Site icon คุณแม่ลูกอ่อน

ความซนของเด็กเป็นโอกาสในพัฒนาการเจริญเติบโต! วิธีจัดการกับมันโดยไม่ให้เกิดอาการหงุดหงิดคือ?

เด็กจะมีการเจริญเติบโตขึ้นไปพร้อมๆกับการเริ่มสนใจในสิ่งต่างๆ และอยากรู้ในสิ่งที่ผู้ใหญ่ไม่สามารถคิดได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กเล็ก ที่เด็กผู้ชายจะเล่นกระเย้ากระแหย่ต่อเด็กผู้หญิงโดยที่ไม่รู้ตัวเองว่ากำลัง “ซน” อยู่ดังนั้นสิ่งที่สำคัญในการดูแลบุตรหลานให้ดี สิ่งที่ไม่ควรทำก็ควรระมัดระวังไม่ทำสิ่งนั้น

ทำไมถึงต้องซน

สำหรับผู้ใหญ่ ที่เด็กมีพฤติกรรม “ซน” มันเป็นเพราะอะไรกันนะ
เป็นเพราะถูกกระตุ้นจากความอยากรู้อยากเห็น,ปฏิกิริยาตอบสนองของผู้ใหญ่มันดุตลก ต้องการดึงดูดความสนใจจากเพื่อนและผู้ปกครอง หรือต้องการเป็นจุดสนใจ เป็นต้น

การสัมผัสสิ่งต่างๆโดยปลายนิ้วมือก็เป็นสิ่งสำคัญในกระบวนการเจริญเติบโต อย่างที่เรียกว่าอย่างเช่นพอเห็นกระดาษก็จะเอามาฉีกทิ้ง หรือตัวอย่างเด่นๆที่เป็นพฤติกรรมซ้ำๆ อย่างดึงทิชชู่ห้องน้ำกลิ้งโกโระโกโระออกมาเรื่อยๆเมื่อเด็กมีการเจริญเติบโตขึ้นวิสัยทัศน์ก็กว้างขึ้น เริ่มมีความสนใจต่อสิ่งที่เห็นและก็อยากสัมผัสด้วย นี่คือการกระทำที่เริ่มจากความอยากรู้อยากเห็น เพราะการเจริญเติบโตของเด็กเป็นเรื่องสำคัญ ในกรณีที่ไม่ได้เป็นเรื่องอันตรายไม่ต้องเข้าไปบังคับให้หยุด ในบางครั้งก็ควรหักใจปล่อยไปบ้างนี่ก็เป็นเรื่องสำคัญ

นอกจากนี้ ตอนที่เล่นพับเพื่อน พอซนขึ้นก็จะได้รับความสนใจจากเพื่อนและได้รับการปฏิกิริยาที่มีความสุขก็เลยทำการเล่นซนอย่างนั้นบ่อยครั้ง เพราะทำอย่างนั้นก็จะมีเพื่อนๆเข้ามาหา หรือไม่ก็มีเพื่อนที่เล่นซนด้วยก็เลยสนุก ในบางครั้งก็อาจคิดได้ว่าผู้ใหญ่ที่หัวเราะเวลาที่เด็กซน หรือในทางตรงกันข้ามก็โกรธก็เป็นตัวกระตุ้นให้เด็กเกิดความตลกและสนุกได้ สำหรับเด็กเพื่อต้องการดึงดูดความสนใจจากผู้ใหญ่ ก็เลยตั้งใจเล่นซนซ้ำแล้วซ้ำอีกได้

เวลาที่เด็กซน ควรทำอย่างไร?

