Site icon คุณแม่ลูกอ่อน

โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) ในเด็ก

วันนี้จะพามาทำความรู้จักกับโรคภูมิแพ้ตัวเอง หรือ Systemic Lupus Erythematosus เรียกสั้นๆ กันว่า SLE ในสมัยก่อนเนี่ยมักจะเรียกกันว่า “โรคพุ่มพวง” ก็เนื่องจากนักร้องลูกทุ่งชื่อดัง “พุ่มพวง ดวงจันทร์” ได้เสียชีวิตลงด้วยโรคนี้นั่นเองค่ะ ซึ่งโรคนี้ก็ไม่ได้จะเกิดกันง่ายๆ ทุกคนหรอกนะคะ ขึ้นอยู่กับว่าหวยจะไปออกที่ใครแค่นั้นเอง

โรคภูมิแพ้ตัวเอง หรือ SLE คืออะไร?

เป็นโรคที่มีความบกพร่องของภูมิคุ้มกันชนิดหนึ่ง (อ๊ะๆ อย่าสับสนกับโรคเอดส์นะคะ นั่นเกิดจากการติดเชื้อไวรัส HIV ที่ทำลายภูมิคุ้มกันในร่างกายแล้วทำให้เกิดการติดเชื้อฉวยโอกาสที่ปกติคนเค้าไม่เป็นกันค่ะ) โดยตัวภูมิคุ้มกันที่เรียกว่า แอนติบอดี้ ซึ่งมักจะอยู่ในเม็ดเลือดขาว เป็นตัวที่ทำหน้าที่คอยกำจัดสิ่งแปลกปลอมและต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย แต่บังเอิญว่าร่างกายของคนนั้น ดันมีภูมิคุ้มกันตัวนี้ทำงานขยันเกินไปหน่อย จึงทำลายทุกอย่างที่ขวางหน้า แถมยังมีการสร้างแบบอัตโนมัติ หรือที่เรียกว่า Auto immune แบบควบคุมการทำงานไม่ได้ จึงทำลายระบบอวัยวะอื่นๆ ในร่างกายไปด้วย และถ้าไปเผลอทำลายโดยอวัยวะที่สำคัญเข้า ก็ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ จริงๆ แล้วก็ยังไม่ทราบเหตุผลที่แน่ชัด ว่าทำไมโรคนี้จึงเกิดขึ้นมาได้ในบางคน แต่ก็พอที่จะพิจารณาจากความเสี่ยงได้

ปัจจัยเสี่ยงของโรค SLE

1.ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม

หากทางฝั่งพ่อหรือแม่ มีคนในครอบครัวเคยเป็นโรคนี้แล้วละก็ ลูกก็จะมีความเสี่ยงได้ค่ะ โดยเฉพาะในฝาแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน จะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าแฝดไข่คนละใบ

2.การติดเชื้อไวรัสบางชนิด

เชื้อ Ebstein-Barr Virus (EBV) ซึ่งเป็นไวรัสที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้าง Auto immune ได้ นอกจากนี้ยังมีไวรัสตัวอื่นเช่น Cytomegalovirus หรือแม้แต่เชื้อเริม ก็อาจกระตุ้นได้เช่นกัน

3.เพศหญิง

เกิดเป็นหญิงแท้จริงแสนลำบาก ไม่ว่าจะเกิดจากฮอร์โมนเพศหญิง เอสโตรเจน หรือโครโมโซม X ที่มีมากกว่าเพศชาย แต่ถ้าหากเป็นโรค Klinefelter’s syndrome ที่มีโครโมโซมผิดปกติเป็น XXY ก็มีโอกาสที่จะเป็น SLE ได้เช่นกัน

4.แสงแดด

รังสีอัลตร้าไวโอเลตมีผลกระตุ้นสร้าง interferon ได้มากขึ้น ทำให้มีผลต่อผิวหนังตรงบริเวณที่โดนแดด

5.ยาบางชนิด

ยาที่เหนี่ยวนำให้เกิด Auto immune ได้แก่ ยาคุมกำเนิด(เฉพาะที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน) ยาปฏิชีวนะ เช่น กลุ่ม Penicillins, Tetracycline, Isoniacid, Quinidine, Griseofulvin ยากันชัก Phenetoin Carbamazipine ยาไทรอยด์ ยาลดไขมันกลุ่ม Statins เป็นต้น

6.สารเคมีบางชนิด

สารเคมีที่พบได้ในสิ่งแวดล้อม เช่น สีย้อมผม ยาฆ่าแมลง ควันบุหรี่ เป็นต้น
อาการที่พบได้บ่อย

การรักษาโรค SLE

หากคุณแม่ท่านใด พบว่าลูกเจ็บออดๆ แอดๆ บ่อยเกินปกติ และมีอาการดังข้างต้น ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง ปกติโรคนี้ก็จะรักษากันไปตามอาการ และมักได้รับยาเพื่อกดภูมิคุ้มกันที่เหมาะสมกับระดับความรุนแรงของโรค เนื่องจากยาที่รักษาโรคนี้เป็นยาที่มีผลข้างเคียงสูง และควรได้รับการติดตามผลการรักษาโดยแพทย์ จึงไม่ควรซื้อยาเพื่อรับประทานเองค่ะ