“ลูกผอมไปมั้ย?” ประโยคคลาสสิกที่เชื่อว่าคุณแม่หลายท่านเคยเจอจริงอยู่เวลาเจอเด็กที่อ้วนจ้ำม่ำก็จะน่ารัก น่ากอด น่าเข้าไปหยิกแก้มเป็นธรรมดา แต่แท้จริงแล้ว คุณแม่รู้หรือไม่ว่านั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนว่าลูกน้อยอาจเป็น “โรคอ้วนในเด็ก” หรือหากยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมซะตั้งแต่ตอนนี้ อาจเป็นจุดกำเนิดของโรคร้ายที่จะตามมาในอนาคตก็ได้นะคะ
วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกับ “โรคอ้วนในเด็ก” กันค่ะ ไปดูกันซิว่าจะร้ายแรงแค่ไหน
สารบัญ
แบบไหนที่เรียกว่าเข้าข่ายเป็นโรคอ้วนในเด็ก?
โรคอ้วนในเด็ก คือ เด็กที่มีน้ำหนักตัว และปริมาณไขมันมากกว่าปกติ เมื่อเทียบกับน้ำหนัก และความสูงในระดับมาตรฐานของช่วงอายุเดียวกันโดยดูได้จากหากเด็กมีน้ำหนักเกินกว่าร้อยละ 20 ถือว่าเป็นโรคอ้วนในเด็กค่ะ
การเป็นโรคอ้วน ไม่ได้หมายความแค่ว่า เป็นโรคอ้วนอย่างเดียวแล้วจบนะคะ แต่โรคอ้วนนั้นเปรียบเสมือนประตูบานใหญ่ที่คอยเปิดรับโรคอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย อาทิ ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ความผิดปกติของกระดูกและข้อ โรคผิวหนัง โรคนอนกรนและอาจหยุดหายใจขณะหลับ ตับและถุงน้ำดีอักเสบเป็นต้น อย่าเพิ่งตกใจค่ะ นี่แค่บางส่วนนะคะ
น้ำหนักและส่วนสูงมาตรฐานของเด็กวัยแรกเกิด – 5 ปี
น้ำหนักตัวตามเกณฑ์ของเด็ก
ปกติแล้วน้ำหนักของทารกจะอยู่ที่ 2.5 – 4.5 กิโลกรัม ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3 กิโลกรัมโดยประมาณ พอเริ่มโตขึ้นมาในช่วง 2 – 3 ปีแรก น้ำหนักของเด็กจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเมื่ออายุเข้า 4 – 7 ปี น้ำหนักตัวจะเพิ่มช้าลงจนเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น น้ำหนักของเด็กก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอีกครั้ง
ส่วนสูงตามเกณฑ์ของเด็ก
ความสูงโดยทั่วไปของทารกแรกเกิดจะอยู่ที่ 50 เซนติเมตร โดยประมาณ
- วัยแรกเกิด – 6 เดือน : เด็กชายควรสูงขึ้นอย่างน้อย 17 ซม. เด็กหญิงควรสูงขึ้นอย่างน้อย 16 ซม.
- วัย 6 – 12 เดือน : ทั้งเด็กชายและเด็กหญิง ควรสูงขึ้นอย่างน้อย 8 ซม.
- วัย 1 – 2 ปี : เด็กชายควรสูงขึ้นอย่างน้อย 10 ซม. เด็กหญิงควรสูงขึ้นอย่างน้อย 11 ซม.
