Site icon คุณแม่ลูกอ่อน

12 แนวทางการสอนลูกให้เติบโตอย่างเข้มแข็ง

12 แนวทางการสอนลูกให้เติบโตอย่างเข้มแข็ง

ความเข้มแข็ง” ใคร ๆ ก็อยากให้ลูกมีสิ่งนี้ และติดตัวไปจนโต อยากให้ลูกช่วยเหลือตัวเองให้ได้มากที่สุด แต่กว่าจะไปถึงจุดนั้นได้ ต้องอาศัยตัวแปรหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อคุณแม่เอง ตัวเด็กเอง ญาติพี่น้อง หรือแม้แต่สภาพแวดล้อม แต่…อย่างน้อยการที่คุณพ่อคุณแม่ฝึกสอนลูกตั้งแต่ยังเล็ก ๆ ก็ยังดีกว่าไม่ฝึกอะไรให้กับลูกเลย เพราะฉะนั้นวันนี้โน้ตจึงมีเรื่องของการสอนลูกให้เติบโตอย่างเข้มแข็งมาฝากค่ะ

12 แนวทางการสอนลูกให้เติบโตอย่างเข้มแข็ง

ไม่เข้าข้างลูก และโทษสิ่งแวดล้อมภายนอกแทน

เป็นเรื่องปกติที่ทุกคนบนโละจะต้องเผชิญกับความผิดหวัง (ยอมรับมาเถอะว่าบางเรื่องเราก็แอบหวังอยู่ลึก ๆ เพียงแต่ทำใจได้เท่านั้น) และทุกคนจะต้องเจอเรื่องราวแบบนี้ตั้งแต่เล็ก ๆ อาทิ เด็กที่อยู่ในวัยหัดเดิน ที่ใจไปไวกว่าตัว เดินก็ล้ม เดินก็ล้ม หรือ การไม่ได้กินขนมอย่างที่อยากที่อยากกิน เพราะที่ร้านขายหมดไปซะก่อน หรือการสอบตก และอีกหลาย ๆ เรื่องราวของความผิดหวัง

คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรเข้าข้างลูก โดยโทษสิ่งแวดล้อมภายนอกแทน เช่น ที่ลูกไม่ได้กินขนม เพราะทางร้านอาจทำขนมน้อย เป็นต้น แต่ควรอธิบายให้ลูกเข้าใจเรื่องความผิดหวัง และแนะการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างสร้างสรรค์ และมีเหตุผลที่ถูกต้องแทน

ไม่เอาความรู้สึกผิด มากำหนดการกระทำ

การที่ลูกเป็นเด็กดี เป็นคนมีน้ำใจเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ไม่ควรให้ใครเอาสิ่งนี้มาทำให้ลูกต้องทำสิ่งที่ผิด เช่น เพื่อนลืมทำการบ้าน จึงมาขอลอกในตอนเช้า เป็นต้น

กำหนดให้ลูกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล

หรือจะพูดง่าย ๆ ก็คือ “การตามใจ” นั่นเอง การรักลูก ใส่ใจลูกเป็นเรื่องดีค่ะ แต่ต้องไม่ให้สิ่งเหล่านี้มาทำลายลูก “ให้ลูกมากเกินไป เขารับมากเกินไป จนลืมที่จะเป็นผู้ให้” ทุกอย่างที่ลูกทำถูกต้องหมด แบบนี้ก็เข้าข่าย “พ่อแม่รังแกฉัน” อีกตามเคย

อย่าให้ความกลัวมากำหนดการตัดสินใจ

เช่น ลูกอาจเคยผิดหวัง และทำไม่ได้มาแล้วครั้งหนึ่ง (หรืออาจมากกว่าหนึ่งก็ตาม) คุณพ่อคุณแม่ควรอธิบายให้ลูกฟังถึงเหตุผลที่ถูกต้อง รวมถึงอธิบายว่าทำไมเราควรทำให้สำเร็จ ผลที่ได้จะเป็นอย่างไร เพื่อเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง แต่ไม่ควรสนับสนุนลูกหากลูกไม่ตัดสินใจหรือตัดสินใจผิด เพราะความกลัวที่เกิดขึ้นในจิตใจ จนนำชีวิตไปสู่ในสิ่งที่เขาไม่ได้ต้องการอย่างแท้จริง

ให้โอกาสลูกได้ตัดสินใจ

ถ้าสถานการณ์นั้น ๆ ไม่ได้ร้ายแรงอะไร และไม่ว่าลูกจะตัดสินใจอย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรเคารพในการตัดสินใจของลูก หากลูกตัดสินใจผิดก็ไม่ควรซ้ำเติม แต่ควรอธิบายให้ลูกฟังว่า ที่ลูกตัดสินใจผิดพลาดนั้นเพราะอะไร

