Site icon คุณแม่ลูกอ่อน

คุณแม่รู้จักไว้ก็ดี กับโรคฮีนอค

ในโลกโชเซียลตอนนี้หากจะถามว่า โรคอะไรในเด็กที่ได้รับการส่งต่อมากที่สุด นั่นคือ “โรคฮีนอค ชอนไลน์เพอพูรา (HenochSchonleinPurpura)” ที่คุณแม่ TippawanPingpittayakul ได้แชร์ไว้เฟสบุคของตนเอง เพราะลูกของคุณแม่ที่อายุ 4 ขวบครึ่งเพิ่งจะเป็นโรคนี้มาหมาดๆ
วันนี้เราจึงนำเรื่องราวนี้มาแชร์ให้คุณแม่ฟัง พร้อมทั้งมีอาการของโรค สาเหตุ และวิธีการรักษาโรคนี้มาให้คุณแม่ได้ทราบกันค่ะ

อาการที่น้องเป็น

วันที่ 1


คุณแม่ไปรับน้องพายอาร์ที่โรงเรียนเป็นปกติ เหมือนทุกๆ วัน แต่วันนี้น้องมาแปลกไม่ยอมยืนหน้ารถเหมือนเคย คุณแม่จึงให้นั่งด้านหลัง พอกลับถึงบ้าน พอถอดถุงเท้าดู ปรากฏว่า “ใต้ฝ่าเท้าบวม” คุณแม่จึงสอบถามคุณครูว่าน้องไปโดนอะไรกัดหรือเปล่า แต่คุณครูแจ้งว่าไม่มีใครรู้ คืนนั้นคุณแม่รอดูอาการ คิดว่า “ถ้าโอนอะไรกัด เช้าวันถัดไปก็น่าจะยุบ

วันที่ 2


ตื่นมาตอนเช้า น้องพายอาร์ยังคงบอกเจ็บเท้าอยู่ยืนไม่ได้ จึงให้หยุดเรียนและพาไปหาหมอใกล้บ้าน คุณหมอก็ตรวจหารอยที่แมลงกัดก็ไม่พบ จึงได้ยาฆ่าเชื้อมา วันนั้นกลับมาลูกก็ยังบอกเจ็บขา และเริ่มมีจุดแดงๆ เล็กขึ้นที่เท้าและขา

วันที่ 3


ลูกตื่นมาพร้อมกับอาการเจ็บหลัง ไม่สามารถเดินไปไหนมาไหนได้ คุณแม่ต้องอุ้มน้องตลอด น้องทำได้เพียงนั่งเฉยๆ อย่างเดียวบ่ายแก่ๆ จากจุดแดงๆ เริ่มกลายเป็นปื้นใหญ่ เจ็บหลังและขามากขึ้น แตะตัวไม่ได้เลย เจ็บตลอด คุณแม่จึงพาไปหาหมอ คุณหมอเจาะเลือดไปตรวจ พร้อมสันนิษฐานว่าเป็น “ฮีนอค” แต่รอผลยืนยันอีกที

วันที่ 4


ผลเลือดออกมาสรุปว่าเป็น “ฮีนอค” จริงๆ หมอบอกว่าเป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุ…แต่น้อยคนที่จะเป็น เบื้องต้นหมอให้ยาสเตียรอยด์และยาเพื่อกดเม็ดเลือดขาว ส่วนยาที่จะให้ทางสายน้ำเกลือ แปลนไว้ว่าจะให้ในอีก 3 วันถัดไป ถ้าอาการดีขึ้น ผื่นและบวมลดลง จะได้กลับบ้าน

วันที่ 5


หลังจากได้ยา อาการต่างๆ ก็ดีขึ้น เหลือเพียงรอยผื่นและรอยช้ำ ส่วนหลังเท้ายังมีรอยปูดแต่ไม่ช้ำ ตลอดการรักษาคุณแม่ต้องจดปริมาณน้ำเข้า ปริมาณที่ปัสสาวะออกตลอด และคุณหมอจะนำปัสสาวะไปตรวจ

วันที่ 6


อาการปวดหลัง เท้าบวมปูดยุบลง เหลือเพียงรอบช้ำตามซอกนิ้วและฝ่าเท้า คุณหมอบอกว่าจะถอดน้ำเกลือและเปลี่ยนเป็นยากินดู ถ้าตอบสนองได้ดี จะได้กลับบ้าน

