การทำงานของระบบย่อยอาหารในเด็กอายุ 7 เดือน จะย่อยโปรตีน ย่อยคาร์โบไฮเตรดสมบรูณ์ และน้ำย่อยจะสามารถย่อยไขมันได้เมื่อเด็กอายุ 9 เดือน มีเด็กอายุ เกิน 10 เดือน จำนวนมากที่ชอบกินข้าวสวยมากกว่าข้าวต้ม ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเริ่มอาหารเสริมตั้งแต่ 4-5 เดือน จนกระทั่งระบบย่อยของเด็กทำงานได้ดี จึงกินอาหารเหมือนผู้ใหญ่ได้ แต่หากเริ่มอาหารเร็วกว่า 6 เดือน เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น ขาดธาตุเหล็ก เพราะลำไส้ดูดซึมธาตุเหล็กจากนมได้น้อย
ลูกร่วมมื้ออาหารกับพ่อแม่ เด็กบางคนไม่ยอมกินผัก อย่าง กะหล่ำปลี หัวผักกาด แตงกวา หรือมะเขือยาว เพราะคุณแม่จะไม่ค่อยเคยทำผักต้ม หรือผักสดให้ลูกกินเป็นกับข้าว ส่วนใหญ่จะใส่ผักผสมในอาหารให้ลูกกิน ทั้งบด ทั้งต้ม จนผักเปื่อย เมื่อลูกไม่คุ้นเคยกับรสชาติของผักล้วนๆ คุณแม่ป้อนให้จึงเอาลิ้นดุนออกมาหมด หรืออมเอาไว้ แบบนี้ลูกจะกินยากเอาได้ คุณแม่ต้องใช้วิธีหั่นผักละเอียดๆ แล้วทำไข่เจียว หรือนำไปชุบแป้งทอด เป็นต้น
สาเหตุ ลูกกินยาก
- ลูกติดนมแม่ กินแต่นมแม่
- ถึงช่วงวัยกินอาหารเสริมอ่อนๆ แต่ลูกไม่กิน
- คุณพ่อคุณแม่เห็นลูกไม่กิน ก็ยอมใจอ่อนไม่บังคับลูก
- ลูกเลือกกิน บ้างวันกิน แต่อีกวันไม่กิน ทั้งที่เมนูเดิม
- อายุลูกเพิ่มขึ้นแต่ยังไม่ยอมกินอาหาร กินแต่นมแม่ และแม่ให้นมเพราะเห็นว่าลูกยังคงต้องการนมแม่ และคิดว่าน้ำนมแม่ก็มีสารอาหารที่ดีต่อลูก
วิธีแก้ ให้ลูกกินง่าย
- คุณแม่เริ่มให้อาหารเสริมตามวัยของลูก โดยเริ่มวัย 6 -7 เดือน ที่ขึ้นอยู่กับความพร้อมของระบบการย่อยอาหาร หากยังย่อยได้ไม่ดี ควรเริ่มตอน 7 เดือน
- ลูกติดนมแม่อยู่ ฝึกให้ลูกกินอาหารเสริมอ่อนๆ ที่มีส่วนผสมของนมแม่ ลูกจะคุ้นเคยเมื่อได้กิน
- คิดเมนูใหม่ๆ ให้ลูกลองทาน ลูกกินยากก็อยากพึ่งรีบ ให้คุณแม่ค่อยๆ ป้อน ไม่ดุ ไม่บังคับ
- ให้ลูกน้อยกินนมแม่ได้ แต่ไม่ใช่เสมอไป ฝึกลูกดื่มนมชงบ้าง ไม่เช่นนั้น ลูกจะกินแต่นมแม่ไปจนอายุ 1 ปี หรืออาจจะมากกว่านั้น
- ลูกอายุเพิ่มขึ้น แต่ไม่ได้รับอาหารเสริมที่ร่างกายต้องได้รับอย่างถูกต้อง นมแม่จะไม่มีพลังงานมาก หากไม่ให้ลูกกินอาหารตามวัย ร่างกายจะผอม และกินนมแม่เยอะขึ้น และอาจจะขาดสารอาหารได้ เพราะขาดการกินอาหารเสริม
