Site icon คุณแม่ลูกอ่อน

ควรฝึกลูกทานข้าวเองตอนไหน

ควรฝึกลูกทานข้าวเองตอนไหน

คุณแม่ที่กำลังนั่งป้อนข้าว ป้อนน้ำลูกน้อย คงกำลังคิดอยู่ว่าลูกน้อยจะต้องฝึกทานข้าวเองเมื่อใด ตอนลูกฝึกทานอาหารลูกจะทานเองได้หรือไม่ จะฝึกอย่างไรให้ลูกทานอาหารได้จนหมด หากลูกน้อยติดเล่น

คุณแม่อาจจะยังไม่ทราบถึงพัฒนาการอีกอย่างหนึ่งที่ควรฝึกลูกไว้ตั้งแต่ทารก พัฒนาการด้านนี้เป็นพัฒนาด้านกล้ามเนื้อ ทารกวัย 3 – 5 เดือน จะขยับนิ้วได้ และในวัย 6 – 12 เดือน ลูกจะขยับมือมากขึ้น หยิบจับสิ่งของได้มั่นคงขึ้น จึงเป็นวัยที่เหมาะที่สุดกับการฝึกจับอาหาร หรือช้อน คุณแม่อาจจะสบายขึ้น มีเวลามาขึ้น หากคุณแม่ฝึกลูกทานอาหารได้ก่อนลูกอายุ 2 ขวบ

วัย 6 – 12 เดือน

ลูกน้อยวัยนี้ชอบการหยิบจับสิ่งของมากขึ้น การฝึกลูกทานอาหารจึงเหมาะสมกับตอนนี้ โดยคุณแม่ให้ลูกทานอาหารโดยการใช้มือจับ เช่น ผลไม้ อย่างมะละกอสุก หันเป็นชิ้นขนาดพอดีมือ ให้ลูกได้หยิบจับทานเอง กล้วยที่ปลอกเปลือกแล้วก็ให้ลูกฝึกทานได้เช่นกัน

ช่วงแรกอาจจะยังไม่ต้องใช้ช้อนส้อมในการตักอาหาร แต่เมื่อสังเกตแล้วลูกใช้นิ้วใช้มือได้ดีขึ้นลองให้ลูกจับช้อนตักข้าวที่บด ให้กลืนง่าย ๆ หรือจะเป็นเส้นสปาเกตตี ที่ต้มจนนิ่ม ให้ลูกฝึกใช้ตักอาหารด้วยช้อนส้อม
** ช้อนส้อมควรเป็นพลาสติก มีขนาดเล็กจับได้เหมาะมือลูก และมีความมนเพื่อป้องกันไม่ให้ปาดปากลูก

วัย 1 ขวบ

หากฝึกลูกให้จับช้อนส้อมช่วงวัย 6 – 12 เดือนมาก่อนแล้ว เมื่ออายุ 1 ขวบ ลูกจะมีการพัฒนาในการทานด้วยช้อนส้อมอย่างเห็นได้ชัด และในวัยนี้อย่าลืมที่จะฝึกให้ลูกยกแก้วดื่มน้ำเอง โดยแก้วจะต้องมีขนาดเล็ก เป็นพลาสติก มีหูจับ 1 ข้าง ให้ลูกดื่มน้ำเปล่าเพื่อป้องกันการสำลัก

วัย 2 ขวบ

การจับช้อนส้อม และการจับแก้วยกดื่มน้ำของลูกจะพัฒนาขึ้นมาก ลูกจะทานอาหารโดยไม่หกเลอะเทอะเหมือนตอนฝึกใหม่ ๆ แล้ว อาจจะมีหกบ้าง หรือเลอะปากบ้างเป็นธรรมดา

การฝึกลูกทานอาหารแม้จะมีหกบ้างเลอะบ้าง แต่นั้นก็เป็นการฝึกลูกที่ดี ลูกจะมีการพัฒนาทั้งด้านกล้ามเนื้อ และทักษะการรับประทานอาหารได้อย่างดี คุณพ่อคุณแม่เพียงแค่ยิ้มรับ เอ่ยชมลูกในการฝึกทานลูกก็จะภูมิใจ และอยากทานเอง

