Site icon คุณแม่ลูกอ่อน

5 สัญญาณบอกว่าคุณแม่ใกล้จะคลอดแล้ว

แม้ว่าจะเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าเมื่อไรคือกำหนดการคลอดโดยประมาณของคุณแม่แต่ละคนแต่พอใกล้ถึงเวลาเข้าจริงๆ แล้วความกังวลต่างๆ มันก็น่าจะยิ่งรุมเร้าเข้ามาวันนี้เราจะมาช่วยคุณแม่ให้คลายกังวลเรื่องนี้กันเพราะเราจะรวบรวม 6 สัญญาณที่ถ้าเกิดขึ้นแล้วล่ะก็เตรียมตัวเรียกคุณพ่อกระโดดขึ้นรถตรงดิ่งไปที่โรงพยาบาลกันได้เลยเพราะมันคือสัญญาณที่จะบอกคุณแม่ว่าลูกใกล้จะออกมาให้ชื่นใจกันแล้ว

6 สัญญาณให้คุณแม่เตรียมพร้อมการคลอด

เจ็บท้อง

นี่คือสิ่งพื้นฐานที่สุดที่จะเกิดขึ้นในวันที่คุณแม่พร้อมจะคลอดแล้วแต่คุณแม่หลายคนก็มักจะสัมผัสได้ถึงความรู้สึกที่มดลูกเกิดอาการบีบตัวหรือหดตัวเป็นระยะมาตั้งแต่ช่วงที่ตั้งครรภ์ได้ 6 เดือน และก็เป็นมาเรื่อยๆ จนยิ่งใกล้คลอดก็ยิ่งชัดเจนขึ้นไปอีก ซึ่งอาการเหล่านี้อาจจะทำให้เกิดการสับสนได้ว่านี่คือการเจ็บท้องคลอดหรือไม่ เพราะบางทีก็เป็นการเจ็บท้องหลอกเพื่อที่จะเป็นสัญญาณบอกว่ามดลูกเตรียมพร้อมกับการคลอดไว้แล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการคลอดจะเกิดขึ้นทันทีทันใด

แล้วถ้าเป็นแบบนี้อาการเจ็บท้องแบบไหนกันล่ะที่เป็นสัญญาณจริงให้คุณแม่เตรียมพุ่งไปโรงพยาบาลวันนี้เราจะมายกตัวอย่างให้ได้รู้จักกันชัดๆ ไปเลย โดยอาการเจ็บท้องจริงนั้นจะมีอาการปวดอย่างสม่ำเสมอและจะปวดถี่ขึ้นเรื่อยๆ ท้องจะแข็งตึง คุณแม่จะสัมผัสได้ถึงความเจ็บที่บริเวณส่วนบนของมดลูกและเริ่มเจ็บร้าวไปที่หลัง และยิ่งถ้าเดินหรือเคลื่อนไหวก็จะยิ่งมีอาการเจ็บปวดเพิ่มมากยิ่งขึ้นด้วย และหากสังเกตให้ดีอาจจะมีมูกเลือดหลุดออกมาจากทางบริเวณช่องคลอดอีกด้วย

สัมผัสได้ว่าลูกดิ้นน้อยลง

ในช่วงเวลาของการใกล้คลอดแล้วนั้นลูกจะเริ่มดิ้นน้อยลงเพราะว่าลูกเติบโตอย่างรวดเร็วและเริ่มตัวใหญ่เมื่อเอาไปเทียบกับขนาดโพรงมดลูกจึงทำให้น้ำคร่ำที่สร้างขึ้นมาอย่างจำกัดนั้นส่งผลให้ลูกในครรภ์เกิดการเคลื่อนไหวที่ลำบากขึ้นนั่นเองแต่อย่างไรก็ตามถ้าคุณแม่สังเกตแล้วว่าลูกดิ้นน้อยผิดปกติหรือไม่ดิ้นเป็นเวลานานจนเกินไปแล้วนั้นก็ควรรีบไปพบแพทย์เพราะนี่อาจจะเป็นอาการผิดปกติของลูกในครรภ์ก็เป็นได้