- วัย 2 – 5 ปี : ทั้งเด็กชายและเด็กหญิงควรสูงขึ้น 6 – 8 ซม. โดยประมาณ
- วัย 5 ปี ขึ้นไป – วัยรุ่น : ทั้งเด็กชายและเด็กหญิงถ้าสูงน้อยกว่า 5 ซม.ต่อปี ถือว่าต่ำกว่าเกณฑ์ คุณพ่อคุณแม่ควรหาสาเหตุและแก้ไข
อายุ | เพศชาย | เพศหญิง | |||
---|---|---|---|---|---|
ปี | เดือน | น้ําหนัก (นน.) | ส่วนสูง (ซม.) | น้ําหนัก (นน.) | ส่วนสูง (ชม.) |
– | 0 | 2.8-3.9 | 47.6-53.1 | 2.7-3.7 | 46.8-52.9 |
– | 1 | 3.4-4.7 | 50.4-56.2 | 3.3-4.4 | 49.4-56.0 |
– | 2 | 4.2-5.5 | 53.2-59.1 | 3.8-5.2 | 52.0-59.0 |
– | 3 | 4.8-6.4 | 55.7-61.9 | 4.4-6.0 | 54.4-61.8 |
– | 4 | 5.3-7.1 | 58.1-64.6 | 4.9-6.7 | 56.8-64.5 |
– | 5 | 5.8-7.8 | 60.4-67.1 | 5.3-7.3 | 58.9-66.9 |
– | 6 | 6.3-8.4 | 62.4-69.2 | 5.8-7.9 | 60.9-69.1 |
– | 7 | 6.8-9.0 | 64.2-71.3 | 6.2-8.5 | 62.6-71.1 |
– | 8 | 7.2-9.5 | 65.9-73.2 | 6.6-9.0 | 64.2-72.8 |
– | 9 | 7.6-9.9 | 67.4-75.0 | 6.9-9.3 | 65.5-74.5 |
– | 10 | 7.9-10.3 | 68.9-76.7 | 7.2-9.8 | 66.7-76.1 |
– | 11 | 8.1-10.6 | 70.2-78.2 | 7.5-10.2 | 67.7-77.6 |
1 | – | 8.3-11.0 | 71.5-79.7 | 7.7-10.5 | 68.8-78.9 |
2 | – | 10.5-14.4 | 82.5-91.5 | 9.7-13.7 | 80.8-89.9 |
3 | – | 12.1-17.2 | 89.4-100.8 | 11.5-16.5 | 88.1-99.2 |
4 | – | 13.6-19.9 | 95.5-108.2 | 13.0-19.2 | 95.0-106.9 |
5 | – | 15.0-22.6 | 102.0-115.1 | 14.4-21.7 | 101.1-113.9 |
ข้อมูลอ้างอิง : th.theasianparent.com
ข้อเสียของการเป็นโรคอ้วน
ความอ้วนในเด็กหากปล่อยไว้นานจนอายุเกิน 6-7 ปี อาจเป็นอะไรทีแก้ยากเรามาไล่เรียงกันทีละข้อดีกว่าค่ะว่ามีอะไรบ้าง
- เคลื่อนไหวตัวลำบาก ขาดความคล่องตัว หากเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้มจะทำให้เจ็บมากกว่าเพื่อน
- กระดูกและข้อต่อเสื่อมาไวก่อนเวลาอันควร
- เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานเพราะเมื่อร่างกายไม่ตอบสนองกับอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ส่งผลให้เด็กมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและเป็นเบาหวานในที่สุด นอกจากนี้อาจมีภาวะแทรกซ้อนที่ตา ไต ระบบประสาท และหัวใจ
- ไขมันในเลือดจะสูง เหตุเพราะการทานของมัน ของทอด เช่น มันฝรั่งทอด ไก่ทอด และหมูสามชั้น เป็นต้น
- อาจมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ส่งผลให้เป็นความดันโลหิตสูงได้
- เป็นโรคนอนกรน เด็กที่อ้วนบางรายอาจมีภาวะอุดกั้น เนื่องจากกล้ามเนื้อทางเดินหายใจหย่อน ทำให้หายใจไม่สะดวก ออกซิเจนในเลือดน้อยลงขณะหลับ ในรายที่รุนแรงอาจมีภาวะหัวใจโตร่วมด้วย
- มีไขมันสะสมในตับ เสี่ยงเป็นโรคตับ
- ส่งผลต่อจิตใจ โดยเฉพาะการเข้าสังคม ถูกเพื่อนล้อ จิตใจหดหู่ ไม่อยากไปโรงเรียน
สาเหตุโรคอ้วนในเด็ก
พันธุกรรม
หากคุณพ่อคุณแม่มีน้ำหนักตัวมาก ลูกจะมีโอกาสอ้วนได้ถึงร้อยละ 80 แต่ถ้าคุณพ่อหรือคุณแม่ (คนใดคนนึง) อ้วน โอกาสที่ลูกจะอ้วนก็จะลดลงเหลือร้อยละ 40 แต่ถ้าผอมทั้งคุณพ่อคุณแม่ ลูกจะมีโอกาสอ้วนได้ร้อยละ 14
ครอบครัว
ครอบครัวมีพฤติกรรมการทานอาหารเช่นไร เด็กก็จะได้รับพฤติกรรมการทานอาหารเช่นนั้นมา เพราะนอกจากที่คุณพ่อคุณแม่จะทานในแบบฉบับของตัวเองแล้ว ก็ยังจัดหาให้ลูกทานแบบเดียวกันไปด้วย หากคุณพ่อคุณแม่อ้วน ส่วนใหญ่ลูกก็จะอ้วนไปด้วย
พฤติกรรมการทานอาหารที่ไม่เหมาะสม
การทานขนมจุบจิบ การทานอาหารในปริมาณมาก และบ่อย แถมยังเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง อาทิ ไก่ชุบแป้งทอด ไอศกรีม น้ำอัดลม ขนมหวาน ลูกอมหรือแม้แต่ผลไม้ที่มีแป้ง และน้ำตาลสูง เป็นต้น
การออกกำลังกาย
เป็นเพราะเด็กใช้พลังงานน้อยลง โดยเฉพาะในวันหยุดหรือช่วงเย็นที่กลับจากโรงเรียน พบว่าส่วนใหญ่หลังทานอาหารเสร็จ เด็กๆ ก็มักจะใช้เวลาอยู่กับหน้าจอ (ทีวี, มือถือ หรือแทบเล็ต) มากเกินความจำเป็น คือ อย่างน้อย 2-3 ชั่วโมงต่อวัน จึงทำให้ไม่เหลือเวลาที่จะออกกำลังกายหรือไม่มีเวลาที่จะได้ใช้พลังงานเลย
สิ่งแวดล้อม
ปัจจัยที่ทำให้มีผลต่อน้ำหนักตัว อาทิ น้ำหนักเด็กทารกแรกคลอดที่มากอยู่แล้ว หรือแม้แต่อายุที่เริ่มให้อาหารผสม เป็นต้น
การป้องกันโรคอ้วนในเด็ก
- ควบคุมอาหาร โดยเฉพาะในเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไป ไม่ให้กินขนมมากเกินควร
- เพิ่มการออกกำลังกาย พาเด็กๆ ออกไปเดินหรือวิ่งเล่น ช่วยงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ หรือทำกิจกรรมรอบบ้าน อาทิ ช่วยกันลงดิน ปลูกต้นไม้ก็ได้ค่ะ
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
- ทานให้เป็นเวลา ในปริมาณที่พอเหมาะ
- ควบคุมปัจจัยที่เอื้อต่อการทานอาหาร เช่น ทานข้าวไป ดูทีวีไป ไม่ซื้อขนมเก็บไว้ในบ้านมากๆ การปล่อยให้เด็กทาข้าวคนเดียว โดยที่ไม่ควบคุมเวลา เป็นต้น
- การให้รางวัลหรือหารชมเชยตามสมควร เมื่อลูกสามารถควบคุมพฤติกรรมการทานอาหารหรือขนมได้
จะเห็นได้ว่าโรคอ้วนในเด็กอันตรายกว่าที่คิดนะคะ เพราะส่งผลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจของเด็กเลยทีเดียว เป็นจุดกำเนิดหลายโรค เมื่อทราบอย่างนี้แล้วอย่าปล่อยให้ลูกเป็นเด็กแก้มยุ้ยแบบมีโรคนะคะ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมซะตั้งแต่วันนี้ดีกว่า เป็นกำลังใจนะคะ
หากครอบครัวไหนกำลังเผชิญปัญหาลูกอ้วน ลูกน้ำหนักเกินอยู่แล้วอยากให้ลูกลดน้ำหนัก สามารถติดตามอ่านเพิ่มได้จากบทความนี้ค่ะ