Site icon คุณแม่ลูกอ่อน

พัฒนา EF โลกนี้มี WI-FI ฉันใดเด็กก็จะต้องมี EF ฉันนั้น

พัฒนา EF โลกนี้มี WI-FI ฉันใดเด็กก็จะต้องมี EF ฉันนั้น

EF ย่อมาจาก Executive Function นับเป็นสิ่งพื้นฐานที่เด็กทุกคนควรมี หากเด็กมี EF ที่ดี เขาก็จะสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เพราะพวกเขาจะสามารถควบคุมอารมณ์ ความคิด และการกระทำได้ดี เปรียบเสมือนกับถ้าโลกนี้มี WI-FI เด็กก็ควรมี EF ที่ดีเช่นกัน แต่เนื่องจากมีปัจจัยหนึ่งที่เป็นตัวแปรในการฝึกสอนเด็ก นั่นก็คือ “พัฒนาการตามวัย” ความเข้าใจ ความอยากรู้ อยากลอง ทำให้คุณพ่อคุณแม่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการสอนให้เหมาะสมตามธรรมชาติของเด็ก ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดคุยเรื่องนี้กันค่ะว่าเด็กวัยไหนต้องการอะไร? และคุณพ่อคุณแม่ต้องสอนลูกอย่างไรเพื่อให้ลูกได้มีพื้นฐาน EF ที่ดี

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะได้จากบทความนี้

เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจลูกและสอนลูกได้อย่างถูกทางมากขึ้น วันนี้เราจะมาพูดกันใน 3 เรื่องนี้ค่ะ

  1. พัฒนาการเด็ก
  2. EF (Executive Function)
  3. ปรับพฤติกรรม

พัฒนาการเด็ก

พัฒนาการเด็ก (Epigenesis)

นับเป็นลำดับชั้น ถ้าคุณพ่อคุณแม่สร้างชั้นที่ 1 เอาไว้อย่างดี ชั้นต่อ ๆ ไป ก็จะดีและง่ายขึ้น ถ้าสร้างชั้นที่ 1 ไว้อย่างแข็งแรง ชั้นต่อ ๆ ไปก็จะแข็งแรงเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3 ปีแรก เช่น ถ้าสร้างพื้นฐานเอาไว้ดี ตอนมัธยมลูกเกเร แล้วคุณพ่อคุณแม่ทุบเขา ถ้าพื้นฐานดี อย่างมากก็กินเหล้าแล้วก็เลิก แต่ถ้าพื้นฐานไม่ดี หลังจากที่คุณพ่อคุณแม่ เขาอาจน้อยใจคิดฆ่าตัวตาย เพราะฉะ

เวลาวิกฤติ (Critical Period)

หมายถึงว่าเมื่อถึงเวลาที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทำก็ควรทำ และทำให้เหมาะสมกับวัย เช่น ชั้นที่ 1 คือ ช่วง 12 เดือนแรก ลูกอยากให้คุณพ่อคุณแม่ ‘อุ้ม กอด บอกรัก’ แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่ได้ทำพอมาชั้นที่ 5 คือชั้นวัยรุ่น คุณพ่อคุณแม่อยาก ‘อุ้ม กอด บอกรัก’ ลูกก็ไม่เอาคุณพ่อคุณแม่แล้ว ลูกไม่กลับบ้าน หรือ ชั้นที่ 1 ลูกอยากให้ป้อนข้าว ป้อนนม แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่ทำ พอมาชั้นที่ 5 เราจะไปป้อนนม ลูกก็ไม่กินแล้วค่ะ ลูกจะกินแต่เหล้าแล้วทีนี้

หน้าที่ (Function)

คือ เมื่อคุณพ่อคุณแม่มีหน้าที่ ลูกก็มีหน้าที่ที่จะต้องทำเช่นกัน ซึ่งในแต่ละชั้นก็จะมีอยู่ 2 – 3 หน้าที่ที่ลูกต้องทำ

EF (Executive Function)

EF หรือ Executive Function หมายถึง ความสามารถระดับสูงของสมองที่ใช้ในการควบคุมความคิด อารมณ์ และการกระทำ เพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย (นิยามโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปนัดดา ธนเศรษฐกร)

EF ประกอบไปด้วย 3 ข้อที่สำคัญ คือ

การควบคุมตัวเอง (Self-Control)

คือ สามารถจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน (Focus) ไม่วอกแวก (Distraction) รู้จักประวิงเวลามีความสุข (Delay Gratification) หรือเรียกว่าอดเปรี้ยวไว้กินหวานนั่นเอง

ความจำที่พร้อมใช้ (Working Memory)

เมื่อถึงสถานการณ์ที่ต้องใช้ ความจำต้องพร้อมนำออกมาใช้ได้เสมอ คุณพ่อคุณแม่มีส่วนช่วยลูกได้ด้วยการเล่นและฝึกงานบ้าน เพราะทั้งสองกิจกรรมเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ความจำ และมีการบริหารความจำตลอดเวลา

การคิดวิเคราะห์ที่ยืดหยุ่น (Cognitive Flexibility)

คือ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ผ่านการปรับเปลี่ยนมุมมอง เพื่อให้ได้ถึงเป้าหมาย คุณพ่อคุณแม่สามารถกระตุ้นและส่งแสริมลูกได้ผ่านการทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตั้งแต่วัย 2 – 7 ปี และในช่วง 8 – 12 ปี เพราะทั้งสองช่วงนี้ “สมอง” จะมีการวางโครงสร้างด้านตรรกะ การใช้เหตุผล แล้วจึงนำไปสู่การคิดวิเคราะห์ที่ยืดหยุ่นและพลิกแพลงต่อไปได้

ปรับพฤติกรรม

เพื่อให้การฝึกสอนลูกได้ผลอย่างเต็มที่ คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องเข้าใจพฤติกรรมของลูกในแต่ละช่วงวัยก่อน

แรกเกิด – 1 ปี : Self-Centered

ลูกจะคิดว่าตัวเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล
Animism : ทุกอย่างมีชีวิต เช่น ตุ๊กตาทุกตัวของเขามีชีวิต อย่าแยกเขาออกจากกัน
Magic : ความคิดเชิงเวทมนตร์ ที่ทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยเวทมนตร์
Phenomenalistic Causality : การจับแพะชนแกะ

อายุ 6 – 12 ปี : Concrete

มีความคิดในเชิงรูปธรรม คือ เห็นอย่างไรก็เห็นอย่างนั้น เห็นหมาก็เป็นหมา ไม่มีอะไรซับซ้อน

อายุ 12 – 18 ปี : Abstract

มีความคิดเชิงนามธรรม สมองสามารถให้ความหมายกับสิ่งที่เห็น และสามารถให้ความหมายกับสิ่งที่จับต้องไม่ได้

EF เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับลูกน้อย สิ่งสำคัญคือ เรื่องของการเป็นต้นแบบที่ดี โดยเฉพาะในเรื่องของการควบคุมอารมณ์ของคุณพ่อคุณแม่ เพราะการที่คุณพ่อคุณแม่โมโหง่าย หรือรำคาญในสิ่งที่ลูกถามจะเท่ากับเป็นการบั่นทอนพัฒนาการและปิดกั้นการเรียนรู้ของลูกน้อยเลยทีเดียวค่ะ

อ้างอิง
นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์