การฝึกลูกทานอาหารไม่ได้ง่าย และเหนื่อยน้อยลงแต่อย่างใด คุณแม่อาจพบอุปสรรคบ้าง แต่ปัญหาเหล่านั้นแก้ง่าย และฝึกให้ลูกทานอาหารตรงเวลา และหมดจาน

ลดมื้อว่างระหว่างมื้ออาหาร

ของว่างเป็นส่วนที่ทำให้อิ่มท้อง ควรงดของว่าง 3 – 4 ชั่วโมง ก่อนมื้ออาหาร

ปรับเมนูอาหาร

ไม่ควรทำอาหารแบบเดิมให้ลูก ลูกจะเบื่อง่าย คุณแม่จึงจะต้องคอยปรับเปลี่ยนเมนู หรือคิดเมนูใหม่ ๆ ให้เหมาะสมกับอายุของลูก และยังได้ประโยชน์ต่อร่างกาย

จัดปริมาณอาหารให้เหมาะสม

ลูกยังทานได้ไม่มาก ทั้งยังต้องดื่มนม ควรจัดปริมาณอาหารให้พอเหมาะกับวัย จะได้ไม่เกิดการไม่กินข้าว อมข้าว หรือทานมากจนน้ำหนักเกิน

ไม่ดูโทรทัศน์ หรือกิจกรรมอื่น ๆ

งดการดูโทรทัศน์ ดูการ์ตูน เพราะสิ่งนี้จะไปดึงความสนใจของลูก จนทำให้ลูกไม่ทานอาหาร หรือทานช้า การดูโทรทัศน์ไม่ใช่สิ่งที่จะยึดให้ลูกอยู่นิ่งบนโต๊ะอาหารได้ หรือแม้กระทั่งการเล่นของเล่น ก็ไม่ควรมีอยู่บริเวณโต๊ะอาหาร หรือระยะสายตาลูก วัยนี้จะติดแล่นเป็นพิเศษควรเก็บของเล่นให้พ้นสายตาลูก และคุณพ่อคุณแม่จะต้องงดการเล่นโทรศัพท์มือถือเช่นกัน

กินข้าวพร้อมกัน

คุณพ่อคุณแม่และลูกน้อยที่ทานอาหารพร้อมหน้าพร้อมตา ไม่ควรจัดแบ่งอาหารลูกออกมา ให้พ่อแม่และลูกได้ตักทานอาหารร่วมกัน ลูกวัยนี้จะได้เรียนรู้การรับประทานอาหารวิธีการทานของพ่อแม่ และเลียนแบบการทานของพ่อแม่ และสอนให้ลูกทานผักผลไม้ตาม
ข้อควรระวัง

  1. ต้องไม่กดดันให้ลูกฝึกใช้ช้อนส้อม ให้ลูกได้ทดลองทำเอง
  2. ห้ามใจอ่อนเมื่อเห็นลูกตักทานไม่ได้ และเข้าไปป้อนเอง
  3. ไม่บังคับให้ลูกทานอาหารที่ไม่ชอบ วันนี้ไม่ทานอีกวันอาจจะทานก็ได้ เพียงแค่นำสิ่งที่ลูกไม่ทานปรับเมนูใหม่
  4. อย่าปล่อยลูกทานโดยลำพัง อาจเกิดติดคอ หรือสำลักได้

อย่าปล่อยให้วัยฝึกการเรียนรู้ของลูกหมดไปกับการป้อนข้าว หากป้อนข้าวลูกประจำไม่ฝึกลูกให้ช่วยเหลือตัวเอง เมื่อถึงวัยที่ต้องช่วยเหลือตัวเอง ลูกจะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ การพัฒนาทักษะนี้จะช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน เมื่อฝึกช้าแล้วถึงวัยเข้าเรียนเด็กจะไม่มีความมั่นใจ หากทานช้า หรืทานหกมากกว่าเพื่อนคนอื่น