อาการท้องลด

ฟังชื่อแล้วอาจจะดูแปลกๆ งงๆ แต่ความจริงอาการท้องลดนั่นก็คือสัญญาณเตือนว่าคุณแม่กำลังใกล้คลอดอย่างหนึ่งนั่นเอง โดยจะเริ่มสังเกตได้ในช่วงหลังตั้งครรภ์ไปแล้ว 36 สัปดาห์ ซึ่งขนาดท้องอาจจะมีขนาดที่เล็กลง สาเหตุก็เนื่องมาจากลูกในครรภ์นั้นเลื่อนตัวต่ำลงนั่นเอง เขาเลื่อนจากบริเวณเหนือเชิงกรานลงไปอยู่บริเวณต่ำลงเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมต่อการคลอดที่กำลังจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้นั่นเอง

แต่อาการนี้มีการเกิดขึ้นที่แตกต่างกันไปแล้วแต่กรณีอย่างเช่นในกรณีของคุณแม่ที่เป็นท้องที่สองก็อาจจะเกิดอาการท้องลดช้าลงหรือในคุณแม่ท้องแรกบางคนแม้จะใกล้เวลาคลอดเข้ามามากแล้วก็ยังไม่มีอาการท้องลดปรากฏให้เห็นกันเลยก็มี

น้ำเดิน

อาการน้ำเดินถ้ามันเกิดขึ้นแล้วไม่ว่าคุณแม่จะมีอาการเจ็บท้องร่วมด้วยหรือไม่ก็ตามก็ควรรีบไปพบแพทย์ในทันทีเพราะสายสะดือของลูกในครรภ์อาจจะถูกกดทับจนทำให้มีภาวะน้ำคร่ำลดน้อยลงหรือภาวะสายสะดือโผล่ก็เป็นได้ และหากทิ้งในภาวะน้ำเดินคงอยู่นานเกินกว่า 18 ชั่วโมงอาจจะส่งผลให้เกิดอาการอักเสบและติดเชื้อเข้าไปในโพรงมดลูกได้อีกด้วย และถ้าโดยปกติแล้วนั้นคุณแม่ที่มีอาการน้ำเดินจะมีโอกาสคลอดได้ภายใน 12 ชั่วโมงอีกด้วย

ปากมดลูกเปิด

ถ้าอยู่ในช่วงระหว่างตั้งท้องนั้นปากมดลูกของคุณแม่จะหนาและปิดค่อนข้างสนิทเพื่อเป็นการป้องกันลูกน้อยในครรภ์แต่ร่างกายจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อถึงเวลาใกล้คลอดโดยตัวปากมดลูกจะเริ่มมีอาการที่อ่อนนุ่มลง บางลง และเริ่มสั้นขึ้นเรื่อยๆ จนขยายกว้างออกถึงประมาณ 10 เซนติเมตร เพื่อให้ทารกนั้นคลอดออกได้สำเร็จนั่นเอง

เมื่อถึงเวลาใกล้คลอดแล้วนั้นปากมดลูกจะเริ่มเปิดและขยายเองแบบอัตโนมัติทำให้มูกและเลือดบริเวณปากมดลูกไหลออกมาผ่านทางช่องคลอดรวมทั้งยังทำให้เส้นเลือดบริเวณปากมดลูกเกิดการแตกทำให้มีเลือดพร้อมมูกซึ่งนี่แหละคืออาการใกล้คลอดที่แท้จริงให้คุณแม่รีบเดินทางไปที่โรงพยาบาลกันได้เลย

การหมั่นคอยสังเกตและดูแลตัวเองของคุณแม่อยู่เสมอนั้นจะทำให้สามารถจับสังเกตอาการใกล้คลอดได้ดียิ่งขึ้นและไปถึงโรงพยาบาลได้อย่างทันท่วงที และการดูแลตัวเองอยู่อย่างสม่ำเสมอนั้นก็มีส่วนช่วยเป็นอย่างมากให้ร่างกายแข็งแรงและทำให้การคลอดเป็นไปได้ง่ายดายขึ้นรวมทั้งเมื่อคลอดแล้วร่างกายก็จะสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย