Site icon คุณแม่ลูกอ่อน

ลูกปอดติดเชื้อ ปอดอักเสบ เพราะสำลักนม! อาการสำลักเข้าปอด

ลูกปอดติดเชื้อ ปอดอักเสบ เพราะสำลักนม! อาการสำลักเข้าปอด

ลูกสำลัก” คงไม่มีคุณพ่อคุณแม่คนไหนอยากให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะหากเป็นในเด็กเล็กที่เค้ายังไม่สามารถบอกความต้องการของเค้าออกมาเป็นคำพูดให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจ ดังนั้นสิ่งที่จะทำให้ดีที่สุดก็คือ การป้องกันไม่ให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น แต่…ถ้ามันเกิดขึ้นแล้ว และหนักซะด้วย เช่น เป็นในกรณีที่ลูกสำลักนม และนมเข้าปอด? ซึ่งจะส่งผลให้ลูกเป็นปอดอักเสบ ปอดติดเชื้อได้ อาการจะเป็นอย่างไร มีผลต่อพัฒนาการด้านใดของลูกน้อยหรือไม่ เราไปไล่เรียงกันทีละข้อเลยค่ะ

การสำลักนมเข้าปอดเกิดได้อย่างไร

การสำลักนมเกิดขึ้นเมื่อลูกดูดนมเข้าไปในปากมากกว่าที่จะกลืนได้ในแต่ละครั้ง ทำให้นมส่วนเกินนั้นล้นออกมา และไหลเข้าไปที่ระบบทางเดินหายใจ ไปอุดกั้นการเข้า-ออกของอากาศ จึงทำให้ลูกสำลักนั่นเองค่ะ
การสำลักนมที่มีนมที่ไหลออกปากออกจมูก อาจส่งผลให้เกิดอันตรายได้ ถึงแม้การที่นมไหลออกปากออกจมูกนั้นจะเป็นระบบธรรมชาติของร่างกายในการกำจัดเศษอาหารที่ไม่ต้องการออกมา แต่ถ้าหากระบบป้องกันและกำจัดอาหารทำงานได้ไม่ทัน อาจทำให้สำลักลงปอดได้ นี่จึงเป็นเหตุให้ปอดติดเชื้อ ปอดอักเสบได้ ในบางรายอาจร้ายแรงถึงขึ้นเศษอาหารไปอุดกั้นทางเดินหายใจเลยก็มี

อาการสำลักเข้าปอด ส่งผลให้ปอดติดเชื้อ

เมื่อลูกน้อยมีอาการปอดติดเชื้อแล้วนั้น จะส่งผลให้มีอาการดังนี้

มีไข้สูง

หากลูกมีอาการปอดติดเชื้อ ปอดอักเสบ จะทำให้ลูกมีไข้สูง โดยเฉพาะในเด็กเล็ก หากคุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถทำให้ไข้ของลูกลดลงได้ อาการที่ตามมาก็คือ…

ชักเกร็ง

อาการชักเกร็ง บางครั้งก็มีการกระตุกทั้งตัว ซึ่งหากลูกมีอาการชักเกร็ง สิ่งที่อาจจะตามมาก็คือ การติดเชื้อในสมองหรือเยื่อหุ้มสมอง หากเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี บางรายอาจต้องมีการเจาะเอาน้ำในไขสันหลังไปตรวจ

อาการซึม กินได้น้อยลง และอาเจียน

ด้วยอาการของโรค อาจส่งผลให้เด็กบางคนซึม เบื่ออาหาร ไม่อยากอาหาร กินได้น้อยลง และบางรายอาจมีอาการจาเจียนร่วมด้วย

รับมืออย่างไรเมื่อลูกชัก?

ตั้งสติ

เป็นสิ่งแรก และเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ คุณพ่อคุณแม่ต้องตั้งสติให้ได้ก่อนค่ะ ตกใจได้แต่ก็ควรต้องสติให้เร็ว ยิ่งเร็วได้เท่าไหร่ ลูกก็จะยิ่งปลอดภัยมากขึ้นเท่านั้น

จับลูกนอนตะแคง

เพื่อป้องกันลูกสำลัก และห้ามใช้นิ้วหรือวัสดุใด ๆ ล้วงหรืองัดเข้าไปในปากลูกเด็ดขาด

ปากลูกเริ่มเขียวช้ำ

ถ้าลูกมีอาการชักมากกว่า 3 – 5 นาที และ/หรือเริ่มมีริมฝีปากที่เขียวช้ำ ควรพาลูกนำส่งโรงพยาบาลทันทีค่ะ

ลูกชักจะมีผลต่อพัฒนาการหรือไม่?

ข้อนี้ต้องขึ้นอยู่กับพื้นฐานร่างกายของเด็กด้วยค่ะ ถ้าหากเด็กมีร่างกายที่แข็งแรงอยู่แล้วก็จะไม่มีผลต่อพัฒนาการ หรือการเรียนรู้ของเด็ก
ยกเว้นในเด็กบางรายที่มีอาการชักติดต่อกันเป็นเวลานานมากกว่า 30 นาที จนเกิดภาวะตัวเขียว ขาดออกซิเจน ซึ่งจะส่งผลต่อสมองได้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วถ้าเป็นอาการชักในรูปแบบนี้ มักจะหายได้เองภายใน 3 – 5 นาที ซึ่งไม่น่าจะมีผลต่อสมองของเด็กค่ะ

โดยทั่วไปภาวะนี้จะไม่มีผลต่อพัฒนาการ หรือการเรียนรู้ของเด็กที่แต่เดิมแข็งแรงดีอยู่แล้ว ยกเว้นในบางรายที่มีอาการชักติดต่อกันเป็นเวลานาน (โดยเฉพาะถ้านานมากกว่า 30 นาที) จนมีภาวะตัวเขียว ขาดออกซิเจน ทำให้อาจมีผลต่อสมองได้ แต่โดยทั่วไปอาการชักชนิดนี้ มักจะหยุดได้เองภายในเวลา 3-5 นาที จึงไม่น่ามีอันตรายต่อสมองของเด็ก
ข้อมูลอ้างอิง amarinbabyandkids.com

วิธีป้องกันลูกมีอาการชักเกร็ง

หากลูกชักเพราะจากการมีไข้สูง ก็จะมีโอกาสเกิดได้ซ้ำอีก ควรให้ลูกทานยาพาราเซตามอล พร้อมกับหมั่นเช็ดตัวให้ลูกเพื่อลดไข้ และถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น ยังมีไข้สูง ให้พาลูกไปโรงพยาบาลทันที ซึ่งคุณหมอจะเป็นผู้วินิจฉัยร่วมกับคุณพ่อคุณแม่อีกทีว่าควรให้ยาชนิดไหนกับลูก เพราะแต่ละคนมีความแตกต่างกันทางด้านร่างกาย

ถ้าคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกมีไข้สูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ให้ทานยาพาราเซตามอล พร้อมกับเช็ดตัวโดยเช็ดให้ย้อนรูขุมขน และค่อยข้างต้องออกแรงเยอะหน่อยนะคะ เพื่อเป็นการเปิดรูขุมขนให้ความร้อนจากตัวระบายออกมาค่ะ

เวลาที่ลูกไม่สบายคุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติของลูกน้อยด้วยนะคะ หากไม่มั่นใจหรือเพื่อความสบายใจ ให้รีบไปพบคุณหมอทันทีค่ะ