วันที่ 7

น้องตื่นมาพร้อมกับอาการที่จะได้กลับบ้าน ทุกคนต่างดีใจ เตรียมเก็บของ แต่จู่ๆ น้องบอกกับแม่ว่าปวดเข่า คุณแม่รอคุณหมอมาตรวจและจะได้แจ้งอาการกับคุณหมออีกที พอคุณหมอมาตรวจดูพบว่าเข่าปูดสรุปคือยังกลับบ้านไม่ได้ แถมคุณหมอขอเพิ่มโดสยา และรอดูผลก่อน หากไม่ดีขึ้น ต้องเจาะน้ำเกลือและยาทางสายกันอีกรอบ

ตอนนี้น้องพายอาร์ออกจาก รพ. แล้วนะคะ แต่ต้องมา follow up กับคุณหมออีก 1 ปี

อาการของโรคฮีนอคชอนไลน์เพอพูรา

อาการของโรคนี้ที่น้องพายอาร์เป็นนั้น พญ.นุชนาฏ รุจิเมธาภาส นายแพทย์ชำนาญการงานโรคผิวหนัง สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า…โรคนี้ ฮีนอค ชอนไลน์เพอพูรา (HenochSchonleinPurpura)หรือในชื่อภาษาไทยว่า “โรคหลอดเลือดอักเสบ” เกิดได้กับทุกเทศทุกวัย โดยเฉพาะในเด็กอายุ 2-11 ปี แต่จะพบบ่อยในเด็กที่มีอายุเฉลี่ย 6 ปี พบมากในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง ในอัตรา 22 คนต่อประชากร 100,000 คนซึ่งอาการของโรคมีดังนี้ค่ะ

  1. เป็นผื่นแดง บวมบริเวณผิวหนังเหมือนถูกแมลงกัดต่อย โดยผื่นที่เกิดจากเส้นเลือดฝอยอักเสบนั้น ในระยะแรกจะมีลักษณะเป็นจุดแดงๆ คล้ายยุงกัด แต่เด็กจะไม่มีอาการคัน
  2. ผื่นจะเกิดขึ้นที่บริเวณขอทั้ง 2 ข้างเท่าๆ กัน โดยเวลากดที่ผื่นแล้วสีแดงยังไม่จาง ถ้าเป็นมากขึ้นเด็กจะไม่อยากเดิน เพราะปวดขา ปวดข้อเท้า หากปล่อยไว้ให้เป็นมากขึ้น เด็กจะมีอาการปวดท้องมากเป็นๆ หายๆ หรือถ้ามากขึ้นไปอีกอาจมีอาการถ่ายเป็นเลือด
  3. ทั้งนี้ อาการที่แสดงออกมาของผู้ป่วยแต่ละคนไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของเด็กเอง บางรายอาจมีอาการปวดท้อง ปวดตามข้อ ไตอักเสบ มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง แขน ขา เท้า และก้น
  4. หากนอนมาก อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ข้อบวมอักเสบ โดยเฉพาะข้อเท้า หัวเข่า ปวดท้อง เลือดออกในทางเดินอาหาร ภาวะลำไส้กลืนกัน ไตอักเสบ หรือหากอาการหนักมากอาจถึงขั้นไตวายเสียชีวิตได้ ซึ่งมีโอกาสพบได้น้อยมาก

สาเหตุของโรค

ยังไม่สามารถระบุถึงสาเหตุได้แน่ชัด เพียงแต่สันนิษฐานว่า อาจะเกิดจากความผิดปกของร่างกายอย่างเฉียบพลันหรือแพ้ภูมิตัวเอง ซึ่งอาจถูกกระตุ้นด้วยเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสที่ทำให้เราไม่สบายมาแล้วก่อนหน้า โดยอาการ

วิธีการรักษาโรคฮีนอค ชอนไลน์เพอพูรา

คุณหมอจะรักษาตามอาการ พร้อมกับให้ยากดภูมิคุ้มกัน เพื่อควบคุมอาการหลักของโรคให้เบาลง เช่น ผู้ป่วยมีอาการเลือดจางหรือซีด ก็จะให้เลือด เป็นต้น

แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจไปนะคะ เพราะโรคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อ ไม่ใช่โรคระบาด เพียงแต่ต้องใส่ใจดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิด เพราะหากพบเร็ว ทำการรักษาได้เร็วก็จะหายจากโรคนี้ได้ค่ะ โดยภายใน 1 ปี ที่คุณหมอจะนัด follow up หรือจนกว่าจะแน่ใจแล้วว่าลูกน้อยห่างไกลจากโรคนี้

ทางทีมงาน momandbaby.net ขอให้น้องพายอาร์หายเป็นปกติไวๆ นะคะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจากคุณแม่ TippawanPingpittayakul