- เด็กอายุ 10 เดือน ฟันของลูกเริ่มขึ้นแล้ว ให้กินนมแม่ ตัวคุณแม่อาจโดนฟันของลูกได้
คุณแม่บางคนน้ำนมเยอะ บางคนน้ำนมน้อย ถึงอย่างนั้นการที่ลูกจะหย่านมแม่ ก็ต้องขึ้นอยู่กับตัวคุณแม่เองด้วย ว่าจะยอมให้ลูกได้หรือไม่ หากให้ลูกติดนานเกินจะหย่านมได้ยาก
ลูกน้อย อายุ 10 เดือน พ่อแม่จัดการกับอาหาร
- กำหนดเวลามื้ออาหารให้แน่ชัด และงดของว่างก่อนมื้ออาหาร 3 – 4 ชั่วโมง
- อาหารเพิ่มเป็น 3 มื้อ บดอาหารให้หยาบขึ้นเป็นชิ้นเล็กๆ มีสัมผัสนุ่ม เพื่อให้ลูกหัดเคี้ยว
- เริ่มให้ถือช้อนเล็กปลายมน หัดให้ตักอาหารเอง และให้ดื่มน้ำจากถ้วย
- ลูกเริ่มกินอาหารเหมือนพ่อแม่ได้ แต่ต้องไม่มีรสเผ็ด
- หาเมนูที่เหมาะสมกับลูก และพ่อแม่ก็กินร่วมได้
- หากลูกกินยาก เพราะอาหารแปลกตา ลองคุณพ่อคุณแม่หลอกล่อโดยการกินให้ลูกดู แล้วบอกว่าอาหารนี้อร่อยมาก ลูกจะอยากกินบ้าง
- ลูกเริ่มฟังภาษา และเข้าใจสีหน้าท่าทางได้แล้ว ลูกจะสนใจฟังเวลาพ่อแม่พูดมากขึ้น ตอบสนองต่อคำสั่งง่าย เช่น พยักหน้าเมื่อตกลง สั่นศีรษะเมื่อไม่ต้องการ ฉะนั้นต่อหน้าลูกบนโต๊ะอาหารไม่ควรสร้างแรงกดดัน จะทำให้ลูกไม่ยอมกินขึ้นมาได้
- ให้ลูกมีส่วนร่วมในกิจกรรมครอบครัว เช่น การร่วมมื้ออาหาร มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเหลืออาหาร
- ระวังอุบัติเหตุ เช่น พลัดตกจากบันได ปลั๊กไฟ ของมีคม สำลักเม็ดผลไม้ ถั่ว และเม็ดยา
- เมื่อลูกกินอาหารใหม่ได้ หรือกินหมด ควรจะยิ้ม กล่าวชม หรือกอด ตบมือ ลูกจะรู้สึกว่าได้ดี
- ลูกสามารถนั่งได้มั่นคง คลาน เกาะยืน หัดตั้งไข่ ยืนเองได้ – ชั่วครู่ อาจจะมีบ้างที่ล้มในบางครั้ง เวลามื้ออาหารไม่ควรให้ลูกกินไปเดินไป หรือวิ่ง เพราะจะทำให้ไม่มีระบบในการกินอาหาร และจุกแน่นท้อง ปวดท้อง อาจคลื่นไส้ได้
บางคนไม่ยอมให้ลูกกินขนม เพราะกลัวอิ่มจนไม่กินข้าว แต่ลูกก็ยังอยากกินอยู่ ดังนั้นควรให้ลูกกินบ้าง เช่น ขนมปังกรอบ ขนมเค้ก แพนเค้ก คัสตาร์ด เป็นต้น ควรทำให้สะอาด รสอ่อน ไม่หวานจัด ส่วนผลไม้ให้กินเป็นชิ้นๆ ไม่ต้องบด เวลาของว่างไม่เกิน 2 ครั้งต่อวัน ต้องไม่ให้กินพร่ำเพรื่อทั้งวัน เพราะจะทำให้กินมื้อหลักได้น้อยลง