา นี่อาจเป็นอีกหนึ่งสัญญาณของความผิดปกติทางดวงตาได้ค่ะ

จมูก

ปกติแล้ว เรื่องกลิ่นนี้ ทารกจะมีปฏิกิริยาที่ไวมาก โดยเฉพาะถ้าเป็นกลิ่นของแม่ ลูกจะหันหาได้อย่างถูกต้องด้วยความคุ้นเคย แต่หากลูกไม่ตอบสนองกับกลิ่นฉุนอื่น ๆ เช่นกัน อาทิ ไม่ขมวดคิ้ว ไม่จามเมื่อมีกลิ่นเหม็น ก็เป็นไปได้ว่าลูกจะมีความผิดปกติในด้านนี้ค่ะ

ปาก

สังเกตได้จากอาการปากแหว่งเพดานโหว่ ลูกพูดไม่ชัด ติดอ่าง หรือแม้แต่มีเสียงที่ผิดปกติ ไม่มีการโต้ตอบตามวัย รวมถึงหากลูก 2 ขวบแล้ว แต่ก็ยังพูดคำที่ไม่มีความหมาย ไม่ทำตามคำสั่ง แบบนี้ก็เข้าข่ายสัญญาณเตือนค่ะ

ลิ้น

หากลูกมีลิ้นที่ใหญ่และยืดออกมาขณะพูด น้ำลายย้อย ไม่เคี้ยวอาหาร ไม่กลืนอาหาร รวมถึงมีการไอและสำลักบ่อย ๆ
วิธีกระตุ้นพัฒนาการในส่วนของลิ้น ให้คุณพ่อคุณแม่นวดกระตุ้นกล้ามเนื้อรอบริมฝีปาก เพื่อให้เกิดการดูด ซึ่งวิธีนวดเริ่มจาก ให้วางนิ้วหัวแม่มือลงบนคางใต้ริมฝีปากล่าง แล้วค่อย ๆ ลากออกเป็นเส้นตรงไปจนสุดขอบปากด้านล่างทั้งสองข้าง ทำเช่นนี้ประมาณ 5 – 10 ครั้ง

แขน ขา และ

ทารกที่มีพัฒนาการที่ล่าช้า มักจะมีลักษณะ

  • แขนและขายาวไม่เท่ากันทั้งสองข้าง
  • มีนิ้วที่ยึดติด นิ้วเกิน 5 นิ้ว หรือนิ้วกุด
  • กล้ามเนื้อของแขนและขาเกร็งเกินไป ทำให้เคลื่อนไหวผิดปกติ
  • ข้อสะโพกหลุด แบะออกมาเกินไป หรือบางรายก็หนีบติดกันไม่ยอมแบะ
  • ท้องผูกเรื้อรัง เพราะลำไส้มีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ หรืออาจมีปัญหาด้านย่อยและการดูดซึม

ผิวหนัง

  • มีปานหรือริ้ว ที่ลักษณะเป็นแนวสีขาวหรือสีดำแถบใหญ่
  • มีปานที่ผิวหนังมากกว่า 6 จุด
  • มีปานที่หลังเป็นรูปต้นคริสมาสต์ และมีกล้ามเนื้อที่นิ่ม
  • ผิวหนังแห้งมากถึงมากที่สุด จะคันและเกาอยู่ตลอดเวลา
  • เหล่านี้เป็นวิธีการสังเกตลูกเบื้องต้นนะคะ อย่างไรก็ตามหากคุณแม่พบสัญญาณดังกล่าว แต่ก็ไม่แน่ใจให้รีบปรึกษาแพทย์นะคะ

    อ้างอิง
    oknation
    asianparent.com