Site icon คุณแม่ลูกอ่อน

ลูกเป็นไข้ทำอย่างไรดี

โรคไข้ไข้หวัด น่าจะเป็นสิ่งที่หลายๆ คนคุ้นเคยเพราะมักจะแวะเวียนมาหาพวกเราได้ในทุกฤดูแต่ถ้าพูดถึงไข้หวัดที่แวะเวียนมาหาเด็กทารกแล้วล่ะก็คุณพ่อคุณแม่หลายๆ คนน่าจะไม่สบายใจแน่นอน เพราะเด็กยังไม่สามารถสื่อสารถึงอาการเจ็บป่วยได้ หากจะทำได้ก็เพียงแค่ร้องเท่านั้น แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าตอนไหนควรทำอย่างไร จะช่วยให้ลูกรีบหายจากไข้หวัดอย่างไรดี วันนี้เรามาหาคำตอบไปด้วยกันดีกว่า

มาเช็คปัจจัยที่ทำให้ลูกเป็นไข้หวัดกันก่อน

อากาศ

นี่คือตัวแปรสำคัญเลยทีเดียวสำหรับอาการไข้หวัดในเด็กเพราะด้วยสภาพอาการที่ร้อนไป หนาวไป หรืออากาศที่ชอบเปลี่ยนไปๆ มาๆ นี่แหละ แต่ในเมื่อเราห้ามอากาศไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะหันมาใส่ใจสภาพแวดล้อมที่ควบคุมได้มากขึ้น เช่น การเปิดเครื่องปรับอากาศให้พอดี การห่มผ้า การใส่เสื้อผ้าที่เหมาะกับอากาศ รวมไปถึงการให้ลูกทานอาหารที่มีสารอาหารครบช่วยให้ร่างกายแข็งแรงได้นั่นเอง

อยู่ในที่ที่มีคนป่วย

เด็กยังมีภูมิต้านทานที่ต่ำอยู่หากบังเอิญต้องไปอยู่รวมในที่ที่มีคนป่วยอยู่นั้นก็แน่นอนว่าอาจจะสามารถติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรตรวจสอบสภาพแวดล้อมให้ดีๆ ก่อนจะพาลูกไปที่ไหนเพื่อป้องกันการติดเชื้อได้

ภูมิคุ้มกันของเด็กต่ำ

แม้ว่าอาจจะไม่ได้ไปอยู่ในที่ที่มีผู้ป่วยอื่นอยู่แต่ในตัวของเด็กเองมีภูมิคุ้มกันต่ำนี่ก็เป็นสาเหตุของการติดไข้หวัดได้อีกด้วย

อาการของลูกน้อยเมื่อเป็นไข้หวัด

ตัวร้อน มีไข้

แน่นอนว่าเป็นอาการคู่กันของไข้หวัด เมื่อลองจับตัวและวัดอุณหภูมิร่างกายลูกแล้วพบว่าเข้าข่ายเป็นไข้หวัด คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์และอย่าให้ยาเองจนกว่าจะได้ปรึกษาแพทย์

คัดจมูกมีน้ำมูก

ในส่วนนี้เด็กอาจจะยิ่งร้อนไห้งอแงและหายใจไม่ออกไปใหญ่จนทำให้เกอดอันตรายได้ คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลอย่างใกล้ชิด

ไอ

อาการนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่สร้างความทรมานให้กับลูกน้อยเป็นอย่างมากเพราะทั้งเจ็บคอและเจ็บกล้ามเนื้อเมื่อเกิดการไอที่มากเกินไป ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาวิธีบรรเทาอาการไอนั่นเอง

อ่อนเพลีย

เมื่อลูกน้อยไม่สดใสร่าเริงเหมือนเดิม เล่นอะไรแล้วเคยตอบโต้กลับนิ่งเฉยไม่ค่อยสนใจ ดูไม่มีแรง นี่คืออาการที่เข้าข่ายว่าอาจติดไข้หวัดแล้วก็เป็นได้

เบื่ออาหาร

สำหรับเด็กแล้วมีการให้กินเป็นเวลาและคุณพ่อคุณแม่จะค่อนข้างรู้ว่าจังหวะไหนลูกจะหิว แต่เมื่อเป็นไข้หวัดแล้วนั้นความหิวที่ลูกมักจะมีในช่วงเวลานั้นๆ อาจจะหายไป ควรรีบหาอะไรมาทดแทนเพราะเมื่อลูกป่วยแล้วยังขาดสารอาหารยิ่งอาจจะทำให้อาการหนักขึ้นได้

การรักษาไข้หวัดให้ลูกน้อย

  1. หมั่นเช็ดตัวลดไข้ให้ลูกน้อยอยู่เสมอ
  2. ล้างจมูกให้ลูกน้อย
  3. หากยังเป็นวัยไม่หย่านมสามารถลดการไอได้ด้วยการกินนมแม่เยอะๆ และหากโตขึ้นมาหน่อยอาจให้หมั่นจิบน้ำอุ่นๆ แทนได้
  4. ให้ลูกนอนหลับอย่างเพียงพอ
  5. ถ้ามีอาการเบื่ออาหารควรให้ลูกทานน้ำหวาน ผลไม้ น้ำข้าวต้ม ทีละน้อยแต่บ่อยๆ
  6. สังเกตอาการหากเป็นเกิน 7 วัน ควรรีบพากลับไปพบแพทย์อีกครั้ง

เมื่อดวงใจของคุณพ่อคุณแม่ป่วยคนที่ทุกข์ที่สุดก็คงจะไม่พ้นคุณพ่อคุณแม่ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อลูกป่วยและได้พาไปพบแพทย์พร้อมทั้งดูแลกันไปตามขั้นตอนแล้ว การหมั่นดูแลตนเองให้สุขภาพแข็งแรงอยู่เสมอก็ถือเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารรถช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับลูกน้อยได้อีกด้วย

เพราะเมื่อคุณพ่อ คุณแม่ แข็งแรงก็จะมีเวลาและพลังที่จะคอยมาดูแลใส่ใจจุดเล็กน้อยในการเลี้ยงลูกมากขึ้นและรู้อาการต่างๆ ได้อย่างทันท่วงทีสามารถลดโอกาสที่ลูกจะป่วยได้ง่ายๆ อีกด้วย