การไอของทารกมีหลายรูปแบบ และสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่ง Dr. Howard Balbi กุมารแพทย์โรคติดต่อในเด็กประจำศูนย์การแพทย์ Nassau County Medical Center ได้อธิบายถึงการไอของลูกน้อยไว้ในหลายประเด็นเลยทีเดียว
สารบัญ
ทารกไอบ่อย
จากที่ได้เกริ่นไว้ข้างต้นเกี่ยวกับการไอของทารกซึ่ง Dr. Howard Balbi กุมารแพทย์โรคติดต่อในเด็กประจำศูนย์การแพทย์ Nassau County Medical Center ได้กล่าวไว้ก็คือ การไอ คือ การที่ร่างกายทำหน้าที่ปกป้องตัวเอง เคลียร์อากาศให้หลอดลม ด้วยการพยายามเอาเสมหะออกจากคอ เอาน้ำมูกออกจาโพรงจมูก รวมไปถึงเอาอาหารออกจากหลอดอาหาร
Coughs are the body’s way of protecting itself, explains Howard Balbi, M.D., director of pediatric infectious diseases at Nassau County Medical Center in East Meadow, New York. Coughing serves as the method the body uses to keep the airways clear, ridding the throat of phlegm, postnasal drip (nasal mucus that drips down the back of the throat), or a lodged piece of food.
parents.com
ลักษณะการไอของทารก
การไอจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ
ไอแห้ง
เป็นการไอที่ไม่มีเสมหะ มักเกิดขึ้นเมื่อร่างกายเย็นหรือมีอาการแพ้ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการเคลียร์น้ำมูกที่สะสมหรือคั่งค้างอยู่ในลำคอหรือระคายเคืองจากการเจ็บคอนั่นเอง
ไอเปียก
หรือที่เรียกว่าการไอแบบมีเสมหะ แบบนี้เป็นผลมาจากการติดเชื้อบริเวณหลอดลม จึงทำให้มีเสมหะ (เสมหะนี้จะประกอบไปด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรค) ออกมารวมตัวกันที่ทางเดินหายใจ
จากข้อมูลของ Dr. Catherine Dundon ศาสตราจารย์ด้านกุมารเวชศาสตร์ รัฐเทนเนสซี ได้กล่าวไว้ว่า “ปกติเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 4 เดือน จะไม่ค่อยไอ แต่ถ้าไอแสดงว่ามีปัญหาเกิดขึ้นแล้ว” ซึ่งถ้าไอมากโดยเฉพาะหน้าหนาว เป็นไปได้ว่าทารกอาจติดเชื้อ RSV (Respiratory Syncytial Virus)
ทารกไอกับการเจ็บป่วยที่ตามมา
คราวนี้มาในส่วนของการไอของทารกแบบมีนัยกันบ้างค่ะ ไอแบบไหนที่คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกต เพราะนั่นอาจหมายถึงลูกน้อยอาจเจ็บป่วย
ทารกไอ…เพราะเป็นหวัดหรือไข้หวัดใหญ่
ลักษณะการไอ | ไอแห้ง |
---|---|
อาการร่วมอื่น ๆ | น้ำมูกไหล คัดจมูก ระคายคอ เจ็บคอ (คอแดง) มีไข้ต่ำ ๆ กลางดึก |
การรักษาเบื้องต้น | กรณีที่ทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือน ไม่ควรให้ลูกกินอย่างอื่นยกเว้นนมแม่อย่างเดียว และควรพาไปพบแพทย์ แต่สำหรับเด็กที่อายุมากกว่า 1 ขวบขึ้นไป สามารถกินน้ำผึ้งบริสุทธ์ได้ก็จะช่วยบรรเทาอาการไอได้ |
ของแม่โน้ตจะให้น้องมินกินน้ำผึ้ง กับรังนกค่ะ เพราะรังนกนอกจากช่วยเรื่องลดอาการไอได้แล้ว ยังช่วยในเรื่องบำรุงปอดได้ดีอีกด้วยค่ะ (ตามศาสตร์แพทย์แผนจีน)
ทากไอ…เพราะหายใจลำบาก
ลักษณะการไอ | ไอแห้ง |
---|---|
อาการร่วมอื่น ๆ | จะได้ยินเสียงติด ๆ ขัด ๆ เวลาที่ลูกหายใจเข้า |
การรักษาเบื้องต้น | เปิดเครื่องทำความชื้นในห้อง หรือเปิดฝักบัวน้ำอุ่นให้มีไอน้ำออกมา แล้วให้ลูกหายใจในห้องน้ำที่เปิดไอน้ำ อาการควรเบาลงภายใน 3-4 วัน ถ้าหลังจากนี้อาการยังไม่ทุเลา ควรพบแพทย์ค่ะ |
ทารกไอ…เพราะโรคปอดบวม
ลักษณะการไอ | ไอเปียก มีเสมหะ |
---|---|
อาการร่วมอื่น ๆ | ลูกน้อยจะไอติด ๆ กัน จนหน้าซีด และมีอาการเหนื่อยหอบ |
การรักษาเบื้องต้น | รีบพาไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด |
ทารกไอ…เพราะโรคหอบหืด หรือหลอดลมอักเสบ
ลักษณะการไอ | มีอาการไอร่วมกับเสียงหายใจครืดคราด |
---|---|
อาการร่วมอื่น ๆ | เมื่อหายใจจะหายใจถี่ หน้าอกยุบตัว ระคายเคืองตา น้ำตาไหล บางรายอาจมีการเบื่ออาหารร่วมด้วย |
การรักษาเบื้องต้น | สังเกตอัตราการหายใจของลูกน้อย ถ้าถี่กว่า 50 ครั้ง/นาที รีบพาไปพบแพทย์ทันที |
ทารกไอ…เพราะโรคไอกรน
ลักษณะการไอ | ไอแห้ง มีเสียงดังติดต่อกันเป็นชุด |
---|---|
อาการร่วมอื่น ๆ | มีอาการตาเหลือก หน้าซีด บางครั้ง บางรายไอจนลิ้นจุกปาก |
การรักษาเบื้องต้น | เพื่อเป็นการป้องกัน ควรให้ทารกได้รับวัคซีนตามที่แพทย์แนะนำ แต่ถ้าไม่ทัน ผนวกกับคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกน้อยจะเป็นโรคนี้ ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที |
การที่ทารกไอบ่อยแล้วจะส่งสัญญาณอะไรที่ร้ายแรงหรือไม่ อยู่กับการสังเกตอาการของคุณพ่อคุณแม่ด้วยนะคะ หากคุณพ่อคุณแม่รู้เร็ว โอกาสที่ลูกจะได้รับการรักษาก็เร็วตามไปด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อลูกน้อยมีอาการผิดปกติอะไร คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรละเลยเด็ดขาดค่ะ