พอเด็กซนเข้า เราก็มักจะรู้สึกหงุดหงิด แต่ควรปล่อยให้ไปตามรู้สึกไม่ควรดุด่า ดังนั้นควรจะจัดการกับมันอย่างไรดี

ถ้าเป็นไปได้ ให้เค้าเล่นเท่าที่ต้องการครั้งถึงสองครั้ง

ความซนทีไม่เป็นการรบกวนผู้อื่น หรือไม่เป็นอันตรายก็ลองให้เค้าทำเท่าที่ต้องการดูก็อาจจะดี เพราะการที่เค้าเล่นเท่าที่ต้องการการได้ก็ทำให้เค้าเล่นจนเต็มอิ่มแล้ว พอเล่นเต็มอิ่มแล้วก็อาจจะหยุดเล่นเลยก็ได้ แต่การเล่นของเด็ก เพราะอยู่ๆก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงวิธีเล่นได้ ดังนั้นเราควรเฝ้ามองอย่างระวังไม่ให้คลาดสายตา

ควรเฝ้ามองและบอกเหตุผลว่าทำไมถึงไม่ควรทำเช่นนั้น

พอเราโกรธรุนแรงต่อเด็ก เด็กก็รู้สึกเกิดการถูกปฏิเสธ และอาจเกิดความสูญเสียความเป็นตัวเอง ดังนั้น เราควรจ้องตากันและให้คำอธิบายว่า “ทำไมถึงห้ามทำ” ถ้าการเล่นซนที่ไม่เป็นการรบกวนผู้อื่นหรือไม่ก่อให้เกิดอันตรายก็ควรเฝ้ามองอย่างระมัดระวังก็เป็นสิ่งสำคัญ

การเล่นซนที่เป็นอันตราย การอธิบายเหตุผลว่า “ทำไมถึงห้ามทำ” เป็นสิ่งสำคัญ

เกี่ยวกับความซนที่มีอันตรายที่อาจเกิดความบาดเจ็บ ก็ไม่ควรดุด่าอย่างไม่ถามเหตุผลแต่ควรอธิบายเหตุผลว่า “ทำไมถึงห้ามทำ” แต่ถึงอย่างนั้นเด็กก็อาจจะทำซ้ำอีกก็ได้ เป็นเพราะเด็กยังอยู่ในช่วงระหว่างการเจริญเติบโต ก็เลยอยากจะสนุกไว้ก่อน แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่เข้าใจ ต้องมีความอดทน และก็ต้องบอกเหตุผลทุกครั้งที่ว่าทำไมไม่ควรซนเป็นสิ่งสำคัญ การบอกอย่างจริงจัง พอเริ่มโตขึ้นเรื่องที่ผู้ปกครองได้พูดขึ้นกับความคิดที่ตัวเองกำหนดขึ้นมาเองก็จะมีสักวันที่เด็กจะเริ่มคิดเห็นในทางเดียวกัน

ในตอนที่อธิบายเหตุผลไม่พูดเกินจริง ควรทำหน้าจริงจัง

ตอนที่เห็นเค้าซน ก็อาจจะเผลอพูดเกินจริงไป และสีหน้าของผู้ปกครองอาจจะส่อแววหัวเราะหรือทำสีหน้าแบบว่าให้อภัยทำให้เด็กอาจจะคิดได้ว่า “คงไม่โกรธขนาดนั้นสินะ” “ตลกสินะ” แล้วทำอีกก็ได้ ดังนั้นผู้ปกครองเวลาที่บอกเหตุผลว่าทำไม่ไม่ควรทำก็ควรประสานตากันแล้วพูดแบบทำหน้าจริงจังด้วย

ลองเสนอแนะให้ทำอย่างอื่นแทน

แล้วก็มีวิธีโดยการเสนอแนะให้ทำอย่างอื่นแทน อย่างเช่น ลองให้เล่นซนแบบที่เล่นได้ หรือเล่นของที่ชอบ หรือให้ของเล่นที่ชอบ ที่เป็นการเบี่ยงเบนความสนใจอย่างอื่น เป็นอย่างไรบ้างคะ เพราะเด็กเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นเป็นอย่างมาก การแนะนำสิ่งใหม่ๆที่น่าสนุกก็สามารถเปลี่ยนความรู้สึกได้

หลังจากเล่นซนเสร็จแล้ว ก็เก็บกวาดพร้อมกับเด็ก

ในกรฯที่ผู้ปกครองเห็นชอบในความซนขอเด็ก หลังจากที่ปล่อยให้เด็กเล่นจนเต็มอิ่ม ก็ควรเก็บกวาดพร้อมกับเด็กอย่างสนุก เพราะการได้เก็บกวาดอย่างสนุกไปพร้อมกัน ก็อาจทำให้เด็กคิดไปได้ว่า “การเก็บกวาด” ก็เป็นการเล่นซน แล้วเวลาที่เล่นซน ก็อาจจะเก็บกวาดของไปเองด้วยเลย ในกรณีที่เล่นซนที่ไม่ได้รับการยอมรับ ก็ควรอธิบายเหตุผลว่าทำไมไม่ควรทำ แล้วทำการเก็บกวาดพร้อมกันก็เป็นเรื่องที่ดี ในกรณีนี้ ไม่ได้เก็บกวาดอย่างสนุก ควรเก็บกวาดอย่างเงียบๆ ก็จะเป็นการบ่งบอกถึงว่าเป็น “สิ่งที่ไม่ควรทำ” เพราะเพิ่งอธิบายเหตุผลไปด้วยสีหน้าที่จริงจัง
ไม่ว่าจะเป็นแบบไหน การเก็บกวาดด้วยกันก็จะเป็นการบ่งบอกอารมณ์ของผู้ปกครองนั้นได้ง่ายซึ่งเป็นจุดสำคัญอย่างหนึ่ง

ป้องกันความซนของเด็ก ต้องทำอย่างไรดี?

ความซนของเด็กก็อาจจะทำให้มีอันตรายบ้าง วิธีป้องกันมีหลายอย่างแต่อยากให้อ้างอิงตาม5 ข้อด้านล่างนี้

  • สถานที่ที่คิดว่าจะทำให้ล้มได้ (อย่างเช่นทางปล่องเชื่อม) ก็หาที่กั้นมากั้น
  • ที่คิดว่าถ้าไปโดนจะอันตรายอย่างเช่น ที่วางจานหาตัวสต๊อปเปอร์มายึดไว้
  • ของที่ไม่ได้ให้แตก หรือของที่ไม่อยากให้ใช้ ก็ควรไปวางในที่เด็กเอื้อมไม่ถึง หรือเอาไปซ่อน
  • ถ้าเป็นเด็กที่อยู่ในวัยที่คุยได้แล้ว ก็ถามให้เด็กอธิบายมาว่าทำไมถึงซน แล้วซนแล้วรู้สึกอย่างไร
  • ควรทำความเข้าใจในใจเวลาที่เด็กซน และนำไปป้องกันในวันต่อมา

ในสถานที่ที่อันตราย ควรเอาที่กั้นมากั้นเพื่อป้องกันเป็นเรื่องสำคัญ ในร้านอุปกรณ์ที่ขายของสำหรับเด็กเล็กจะมีขายสินค้าไออยู่ ใช้สินค้านี้เพื่อป้องกันก็อาจจะดี
นอกจากนี้ สำหรับของที่ไม่อยากให้จับ หรือของที่ถ้าแตกจะลำบากก็ควรวางสิ่งของนั้นในที่ที่เด็กเข้าไปไม่ถึง
หรือซ่อนไว้ที่ชั้นวางหรือตู้เสื้อผ้าก็อาจจะเป็นสิ่งจำเป็น ถ้าเป็นเด็กที่สามารถพูดคุยได้ระดับหนึ่ง ก็ค่อยๆหันหน้าเข้าหาพูดคุยกันก็เป็นสิ่งสำคัญ ถ้าปล่อยให้ซนต่อไปก็อาจจะเป็นการรบกวนคนอื่นโดยไม่รู้ตัวได้

นอกจากนี้เวลาเกิดอะไรขึ้นอาจจะทำให้เกิดบาดแผลได้ เพราะฉะนั้นควรหันหน้าชนกัน ประสานตาแล้วอธิบายก็เป็นสิ่งสำคัญ
การหันหน้าเข้าหากัน ก็เป็นการประสานเชื่อมใจให้เข้าใจได้ และเข้าใจเด็กได้ดีก็จะสามารถเข้าใจรูปแบบพฤติกรรมว่าจะไปเล่นซนที่ไหนได้ง่ายขึ้น