การแสดงความรักในรูปแบบหนึ่งก็คือการที่ได้เห็นคนที่เรารักนั้นมีความสุขสมหวังในสิ่งที่ต้องการและนี่ก็น่าจะเป็นเป้าหมายหลักๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนอยากที่จะมอบให้ลูก อะไรที่ลูกต้องการ สิ่งใดที่ลูกใฝ่ฝันและชอบเป็นพิเศษถ้าสามารถหาและทำให้ได้แน่นอนว่าคุณพ่อคุณแม่ก็จะต้องเลือกที่จะทำให้อย่างแน่นอน
แต่ทุกอย่างมีสองด้านเสมอการตามใจลูกมากจนเกินไปนั้นอาจจะสามารถส่งผลเสียให้กับลูกได้เช่นกันดังนั้นทุกอย่างควรจะตั้งอยู่บนความพอดีพยายามมองในแง่ของเหตุผลและความเหมาะสมรวมไปถึงความถูกต้องก่อนที่จะเลือกทำตามใจลูกในสิ่งใดก็ตาม
แล้วจะทำอย่างไรถึงจะรู้ได้ว่าสิ่งไหนคือความพอดีในการดูแลเอาใจใส่ลูกไม่มากเกินไปจนทำให้เสียนิสัยและไม่น้อยเกินไปจนทำให้เขาขาดความอบอุ่นวันนี้เรามีรายการให้คุณพ่อคุณแม่ได้ลองตรวจสอบตัวเองมาฝากกัน
สารบัญ
พฤติกรรมของคุณพ่อคุณแม่ที่เรียกได้ว่าตามใจลูกและไม่เข้าใจลูกจนเกินไป
1.ห้ามลูกทำอะไรแต่ตัวเองก็ยังทำอยู่
นี่คือสิ่งที่ทำให้เด็กๆ เกิดความไม่เข้าใจว่าทำไมคุณทำได้แล้วเขาถึงทำไม่ได้สุดท้ายก็อาจจะจบที่คุณยอมให้เขากลับมาทำ ถ้าจะยกตัวอย่างกันให้เห็นภาพก็อย่างเช่น คุณห้ามลูกดื่มน้ำอัดลมแต่ตัวคุณยังซื้อตุนไว้แล้วดื่มทุกครั้งที่นึกอยาก และเมื่อเด็กๆ เกิดเรียกร้องอยากจะดื่มบ้างก็อาจจะมีการทะเลาะแล้วจบลงด้วยการยอมตามใจนั่นเอง
ซึ่งนอกจากนี้คุณต้องคำนึงไว้เสมอว่าเด็กมีพัฒนาการด้านสังคมส่วนหนึ่งมาจากการเลียนแบบคนที่ใกล้ชิดซึ่งแน่นอนว่าไม่พ้นคุณพ่อคุณแม่อย่างแน่นอนและเมื่อเขาเห็นว่าการไม่ทำตามกฎหรือสิ่งที่คุณได้สั่งสอนเขาเอาไว้ว่ามันห้ามแต่คุณทำมันได้ อาจจะเป็นการทำให้เด็กๆ เลียนแบบในส่วนนี้ก็เป็นได้
2.บางครั้งก็เข้มงวดและดุเขาเกินเหตุ
ในเมื่อตัดสินใจได้แล้วว่าจะไม่ตามใจลูกอีกต่อไปแต่กลับเลือกวิธีที่แสนดุและทำร้ายจิตใจเด็กๆ มาปฏิบัติกับเขาก็บอกได้เลยว่าผลลัพธ์อาจจะไม่ได้ออกมาสวยงามอย่างที่คุณต้องการเพราะมันมีผลทำให้ลูกกลายเป็นคนขี้กลัวและไม่มีความมั่นใจในตัวเองได้เลยทีเดียว
สิ่งที่ต้องยึดเอาไว้เสมอก็คือกฎของความพอดีนั่นเองไม่ตามใจลูกมากจนเกินไปและไม่ดุเข้มงวดกวนขันกับเขามากเกินไปเช่นกันต้องปล่อยให้เขามีพื้นที่ว่างของตัวเองและได้คิดสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเองบ้าง
3.เมื่อลูกทำผิดก็ลงโทษเขาอย่ารุนแรง
นี่คือสิ่งที่ลูกจะต้องกลัวมากอย่างแน่นอนเพราะไม่ว่าจะเป็นวัยไหนก็ไม่ชอบสิ่งที่เรียกว่าการถูกลงโทษกันอย่างแน่นอน และในบางครั้งการไม่ได้พูดคุยให้ลูกได้รู้ถึงเหตุผลของการลงโทษก่อนนั้นก็อาจจะส่งผลเสียให้กับลูกได้เหมือนกัน
คุณพ่อคุณแม่ควรลองตั้งกฎเกณฑ์ในการปฏิบัติตัวและบทลงโทษเมื่อทำผิดกันขึ้นมาก่อนจะดีกว่าและอธิบายถึงลำดับขั้นในการลงโทษให้ลูกได้เข้าใจก่อนและเมื่อเขาเกินทำผิดขึ้นมาก็จำเป็นที่จะต้องลงโทษตามที่ได้เคยพูดไว้โดยทุกการทำโทษนั้นต้องไม่ลืมที่จะคำนึงถึงความเหมาะสมและความรู้สึกของลูกด้วย การลงโทษไม่จำเป็นต้องเสียงดังและดุอย่างเดียว เชื่อได้เลยว่าความเข้าใจและเหตุผลแม้จะเป็นเด็กขนาดไหนก็ยังต้องการสิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานในการตัดสินปัญหาเช่นเดียวกัน
4.เอาใจลูกทุกอย่างลูกได้ครบตามต้องการทุกอย่าง
คุณพ่อคุณแม่บางครอบครัวอาจจะคิดว่าลูกยังเด็กอยู่ก็ควรตามใจไปไม่ให้งอแงนั่นคือวิธีที่ผิดมากเพราะเด็กๆ จะจำและซึมซับไปเรื่อยๆ ว่าเขาคือผู้ที่มีสิทธิอย่างแน่นอนแล้วถ้าวันหนึ่งเกิดถูกขัดใจขึ้นมานั่นแหละคือจุดเกิดของปัญหาที่เรื้อรังให้กับครอบครัวได้เลยทีเดียว
การที่คุณให้ลูกได้ลองเรียนรู้การตัดสินใจเอง การรอคอย การแบ่งปัน การมีเหตุมีผลและความเข้าใจผู้อื่นนั้นถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการปลูกฝังเขาให้ค่อยๆ พัฒนาสิ่งเหล่านี้ให้ยิ่งใหญ่ขึ้นได้ในอนาคตนั่นเอง
การเลี้ยงลูกจะตามใจมากไปก็ไม่ดีหรือจะไม่ใส่ใจไม่ตามใจและไม่ยอมรับฟังสิ่งที่เขาปรารถนาเลยนั้นก็ดูจะไม่สมเหตุสมผลสักเท่าไร
คุณต้องลองมองทุกอย่างให้รอบด้านแล้วคุณจะสามารถเป็นต้นแบบให้กับเขาได้จากนั้นคุณก็จะค้นพบความพอดีที่จะทำให้คุณสามารถเลี้ยงลูกได้อย่างง่ายดายอยู่กันด้วยความเข้าใจและให้เขาเป็นกำลังที่ดีของสังคมต่อไปได้อีกด้วย