Site icon คุณแม่ลูกอ่อน

ลูกพูดช้า เพราะอะไร แบบไหนที่เรียกว่าผิดปกติ

ลูกพูดช้า เพราะอะไร แบบไหนที่เรียกว่าผิดปกติ

โดยทั่วไปแล้วทารกจะมีพัฒนาการทางด้านภาษาแลการพูดตั้งแต่แรกเกิด เช่น จะเริ่มส่งเสียงร้องไห้ได้ตั้งแต่เกิด ต่อมาอีกซัก 2 – 3 เดือน ก็จะเริ่มส่งเสียงอ้อแอ้ และมีพัฒนาการที่ไล่ลำดับไปเรื่อย ๆ เช่น การเล่นน้ำลาย การเป่าปาก ส่งเสียงออกจากลำคอ เริ่มทำตาม พูดตาม ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ก็เริ่มไม่แน่ใจว่าลูกพูดช้า แบบไหนที่เป็นปกติหรือแบบไหนที่เรียกว่าช้าผิดปกติ วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจถึงสาเหตุและวิธีแก้ไขกันค่ะ

สาเหตุที่ลูกพูดช้า

ประสาทหูมีความพิการ

เด็กบางคนมีความบกพร่องทางด้านการได้ยิน หรือได้ยินมากกว่า 25 เดซิเบล ส่งผลให้ไม่สามารถเรียนรู้ภาษาหรือการพูดจากการได้ยินได้ แต่จะใช้ภาษาท่าทางในการสื่อสารแทน หรือเด็กบางคนอาจมีปัญหาทางด้านอารมณ์ร่วมด้วย อาทิ ร้องไห้โวยวาย เมื่อถูกขัดใจ แต่ก็ไม่สามารถบอกความต้องการของตัวเองได้เช่นกัน

ประสาทหูพิการ คือเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน หรือได้ยินมากกว่า 25 เดซิเบล ทำให้ไม่สามารถเรียนรู้ภาษาและการพูด จากการได้ยินเสียงและคำพูดปกติได้
ข้อมูลอ้างอิง phyathai.com

ออทิสติก

คือเด็กที่มีความบกพร่องมีพัฒนาการด้านภาษาล่าช้า ร่วมกับความบกพร่องในการเข้าสังคม การสื่อความหมาย รวมถึงมีปัญหาด้านพฤติกรรม มีความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ที่ต่างจากเด็กทั่วไป เด็กจะไม่มองหน้า ไม่เข้าใจคำสั่ง มักเล่นคนเดียว ส่งเสียงไม่เป็นภาษา จับความไม่ได้ เล่นแบบเดิมซ้ำ ๆ

บกพร่องในการใช้ภาษาเมื่อต้องเข้าสังคม

เมื่อเด็กมีความบกพร่องในเรื่องการเรียนรู้ด้านภาษา ด้านการออกเสียง และด้านการสื่อสาร จึงทำให้เขาไม่มีความมั่นใจในการเข้าสังคม เพราะเขาไม่รู้ว่าจะสื่อสารอะไรออกไปให้คนอื่นเข้าใจได้ จึงมักชอบเก็บตัวอยู่คนเดียว

สมองถูกทำลาย

เด็กที่มีความผิดปกติทางสมอง ขึ้นอยู่กัพยาธิสภาพและขนาดของรอยโรค อาทิ เด็กที่มีความผิดปกติทางประสาทในด้านการควบคุมการเคลื่อนไหว เป็นต้น

พัฒนาการการพูดสำหรับเด็กปกติ

อายุ 1 – 4 เดือน เริ่มส่งเสี่ยงอ้อแอ้ สนใจเสียงและหันตามเสียงของผู้ที่มาคุยด้วย คุ้นเคยกับเสียงของคนใกล้ชิด
อายุ 5 – 6 เดือน มีอาการตอบสนองเมื่อถูกเรียกชื่อ หันหาเสียง และทำตามเสียงที่ได้ยิน
อายุ 9 – 12 เดือน เริ่มพูดได้เป็นพยางค์เดียว โดยมีท่าทางช่วยในการสื่อความหมาย
อายุ 1 – 1 ½ ขวบ มีการโต้ตอบที่ชัดเจน สามารถทำตามคำสั่งได้ เริ่มฝึกพูดคำที่มีความหมาย
อายุ 1 ½ – 2 ขวบ สามารถพูดได้ 50 – 80 คำ เริ่มฝึกรวมคำ เข้าใจในคำสั่งที่ยากขึ้นได้
อายุ 2 – 3 ขวบ พูดเป็นประโยคได้ โต้ตอบได้ พูดคุยสื่อสารได้มากขึ้น

ลูกพูดช้าระดับไหน ถึงควรไปพบแพทย์

คุณพ่อคุณแม่อาจไม่ต้องรอให้ลูกถึงวัยที่จะฝึกพูดก็ได้ค่ะ เพียงแค่สังเกตอาการของลูกตามที่จะกล่าวไปนี้ก็พอจะคาดเดาได้แล้ว

อายุ 18 เดือน ลูกเริ่มไม่เข้า และ/หรือไม่ยอมทำตามคำสั่ง
อายุ 2 ขวบ ยังไม่สามารถพูดคำที่มีความหมายได้
อายุ 2 ขวบ 6 เดือน ยังไม่สามารถพูดเป็นคำ 2 คำที่ติดกันได้ รวมถึงกลุ่มคำ
อายุ 3 ขวบ ยังไม่สามารถพูดเป็นประโยคได้

วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด

  1. หลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกดูโทรทัศน์ เล่นโทรศัพท์ หรือปล่อยให้อยู่หน้าจอมากเกินไป ควรหากิจกรรมอื่น ๆ ให้ลูกทำ
  2. คุณพ่อคุณแม่ชวนลูกพูดคุยอย่างสม่ำเสมอ โดยให้ใช้คำสั้น ๆ ที่เข้าใจง่าย และพูดออกเสียงให้ชัด ๆ นะคะ ไม่อย่างนั้นเด็กจะจำคำศัพท์ที่ผิดไปจนโต
  3. พูดในสิ่งที่ลูกสนใจ หรือชี้ชวนให้ดูสิ่งของต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
  4. ชวนลูกอ่านนิทาน โดยที่คุณแม่ใช้เสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ เพื่อดึงดูดความสนใจของลูก
  5. ฝึกลูกถามตอบด้วยคำถามง่าย ๆ สั้น ๆ พร้อมกับชื่นชมหากลูกให้ความร่วมมือ

ข้อนี้เป็นการฝึกในเรื่องทักษะด้านความคิดได้อีกด้วยนะคะ

ทักษะในด้านการพูด คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยฝึกลูกได้ค่ะ แต่ถ้าหากฝึกแล้ว คุณพ่อคุณแม่ลองสังเกตดู ถ้าหากรู้สึกไม่แน่ใจว่าลูกพูดช้าในแบที่เรียกว่าผิดปกติหรือเปล่า ปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำนะคะ