Site icon คุณแม่ลูกอ่อน

อาหารบำรุงครรภ์ และ ตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 14 ถึง สัปดาห์ที่ 18

อาหารบำรุงครรภ์ และ ตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 14 ถึง สัปดาห์ที่ 18

เริ่มเข้าสู่ช่วงของการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 กันแล้ว ทั้งคุณแม่และลูกน้อยจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้างนะ

สารบัญ

อายุครรภ์ 14 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 14 สัปดาห์

  • มดลูกจะบวมมากขึ้น คุณหมอจะมีการนัดอัลตร้าซาวน์ ตรวจคัดกรองเซรั่มเพื่อคัดกรองภาวดาวน์ซินโดรม
  • เริ่มเห็นเส้นกลางลำตัวชัดมากขึ้น และจะหายไปหลังจากคลอดลูกน้อยแล้ว
  • หน้าอกยังขยายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

พัฒนาการทารกในครรภ์ 14 สัปดาห์

  • สัปดาห์นี้ลูกจะมีความยาวประมาณ 80-93 มม. หนักประมาณ 25 กรัม
  • สามารถแสดงอาการเหล่ตา เคลื่อนไหวนิ้วมือได้ซับซ้อนมากขึ้น และดูดนิ้วหัวแม่มือได้อีกด้วย
  • ในขณะที่อวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายเติบโตไปได้เรื่อย ๆ เริ่มมีการฝึกการหายใจให้เป็นจังหวะที่สม่ำเสมอ
  • ต่อมไทรอยด์เริ่มมีการผลิตฮอร์โมน
  • น้ำคร่ำก็จะเริ่มมีการหมุนเวียน การดูดซึมขับถ่ายของเสีย และมีการทำความสะอาดใหม่โดยรก ในทุก ๆ 3 ชั่วโมง

อาหารบำรุงครรภ์ 14 สัปดาห์

ต่อมไทรอยด์พัฒนาไปถึงขั้นพร้อมที่จะผลิตฮอร์โมน คุณแม่ควรลดทานกะกล่ำปลี หรือไม่กินดิบๆ เพราะในผักชนิดนี้มีสารที่ไปยับยั้งการทำงานของไทรอยด์ แต่ถ้าเป็นของชอบจริง ๆ แนะนำให้ต้มหรือนึ่งให้สุกก่อนทานนะคะ

อายุครรภ์ 15 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 15 สัปดาห์

  • คุณแม่จะเริ่มคับบริเวณเอว เริ่มมีอาการท้องผูก เพราะฮอร์โมรโปรเจสเตอโรนกำลังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้กล้ามเนื้อลำไส้ทำงานช้าลง ดังนั้น ผักและผลไม้เป็นอาหารที่คุณแม่ต้องทานได้ให้ในปริมาณมาก ๆ เลยค่ะ ที่สำคัญอย่าลืมทานแคลเซียมไว้นะคะ เพราะลูกกำลังเติบโตได้ดีทีเดียว
  • ช่วงนี้น้ำหนักของคุณแม่เริ่มเพิ่มมาประมาณ 3 – 4 กิโลกรัม
  • คุณแม่บางคนอาจมีเลือดออกหลังแปรงฟัน เนื่องมากจากเหงือกบวมขึ้น มีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงมากขึ้น การไปพบทันตแพทย์เพื่อให้ขูดหินปูน สามารถทำได้ แต่ต้องแจ้งแพทย์ก่อนทุกครั้งนะคะว่าตั้งครรภ์อยู่

พัฒนาการทารกในครรภ์ 15 สัปดาห์

  • สัปดาห์นี้ลูกจะมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 9.3-10.3 ซม. หนักประมาณ 50 กรัม
  • ขนอ่อนเริ่มขึ้นตามร่างกาย ขนอ่อนนี้จะร่วงก่อนเกิดและมีขนที่หนาและหยาบมากกว่าขึ้นมาแทน แต่ขนคิ้วและผมยังคงขึ้นต่อไป
  • โครงกระดูกพัฒนาได้เร็วขึ้นแต่ก็ยังคงเป็นกระดูกอ่อนอยู่ ซึ่งจะมีการพัฒนาไปเป็นกระดูกที่แข็งแรงต่อไป
  • ขาของทารกเริ่มพัฒนาได้ยาวกว่าส่วนแขน

อาหารบำรุงครรภ์ 15 สัปดาห์

เน้นวิตามินเอ ทีมีส่วนช่วยในกระบวนการผลิตเซลล์ผิวหนัง ที่อยู่ในรูปของ “แคโรทีน” พบมากในผักใบเขียว เนย ฟักทอง และแครอท ค่ะ

อายุครรภ์ 16 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 16 สัปดาห์

  • สัปดาห์นี้มดลูกของคุณแม่จะขยายใหญ่ขึ้น ปริมาณน้ำคร่ำก็เพิ่มมากขึ้น
  • ต่อมน้ำนมของคุณแม่ก็เริ่มมีการผลิตน้ำนมและอาจส่งผลให้เต้านมบวมได้ กดแล้วเจ็บ เลือดจะไหลเวียนมายังเต้านมมากขึ้น ทำให้มองเห็นหลอดเลือดดำได้ชัดเจนขึ้น

พัฒนาการทารกในครรภ์ 16 สัปดาห์

  • ลูกจะมีความยาวประมาณ 10.8-11.6 ซม. หนักประมาณ 80 กรัม
  • อวัยวะต่าง ๆ เติบโตอย่างเต็มที่ และเคลื่อนไหวทุกส่วนได้ ศีรษะตั้งตรงมากขึ้น
  • สมองควบคุมการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น
  • ระบบภูมิคุ้มกันเริ่มผลิตแอนตี้บอดี้ป้องกันตนเองได้ดีขึ้น
  • ไตเริ่มมีการทำงานได้ใกล้เคียงกับผู้ใหญ่
  • จำนวนเส้นประสาทและกล้ามเนื้อมีมากกว่าเดือนที่แล้วถึง 3 เท่า

อาหารบำรุงครรภ์ 16 สัปดาห์

เพราะน้ำคร่ำมีปริมาณเพิ่มขึ้นเป็น 200-250 ซีซี อาหารกลุ่มวิตามินซีจะช่วยเพิ่มคอลลาเจนส่งผลให้เซลล์ยึดติดเหนียวแน่นมากขึ้น นอกจากนี้ วิตามินซียังทำให้กระดูกและฟันของลูกแข็งแรงขึ้น ผิวพรรณของคุณแม่ดูสดใสมากขึ้น อ้อ…อย่าลืมหาครีมทากันท้องแตกลายนะคะ (ครีมยังช่วยลดอาการคันได้อีกด้วยค่ะ)

อายุครรภ์ 17 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 17 สัปดาห์

  • สัปดาห์นี้หัวใจของคุณแม่ได้เพิ่มปริมาณการสูบฉีดเลือดส่งออกจากหัวใจมากขึ้นเป็นร้อยละ 40 ต่อนาที เพิ่มความดันให้กับหลอดเลือดขนาดเล็ก เช่น หลอดเลือดฝอยในจมูกและเหงือก อาจมีเลือดกำเดาออกเล็กน้อย ในบางรายอาจมีอาการบวมน้ำที่มือและเท้าเล็กน้อย
  • ตาของคุณแม่อาจเริ่มแห้ง ให้คุณแม่หาน้ำตามเทียมมาหยอด ก็จะช่วยให้ตาชุ่มชื้นขึ้น

พัฒนาการทารกในครรภ์ 17 สัปดาห์

  • ตอนนี้ลูกจะมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 11-12 ซม. หนักประมาณ 100 กรัม ขั้นตอนนับเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญ เพราะลูกจะเริ่มมีการสะสมไขมันสีน้ำตาลซึ่งเป็นไขมันชนิดพิเศษ โดยมีบทบาทสำคัญในการสร้างความร้อนหลังเกิด หัวใจสูบฉีดเลือดสูงสุดวันละ 24 ลิตร รกจะมีขนาดใหญ่อย่างเห็นได้ชัดเจน
  • ลูกน้อยเริ่มมีผิวหนังและกล้ามเนื้อ ส่วนต่อมเหงื่อก็กำลังพัฒนาเช่นกัน
  • ระบบทางเดินโลหิต และทางเดินปัสสาวะก็พัฒนาได้อย่างสมบูรณ์แล้ว
  • สามารถรับรสและแยกรสชาติของน้ำคร่ำได้

อาหารบำรุงครรภ์ 17 สัปดาห์

ไขเคลือบผิวลูกเริ่มผลิตมากขึ้น เพื่อช่วยให้ร่างกายเกิดความอบอุ่น ในช่วงที่ลูกยังอยู่ในครรภ์ “ไบโอติน” จะช่วยในกระบวนการย่อยสลาย และดูดซึมกรดไขมัน อาหารที่คุณแม่ควรเน้นทานในช่วงนี้คือ พวกถั่วต่าง ๆ ผลไม้ ผักเขียว น้ำเต้าหู้ เมล็ดทานตะวัน เป็นต้น

อายุครรภ์ 18 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 18 สัปดาห์

  • หากคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นครั้งแรก อาจจะตื่นเต้นกับการเคลื่อนไหวของลูกในท้องเป็นครั้งแรก แต่ในบางรายอาจยังไม่ค่อยรู้สึกจนกว่าจะอีก 2-3 สัปดาห์ถัดไป อาจเริ่มชัดเจนขึ้น
  • ผิวของคุณแม่จะเริ่มมีสีคล้ำขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งจะทำให้เม็ดสีใต้ผิวหนังมีความไวต่อแสงมากกว่าเดิมถึง 3 เท่า

พัฒนาการทารกในครรภ์ 18 สัปดาห์

  • ลูกจะมีความยาวเพิ่มขึ้นเป็น 12.5-14 ซม. โดยประมาณ หนักประมาณ 150 กรัม
  • ลูกจะไวต่อเสียงหรือการสัมผัสจากโลกภายนอกมากขึ้น ประสาทหูกำลังพัฒนาได้ดี แต่จะตกใจเมื่อได้ยินเสียงรบกวนที่ดัง
  • ลำไส้ส่วนล่างกำลังเก็บสะสมเศษที่ย่อยไม่ได้ เรียกว่า “ขี้เทา
  • ระบบต่าง ๆ ในร่างกายเริ่มมีการทำงานได้อย่างสมบูรณ์มากขึ้น
  • หากลูกดิ้นแรง คุณแม่ก็จะสามารถรับรู้ได้

อาหารบำรุงครรภ์ 18 สัปดาห์

ช่วงนี้คุณแม่อาจมีอาการท้องผูกมากขึ้น อาหารที่ทานเน้นเป็นผัก ผลไม้ที่มีกากใยสูง จะดีมากค่ะ ดื่มน้ำเปล่าสะอาดให้ได้วันละ 8 แก้วนะคะ

การเปลี่ยนแปลงแม่ตั้งครรภ์ แต่ละสัปดาห์

[random_posts2 limit=10]