“ซีคมุนท์ ฟร็อยท์” เป็นจิตแพทย์ชาวออสเตรีย ฟรอยด์มีความเชื่อว่าผู้ใหญ่ตและคนมีนิสัยต่างกันก็เพราะประสบการณ์ในวัยเด็กนั้นต่างกัน การเลี้ยงลูกให้ดีจึงมีความสำคัญมาก ๆ โดยเฉพาะในช่วง 5 ปีแรกของชีวิต เราไปดูในรายละเอียดกันเลยค่ะ
สารบัญ
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของ “ซีคมุนท์ ฟร็อยท์”
ฟรอยด์แบ่งพัฒนาการของมนุษย์ต่างจากนักจิตวิทยาท่านอื่น โดยฟรอยด์เชื่อว่ามนุษย์มีอวัยวะที่ไวต่อความรู้สึกต่างกันไปในแต่ละช่วงวัย ซึ่งเรื่องราวในวันนี้ที่โน้ตอยากให้คุณพ่อคุณแม่ได้ทำความเข้าใจก็คือ ลูกต้องการอะไรในแต่ละช่วงวัย? พฤติกรรมของลูกในแต่ละช่วงวัย เพื่อการตอบสนองลูกได้ถูกต้อง
ขั้นปาก (Oral Stage)
ช่วงอายุ 0-18 เดือน
เด็กในวัยนี้จะมีความสุขหากได้รับการตอบสนองทางปาก เช่น การดูดนม การสัมผัสสิ่งต่าง ๆ การเคี้ยว หรือการกัด สังเกตไหมคะว่าทำไมทารกเห็นอะไรก็ชอบหยิบของเข้าปาก เป็นเพราะเค้าอยากเรียนรู้ อยากสัมผัสนั่นเองค่ะ ซึ่งถ้าคุณพ่อคุณแม่เข้าใจลูกในวัยนี้ และตอบสนองลูกได้อย่างเหมาะสม เช่น อาจหาของเล่นที่สามารถเข้าปากได้โดยไม่เป็นอันตราย เมื่อลูกโตขึ้น เขาจะมีบุคลิกภาพที่หมาะสม คือ การรู้จักพูด หรือการใช้ปากให้เหมาะกับสถานการณ์และกาลเทศะค่ะ
กลับกันหากลูกได้รับการตอบสนองที่ไม่เหมาะสม เช่น การให้ลูกหย่านมเร็วเกินไป ดุหรือตีลูกเวลาที่เอาของเข้าปาก เมื่อโตขึ้นอาจส่งผลให้ลูกมีปัญหาด้านบุคลิกภาพได้ค่ะ เช่น พูดมาก ชอบดูดนิ้ว ชอบนินทาว่าร้ายผู้อื่น ชอบสูบบุหรี่ หรือเคี้ยวหมากฝรั่ง เป็นต้น
ขั้นทวารหนัก (Anal Stage)
ช่วงอายุ 18-3 ปี
เด็กวัยนี้จะมีความพึงพอใจจากการขับถ่าย ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กต้องมีการฝึกการขับถ่ายพอดี หากคุณพ่อคุณแม่สามารถฝึกลูกเข้าห้องน้ำได้อย่างนุ่มนวล โตขึ้นเด็กก็จะมีบุคลิกภาพที่เหมาะสม แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่มีการบังคับให้ลูกให้ลูกขับถ่ายมากเกินไป เช่น ต้องขับถ่ายให้เป็นเวลา ถ้าไม่ทำตามนี้จะถูกลงโทษ เด็กจะเกิดความไม่พอใจแต่เก็บอยู่ในใจฝังในจิตไร้สำนึกอย่างไม่รู้ตัว ซึ่งจะแสดงพฤติกรรมออกมาใน 2 ลักษณะที่ตรงข้าม ซึ่งอาจแสดงออกมาในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง คือ
บุคลิกภาพแบบสมบูรณ์แบบ (Perfectionist)
เป็นคนเจ้าระเบียบ จุกจิก ย้ำคิดย้ำทำ กังวลมากไป โดยเฉพาะเรื่องความสะอาด
บุคลิกภาพแบบอันธพาล (Anti Social)
เป็นคนไม่ยอมคน คัดค้านค่านิยมหรือระเบียบต่าง ๆ ที่วางไว้
ขั้นอวัยวะเพศหรือขั้นความรู้สึกทางเพศแบบแฝง (Phallic Stage)
ช่วงอายุ 3-5 ปี
เด็กจะมีความรู้สึกทางเพศแบบแฝง หมายถึง เด็กไม่ได้อยากมีความรักแบบคู่ครอง แต่หมายถึงความรู้สึกผูกพัน ที่เกิดขึ้นต่อคุณพ่อคุณแม่ที่มีเพศตรงข้ามกับเด็ก เช่น เด็กผู้หญิงก็เริ่มติดคุณพ่อ เด็กผู้ชายก็จะเริ่มติดคุณแม่ เป็นต้น จนทำให้บางครั้งเด็กหญิงอิจฉาคุณแม่ที่คุณพ่อรักคุณแม่ จึงพยายามเลียนแบบพฤติกรรมของคุณแม่ ในทางตรงข้ามเด็กผู้ชายก็เช่นกัน
หากคุณพ่อคุณแม่เป็นต้นแบบที่ไม่ดี ลูกไม่ศรัทธาในตัวคุณพ่อคุณแม่ เด็กก็จะเปลี่ยนไปเลียนแบบพฤติกรรมของเพศที่ตรงข้ามแทน เช่น เด็กหญิงจะเลียนแบบพ่อ เป็นต้น ทำให้เด็กเป็นลักเพศ (Homosexual)
ขั้นแฝง (Latency Stage)
ช่วงอายุ 6-12 ปี
เป็นช่วงที่เด็กเปลี่ยนผ่านไปสู่วัยรุ่น เด็กจะมีพัฒนาการด้านสังคมและสิตปัญญาที่รวดเร็ว จนบางครั้งถูกมองว่า “แสนรู้” หรือ “แก่แดด” การพูดการจาก็เป็นผู้ใหญ่ พร้อมที่จะเรียนรู้การมีเหตุผล รู้ผิดชอบชั่วดี มีการจับกลุ่มกับเพศเดียวกัน
เด็กวัยนี้ชอบการคิด วิเคราะห์ ให้คุณพ่อคุณแม่ลองหากิจกรรมที่เขาชอบมาให้เขาคิดและวางแผนดูสิค่ะ เขาจะทำออกมาได้ดีทีเดียว
ขั้นสนใจเพศตรงข้าม (Genital Stage)
ช่วงอายุ 12-18 ปี
ของจริง…ไม่ใช่อะไรค่ะ ลูกจะเริ่มสนใจเพศตรงข้ามอย่างแท้จริงแล้ว โดยจะมีลักษณะที่บ่งถึงวุฒิภาวะทางอารมณ์หรือมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมได้ดี นอกจากนี้ เด็กวัยนี้จะมีวุฒิภาวะทางด้านอารมณ์และสติปัญญาที่ดีอีกด้วยค่ะ
หากคุณพ่อคุณแม่เข้าใจแล้วว่าลูกต้องการอะไร? เราก็สามารถตอบสนองลูกได้ถูกต้อง สิ่งนี้เองค่ะ จะทำให้ลูกเติบโตเป็นเด็กร่าเริงแจ่มใส รักและเห็นคุณค่าของตัวเอง (Self Esteem) และใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขค่ะ
อ้างอิง
Baanjomyut.com
development-theory
1395 วันมหัศจรรย์อลิส