ไม่คาดหวังในตัวลูกมากเกินไป

เชื่อว่าข้อนี้คุณพ่อคุณแม่ทำได้ค่ะ อาศัย “ความรักอันบริสุทธิ์” นี่แหละ โน้ตเองจะบอกลูกเสมอว่า “เด็กดีสำคัญกว่าเด็กเก่ง หนูจะทำอาชีพอะไรก็ได้ขอแค่เป็นคนดีก็พอ

ฝึกให้ลูกมีความรับผิดชอบ

สามารถเริ่มได้ตั้งแต่ลูกยังเล็ก โดยการมอบหมายงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ ตามวัย ให้ลูกได้ทำ และเพิ่มงาน เพิ่มความซับซ้อนทีละนิด ๆ นอกจากความรับผิดชอบที่ลูกจะได้แล้ว ยังได้ในเรื่องการวางแผนอีกด้วยนะคะ (ว่าจะทำอะไรก่อนหรือหลังดี)

ให้ลูกได้รู้จักกับความผิดหวัง

ทุกคนต้องเจอเรื่องนี้เป็นธรรมดา แน่นอนล่ะ คุณพ่อคุณแม่ทุกคนไม่อยากให้ลูกเจอกับความผิดหวัง และเด็กหลายคนที่เมื่อผิดหวังแล้วก็ไม่อยากทำซ้ำอีก ซึ่งที่ถูกต้อง คุณพ่อคุณแม่ควรอธิบายให้ลูกเข้าใจว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกคนต้องเจอ แต่สิ่งสำคัญที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จได้คือ “ความคิด และแนวทางการปฏิบัติต่างหากที่ต้องปรับเปลี่ยน

สอนให้ลูกรู้จักการจัดการกับอารมณ์ของตัวเอง

เช่น ถ้าลูกโมโหอยู่ ก็ชี้ชวนให้ลูกรู้ว่านี่คือ ลูกกำลังโมโหอยู่ และอธิบายให้ลูกฟังว่าวิธีที่จะจัดการกับอารมณ์กับตัวเองนั้นต้องทำอย่างไร เช่น อาจจะนั่งพัก นั่งนิ่ง ๆ นับ 1 – 10 หรือจะ 100 ก็ว่าไป แล้วค่อยมานั่งทบทวนเหตุการณ์เพื่อจัดการกับอารมณ์ตัวเองได้อย่างถูกต้อง

ฝึกให้ลูกมีวินัย และไม่กลัวหากต้องถูกลงโทษ

การฝึกให้ลูกมีวินัย ก็สามารถฝึกได้ตั้งแต่เล็ก ๆ เช่นกันค่ะ แต่ต้องอธิบายให้ลูกฟังก่อนนะคะ ว่าถ้าหากเขายังไม่มีวินัย เขาต้องได้รับการลงโทษ โดยวิธีการลงโทษก็ลองชวนลูกให้ลูกช่วยคิดก็ได้ค่ะ

หาทางออกที่เป็นทางลัดให้กับลูก

บางครั้งหากเราเห็นลูกทำอะไรซ้ำ ๆ เริ่มแรกเราอาจนั่งดูก่อน แต่ถ้าเห็นว่านานไป คุณพ่อคุณแม่สามารถไกด์ลูกได้ค่ะ ว่าให้ลองวิธีอื่น ลองทาลัดดู

สอนให้ลูกรู้จักคุณค่าในตัวเอง (Self – Esteem)

เพราะการที่ปลูกฝังให้ลูกเห็นคุณค่าในตัวเองเป็นสิ่งสำคัญมาก หากลูกรู้จักคุณค่าในตัวเองแล้ว เมื่อใดก็ตามที่ลูกต้องเจอกับปัญหาเขาจะสามารถจัดการกับปัญหานั้น ๆ ได้ เขาจะไม่โทษตัวเอง จะไม่รู้สึกผิด จนขนาดจะคิดฆ่าตัวตาย (เพราะเขาคิดว่าเขาไม่มีค่าอะไร)

เหล่านี้ที่โน้ตนำมาแชร์เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ค่อย ๆ สอน ค่อย ๆ ปลูกฝังลูกไปเรื่อย ๆ นะคะ ต้องใช้เวลา และความใจเย็นของคุณพ่อคุณแม่ค่ะ ถ้าอยากเห็นลูกเติบโตเป็นเด็กที่เข้มแข็ง