Site icon คุณแม่ลูกอ่อน

ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไรให้ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดรอยนูนหรือคีลอยด์

ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไรให้ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดรอยนูนหรือคีลอยด์

คุณแม่มือใหม่ที่คลอดลูกด้วยวิธีการผ่าตัด จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อที่แผล เกิดเป็นรอยแผลนูนหรือคีลอยด์ และที่สำคัญเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ วันนี้โน้ตมีวิธีดูแลแผลผ่าคลอด และวิธีป้องกันแผลติดเชื้ออย่างถูกวิธีมาฝากค่ะ

ลักษณะของแผลที่ผ่าคลอด

โดยทั่วไปแผลผ่าตัดจะมี 2 ลักษณะ คือ แผลในแนวตั้งใต้สะดือ และแนวนอนหรือแนวขอบบิกินี ซึ่งจะมีความยาวประมาณ 4-6 นิ้ว โดยในอาทิตย์แรกหลังการผ่าคลอดผิวชั้นนอกของแผลจะติดกัน จากนั้นแผลจะปิดสนิท และเปลี่ยนเป็นสีแดงอมม่วงนานประมาณ 6 เดือน แล้วสีจะค่อย ๆ จางลงเป็นสีขาวและเรียบเนียน ส่วนผลด้านในหรือแผลส่วนกล้ามเนื้อท้องและมดลูกต้องใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะหายดี ในบางรายอาจเป็นคีลอยด์แต่ก็พบได้น้อย

วิธีดูแลแผลผ่าคลอด

ถ้าคุณแม่อยู่ที่โรงพยาบาลข้อนี้จะไม่ค่อยน่ากังวลเท่าไหร่ เพราะจะมีพยาบาลช่วยดูแล แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่คุณแม่กลับบ้าน คุณแม่ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดนะคะ

  • ไม่ยกของหนักในช่วง 6 อาทิตย์แรกหลังผ่าคลอด
  • หมั่นล้างแผลอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะบริเวณอุ้งเชิงกราน
  • ล้างมือให้สะอาดก่อนทำแผลทุกครั้ง
  • หากมีไหมโผล่ออกมา ไม่ควรไปจับปลายไหมหรือดึงออกเอง แต่ควรไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์เล็มออกให้ จะได้ไม่เกี่ยวเสื้อผ้าค่ะ
  • ไม่อาบน้ำด้วยการแช่ในอ่าง แต่ควรใช้ฝักบัวแทน
  • ใช้สบู่อาบน้ำที่มีฤทธิ์อ่อน และไม่ถูสบู่ เจลอาบน้ำ หรือโรยแป้งโดยตรงที่แผล
  • ซับแผลให้แห้งด้วยผ้าขนหนูที่สะอาดทุกครั้ง
  • สวมเสื้อผ้า และชุดชั้นในที่หลวม ไม่รัดแน่นเกินไป เพื่อไม่ให้เสื้อผ้าเสียดสีที่แผล
  • ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยากินหรือยาทาสำหรับการรักษาแผลก่อนทุกครั้ง
  • หากอยู่ในช่วงให้นมลูก คุณแม่ควรเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางหรือครีมบางชนิดก่อน เพราะอาจส่งผลเสียต่อทารกได้
  • หากมีรอยพับที่เหนือแผล ให้คุณแม่หมั่นเช็ดให้แห้ง เพื่อป้องกันไม่ให้บริเวณนั้นชื้น
  • หลังแผลปิดสนิท ให้ทาวิตามินอีที่แผล เพราะวิตามินอีจะเพิ่มความชุ่มชื้น ปกป้องผิวจากอนุมูลอิสระ โดยเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีวิตามินอีสูง และมีอัลเลียม ซีปาที่จะช่วยลดการอักเสบได้

วิธีป้องกันการติดเชื้อ

การดูแลแผลผ่าเพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อนั้น จริง ๆ แล้วไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่ต้องอาศัยความขยันและความสะอาดกันมากสักหน่อย ไปดูกันค่ะว่าวิธีป้องกันการติดเชื้อนั้นต้องทำอย่างไรกันบ้าง

  • สอบถามแพทย์เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวและการดูแลแผลผ่าให้เข้าใจ พร้อมปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
  • หากต้องกินยาปฏิชีวนะ ควรกินให้หมดตามที่แพทย์สั่ง ไม่หยุดยาหรือลดปริมาณเอง โดยปราศจากคำแนะนำของแพทย์
  • หมั่นทำความสะอาดผ้าปิดแผลอยู่เสมอ
  • ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการอุ้มลูกและให้นมลูก เพื่อเลี่ยงแผลผ่าที่อาจถูกกดทับ
  • ไม่สวมเสื้อผ้าที่รัดแน่น หรือทาครีมบริเวณแผลที่ผ่าคลอด
  • เลี่ยงไม่ให้แผลบริเวณที่ผ่าตัดเสียดสีกัน
  • ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายทันที หากรู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว หรือรู้สึกไม่สบายตัว

สัญญาณของการติดเชื้อที่ต้องรีบไปพบแพทย์

สำหรับแผลที่ติดเชื้ออาจปรากฏได้ภายหลังจากวันที่เกิดแผล หรือในบางรายเป็นอาทิตย์ เป็นเดือนก็มี จะรู้ได้อย่างไรว่านี่คือแผลที่ติดเชื้อ และควรต้องรีบไปพบแพทย์ด่วน ไปดูกันค่ะ

  • ที่แผลผ่ามีรอยแดง เจ็บ หรือบวม
  • รู้สึกว่าเจ็บมากขึ้นบริเวณแผลผ่า
  • เริ่มมีกลิ่นเหม็นบริเวณแผล
  • เริ่มมีหนองและเลือดปูดออกมาอย่างเห็นได้ชัด
  • มีไข้ หนาวสั่น
  • รู้สึกชาที่แผล
  • ดูแล้วอาการไม่ดีขึ้น
  • กังวลกับอาการที่เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

คุณแม่มือใหม่ที่ผ่าคลอดจำเป็นต้องดูแลตัวเองอย่างมาก ไหนจะเจ็บแผล ไหนจะให้นมลูกอีก แถมเป็นคุณแม่มือใหม่อีกต่างหาก โชคหลายชั้นเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นก่อนออกจากโรงพยาบาล ควรซักถามแพทย์ให้ละเอียดและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดนะคะ เพื่อให้แผลหายเร็ว และไม่เป็นคีลอยด์ จะได้ใช้เวลาที่เหลือให้คุ้มค่าไปกับครอบครัวและลูกน้อยที่แสนจะน่ารักค่ะ

นวัตกรรมใหม่ของกางเกงชั้นในสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด

นวัตกรรมใหม่ของกางเกงชั้นในสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด พร้อมแผ่นซิลิโคนดูแลแผลผ่าคลอดชนิดเดียวกับที่ศัลยแพทย์ใช้ (medical-grade silicone)
เทคโนโลยีจดสิทธิบัตรจากสหรัฐอเมริกา ปกป้องดูแลแผลผ่าคลอด เร่งการสมานแผล ลดอาการบวมแดง/คัน ลดรอยแผลเป็น
เนื้อผ้าเส้นใยทอพเศษเพิ่มแรงกดบนแผลผ่าคลอดเพื่อให้รอยแผลนิ่มลงและแบนราบ
ซัพพอร์ทรอบลำตัวช่วยพยุงและบรรเทาอาการเสียวแผลขณะลุกยืน ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้นและเร่งให้รูปร่างคืนสู่สภาพก่อนตั้งครรภ์ได้อย่างรวดเร็ว