Site icon คุณแม่ลูกอ่อน

วิธีทำให้ลูกตั้งใจทำมากขึ้นคืออะไร? ต้องมี? หรือไม่มีรางวัล?

บางครั้ง เพื่อเพิ่มการกระตุ้นลูก เราจะเผลอใช้ “รางวัล” เช่นบอกว่า “ถ้าทำ…จะให้รางวัลนะ” ใช่ไหมคะ
มีข้อโต้เถียงกันเกี่ยวกับรางวัล แต่ก็ขึ้นอยู่กับรายละเอียดและวิธีการ ซึ่งอาจจะสามารถเพิ่มความตั้งใจทำของลูกได้

ข้อดีและข้อเสียของรางวัล

ข้อดี…

ข้อดีของรางวัลคือ จุดที่ไม่ว่าจะพูดอะไรก็จะสามารถดึงความตั้งใจของลูกได้ โดยเฉพาะกรณีที่ผู้ปกครองอยากให้ทำแต่ไม่ยอมทำเสียที เช่นการเก็บของหรือช่วยงาน สิ่งที่สามารถดึงความตั้งใจของลูกได้ทันทีก็อาจจะเป็นรางวัล นอกจากนี้พอมีรางวัลยังทำให้มีความรู้สึกอยากทำให้สำเร็จง่ายขึ้นอีกด้วย

ข้อเสีย…

ข้อเสียคือ การมีโอกาสจะ “ชินกับการได้รางวัล
แรกๆคิดว่า “เก็บของแล้วได้รางวัล” แต่หลังๆกลายเป็น “จะได้รางวัลเลยเก็บของ” และเปลี่ยนไปเป็น “ถ้าไม่ได้รางวัลจะไม่เก็บของ” ก็มี
ส่วนเรื่องของรางวัลก็อาจเพิ่มขึ้นเป็น “อยากได้โน่น!” “อยากได้นี่!

วิธีการใช้รางวัลอย่างชาญฉลาด

เมื่อออกไปสู่สังคม จะมีการเตรียม “รางวัล” กันหลากหลาย ทั้งในรูปแบบของ เงินโบนัส เงินสนับสนุนพิเศษ การเลื่อนขั้นใช่ไหมคะ สำหรับเด็กๆก็เช่นกัน จะสามารถดึงความตั้งใจได้อย่างดี ขึ้นอยู่กับรางวัลและวิธีการ

ให้รางวัลตามขั้นตอน…

รางวัลตามผลที่พูดกันว่า “ถ้าสอบได้…คะแนน” ก็สำคัญ แต่ถ้าให้รางวัลในแต่ละขั้นเช่นว่า “ถ้าฝึกทำถึงหน้า…” ก็จะสัมพันธ์กับผลสุดท้ายง่ายขึ้น
ถ้าเป็นผู้ใหญ่ มีหลายกรณีที่จะได้รับรางวัลตามผลงาน แต่กรณีของเด็กแม้จะให้รางวัลตามผล แต่หลายครั้งที่เด็กไม่เข้าใจขั้นตอน(วิธีอ่านหนังสือ)เพื่อให้ได้ผล(คะแนน)
เพื่อให้ได้ผล หากผู้ปกครองให้รางวัลตามการทำขั้นตอนที่สัมพันธ์กับคะแนนสอบ จะทำให้เด็กเข้าใจสิ่งที่ควรทำอย่างถูกต้องชัดเจน และยังผลได้อย่างเป็นธรรมชาติ

ให้รางวัลตามความพยายามทำด้วยตัวเอง…

ขอให้ลองเลิกสัญญาเรื่องรางวัลล่วงหน้า และให้รางวัลหลังจากที่เขาพยายามทำอะไรด้วยตัวเองแทน เช่น “เก็บของเอง จากที่ต้องคอยบอกประจำไม่งั้นไม่ทำ” “ช่วยงานได้มากขึ้นๆ” ก็มีโอกาสจะทำให้เขาทำต่อไปได้เรื่อยๆ
และนอกเหนือจาดความดีใจต่อรางวัล จะทำให้ในใจของลูกเกิดความรู้สึกว่า “สอดส่องดูแลหนูอยู่เสมอ” “อยากทำให้คุณแม่ คุณพ่อปลื้มใจมากขึ้น” ขอให้ชมสิ่งที่ลูกพยายามทำด้วยตัวเองอย่างนี้เยอะๆนะคะ

รายละเอียดของรางวัลเป็นอย่างไร?

รางวัลก็มีหลากหลายรูปแบบใช่ไหมคะ จะขอแนะนำหลายๆอย่างนะคะ

ลองทำบัตรรางวัลกันเถอะ…

ถ้าลูกยังอายุไม่ถึงวัยเข้าโรงเรียน ลองทำ “บัตรรางวัล” ด้วยกันเป็นไงคะ ให้ติดสติกเกอร์คาแรคเตอร์การ์ตูนที่ลูกชอบ หรือแสตมป์น่ารักๆให้ทุกครั้งที่ทำสิ่งที่สัญญาสำเร็จ จากการได้สติกเกอร์หรือแสตมป์เพิ่มขึ้นๆ อาจจะทำให้ความตั้งใจหรือความพอใจของลูกคงระดับต่อไปได้เรื่อยๆ ส่วนสัญญาก็กำหนดด้วยกันกับลูกก็ได้ เช่นให้เก็บของ หรือช่วยงาน เป็นต้น

ให้ทำในสิ่งที่ลูกอยากทำ…

การให้สิ่งที่ลูกอยากทำที่สุดเป็นรางวัล เช่น “อยากดูโทรทัศน์” “อยากไปสวนสาธารณะ” เป็นวิธีเพิ่มแรงกระตุ้นให้ลูก ท่านที่ชัดเจนทั้งสิ่งที่จะทำและรางวัล อย่างเช่นพูดว่า “ถ้าเก็บของเสร็จ ไปดูโทรทัศน์ด้วยกันนะ” “ถ้ากินข้าว จะได้ไปสวนสาธารณะกัน” ก็จะสามารถดึงความตั้งใจทำได้

ข้อควรระวังในการให้รางวัล

แม้จะให้การกระทำของลูกควรค่าต่อการได้รางวัล แต่ไม่ได้หมายความว่าอะไรๆก็ให้รางวัลแล้วจะดี การให้ของเล่นที่ลูกอยากได้ หรือให้เงินทุกครั้ง จะเป็นสาเหตุให้ “ชินกับรางวัล” ขีดจำกัดจะหายไป จนกลายเป็นไม่สามารถหวังผลจากรางวัลนั้นได้ ถ้าให้รางวัลเป็นสิ่งของไปเรื่อยๆ การได้ของนั้นจะกลายเป็นวัตถุประสงค์ของการทำ ทำให้ความตั้งใจที่ควรมีแต่เดิมยิ่งเกิดยากขึ้น
สำหรับของเล่นหรือเงิน ลองให้เป็นของขวัญในโอกาสพิเศษดีไหมคะ ถ้าทำอย่างนั้นจะเป็นโอยวัย(ของขวัญแสดงความยินดี)หรือเงินแต๊ะเอียปีใหม่ที่จะได้ในช่วงเวลาพิเศษ ลูกจะได้ลิ้มรสความดีใจเป็นพิเศษ

การชื่นชมเป็นรางวัลที่ดีที่สุด

ลูกชอบที่ผู้ปกครองชมมาก ถ้าได้รับคำชมจะพยายาม เราเองก็เคยมีประสบการณ์พยายามทำเพื่อให้ได้รับคำชมใช่ไหมคะ รางวัลที่ให้เป็นสิ่งของก็ดี แต่คำชมนั้นน่ายินดีที่สุดไม่ใช่หรือคะ
ไม่ว่าจะให้รางวัลแบบใดก็ตาม พยายามอย่าลืมชมด้วยนะคะ บางครั้งให้ลองสกินชิพเช่นกอดแน่นๆด้วยแล้วชมไปด้วย นอกจากนี้ตอนชม ไม่ใช่ชมผลลัพธ์เท่านั้น การชมขั้นตอนหรือระหว่างทำซึ่งสัมพันธ์กับผลลัพธ์ ก็สำคัญเช่นกัน

ปลูกฝังความอยากพัฒนาด้วยรางวัล

มีข้อถกเถียงเกี่ยวกับการให้รางวัลเด็ก
แต่ถ้าระมัดระวังไม่ให้วัตุประสงค์ของลูกกลายเป็นรางวัล ลูกจะมีความอยากพัฒนา(ทะเยอทะยาน) และยินดีเมื่อประสบความสำเร็จ ถ้าใช้รางวัลและคำชมอย่างชาญฉลาดแล้วดึงความตั้งใจของลูกได้ก็ดีใช่ไหมคะ