Site icon คุณแม่ลูกอ่อน

เหตุผลที่ ลูกอาเจียน ลูกแหวะนมทุกครั้ง หลังทานนม

ลูกอาเจียน ลูกแหวะนมทุกครั้ง หลังทานนม

เชื่อเหลือเกินค่ะว่าคุณแม่หลายท่านเคยเจอปัญหาลูกน้อยอาเจียนหรือแหวะนมทุกครั้งหลังทานนมหรือแม้แต่เด็กบางคนที่มีอายุ 6 เดือนขึ้นไปจนถึง 1 ขวบ ที่เริ่มทานอาหารเสริมแล้วก็ยังมีอาการแหวะนมให้เห็นอยู่บ่อย ๆ วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันในเรื่องของสาเหตุการป้องกัน รวมไปถึงวิธีสังเกตอาเจียนที่ผิดปกติของลูกน้อยกันค่ะ

ลูกแหวะนม

เนื่องจากเด็กทารกแรกเกิด อวัยวะภายในต่าง ๆ ยังทำงานได้ไม่แข็งแรงนัก โดยเฉพาะในเรื่องของการแหวะนม ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก…

  1. การทำงานของ “หูรูดกระเพาะอาหาร” ที่เปิดออกในบางจังหวะ จึงทำให้มีนมที่เพิ่งทานเข้าไปไหลย้อนกลับออกมาทางหลอดอาหาร
  2. ไม่ได้จับให้ลูกเรอเพราะถ้าหากลูกน้อยได้เรอแล้ว เขาจะสบายตัว ที่สำคัญจะไม่มีลมไปดันนมให้ไหลย้อนออกมา ข้อนี้บางบ้านมีเทคนิค คือ เมื่อลูกน้อยทานไปแล้วครึ่งหนึ่ง ก็จับให้เรอก่อนหนึ่งครั้ง แล้วค่อยทานต่อจนหมด หรือจะทานนมให้หมดก่อนแล้วค่อยจับเรอก็ได้ แล้วแต่สะดวก

ลูกอาเจียน

ลูกน้อยอาเจียนพุ่งออกมาอย่างแรงเหมือนน้ำพุ (บางรายอาจมีออกมาทางรูจมูกร่วมด้วย)คุณแม่โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ไม่ต้องตกใจนะคะ ให้ตั้งสติ และมาดูกันค่ะว่าสาเหตุส่วนใหญ่มีอะไรบ้าง

หูรูดกระเพาะอาหารของทารกไม่แข็งแรง

ซึ่งหูรูดนี้เป็นส่วนที่ต่อกับกระเพาะอาหาร ดังนั้น หลังดื่มนมหากมีอะไรไปกดทับบริเวณช่องท้อง อาจส่งผลให้ทารกอาเจียนได้

ลูกน้อยเอามือเข้าปาก

ด้วยความที่ทารกยังไม่สามารถควบคุมทิศทางของกล้ามเนื้อได้ไม่ว่าจะเป็นมัดเล็กหรือมัดใหญ่ เวลาที่ยกมือเข้าปากแล้ว ทำให้นิ้วไปโดนที่โคนลิ้น ทำให้อาเจียนได้เช่นกันค่ะ

ให้ลูกทานนมมากเกินไป

ลองมาใช้วิธีคำนวณปริมาณนมคร่าวๆ ที่จะให้ลูกในแต่ละมื้อดูนะคะโดยคำนวณจากนมที่ใส่ในขวด คือ ประมาณ20-25 มิลลิลิตร ต่อ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เช่น ถ้าลูกน้อยมีน้ำหนักตัวอยู่ที่3 กิโลกรัม ปริมาณนมในแต่ละมื้อที่จะให้ลูกทานควรอยู่ที่ประมาณ60-65 มิลลิลิตรแต่ไม่ว่าลูกน้อยจะทานนมน้อยไปหรือมากไป คุณแม่ก็ไม่ต้องกังวลหรือเครียดไปนะคะ คอยสังเกตพฤติกรรมของลูกน้อยและปรับเปลี่ยนเอาตามความเหมาะสมค่ะ

กลับกัน จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกทานพอมั้ย? หรือให้น้อยไปมั้ย?
ง่ายๆ ค่ะ เพียงคุณแม่สังเกตดูว่า หากนมหมดขวดแล้วแต่ลูกน้อยยังคงดูดขวดเปล่าอยู่ ลืมตากว้างหรือร้องไห้ เพื่อต้องการจะฟ้องว่าไม่อิ่ม มื้อถัดไปค่อยเพิ่มปริมาณนมทีละ 5-10 มิลลิลิตร

ลูกน้อยร้องไห้ เป็นให้นมทุกครั้ง

การให้นมลูกน้อยควรห่างกันประมาณ 2-3 ชั่วโมง ไม่ควรติดกันทุกชั่วโมง เพราะนมในกระเพาะทารกยังคงมีอยู่ ซึ่งข้อนี้อาจควบคุมได้ยากหน่อย หากบ้านไหนมีพี่เลี้ยงที่ไม่เข้าใจธรรมชาติของทารก ยึดหลัก “ร้องปุ๊บ กินนมปั๊บ” ก็อาจทำให้ทารกไม่สบายตัวและอาเจียนได้

ลูกอาเจียนจากอาหารเป็นพิษ

อีกหนึ่งสาเหตุใหญ่ที่ทำให้ลูกอาเจียนได้ก็คือ อาหารเป็นพิษ โดยทั่วไปแล้วอาหารเป็นพิษมักจะเกิดขึ้นภายใน 30 นาที – 24 ชั่วโมง หลังจากได้รับอาหารเข้าไป อาการทั่วไปที่เกิดขึ้น เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และตะคริว ท้องร่วง ปวดหัว และมีไข้ ซึ่งอาการจะรุนแรงในเด็กเล็กมากกว่าเด็กโต

อาการท้องเสียมักเกิดขึ้นภายใน 30 นาที – 24 ชั่วโมง หลังจากรับอาหารเข้าไป อาการโดยทั่วไป เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และตะคริว ท้องร่วง ปวดหัว และมีไข้

โดยปกติอาการมักจะเกิดขึ้น 30 นาทีถึง 24 ชั่วโมงหลังจากกินอาหารนั้นเข้าไป
ข้อมูลจาก : thaichildcare.com

ลูกอาเจียนแบบไหนผิดปกติ

หากลูกน้อยมีอาการดังต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์ทันที

  1. อาเจียนที่มีสีเขียวปนเหลือง ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นภาวะลำไส้อุดตัน ควรพาไปพบแพทย์โดยด่วน
  2. อาเจียนอย่างแรง (ออกทั้งทางจมูกด้วย) หลังจากที่ไอมาก ๆ ในช่วง 2-3 วันแรก อาจมีภาวะไอกรน ควรไปปรึกษาแพทย์ทันที
  3. มีทั้งอาเจียนและท้องเสียร่วมด้วย ให้คุณแม่สันนิษฐานเอาไว้ก่อนว่าอาจมีสิ่งผิดปกติ หรืออาจเกิดการอักเสบในกระเพาะอาหารหรือลำไส้
  4. อาเจียนและมีอาการซึม ทั้ง ๆ ที่หัวไม่ได้ถูกกระทบกระเทือนอะไร ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเช่นกันค่ะว่าอาจเป็นไข้สมองอักเสบได้

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ เมื่อรู้ถึงสาเหตุและวิธีป้องกันแล้ว คุณแม่ก็อย่าลืมสังเกตอาการอาเจียนที่ผิดปกติของลูกน้อยกันด้วยนะคะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีเรื่องของอาหารเป็นพิษเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งมีอาหารอะไรบ้างที่ควรระวังก่อนให้ลูกน้อยกิน สามารถอ่านได้ในบทความนี้ค่ะ


หน้าร้อนทำให้เด็กมีอาการอาหารเป็นพิษได้ง่าย อยากรู้ไหมว่ามาจากเมนูอาหารอะไรบ้าง? เป็นเมนูที่แม่ ๆ อาจคิดไม่ถึงกับ 10 เมนูอาหารที่ควรเลี่ยง คลิกอ่านรายละเอียดได้ที่นี่เลยค่ะ