Site icon คุณแม่ลูกอ่อน

อาหารที่ทารก – 2 ขวบไม่ควรกิน

อาหารที่ทารก – 2 ขวบไม่ควรกิน

เด็กเล็กที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป สามารถทานอาหารเสริมได้ เด็ก ๆ มักจะตื่นเต้นกับรสชาติอาหารใหม่ ๆ ที่นอกเหนือจากการทานนมมากว่า 6 เดือน แต่…การที่ลูกทานอาหารเสริมได้นั้น ไม่ได้แปลว่าจะทานอะไรก็ได้นะคะ คุณแม่มือใหม่หลายท่านอาจจะยังเก้ ๆ กัง ๆ เริ่มต้นไม่ถูกว่าจะเอาอะไรก่อนดี และอาจจะยังไม่รู้ว่าอะไรที่ลูกทานไม่ได้บ้าง เอาเป็นว่าวันนี้แม่โน้ตมีข้อมูลมาฝากเกี่ยวกับอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงหากลูกน้อยอายุยังไม่ถึง 2 ขวบมาฝากค่ะ

รสเค็มจัดหรือผสมเกลือ

เด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ขวบ ยังไม่ควรใช้เกลือในการปรุงอาหาร เพราะร่างกายกำลังเติบโต ไตกำลังพัฒนา และไตยังไม่พร้อมที่จะกรองอาหารที่มีรสเค็มจัด

คุณแม่บางท่านบอกว่ากลัวลูกจะขาดไอโอดีน แนะนำว่าถ้าต้องการปรุงด้วยเกลือจริงๆ รอให้ลูกอายุมากกว่า 1 ขวบก่อนจะดีกว่าค่ะ ซึ่งสมัยนี้เค้ามีการผลิตเกลือเสริมไอโอดีน สูตรลดโซเดียม60%อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคุณแม่ค่ะ

รสหวานจัดหรือผสมน้ำตาล

สำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ร่างกายของเค้ายังไม่ต้องการความหวานที่มากมายเลยค่ะ แต่หากลูกได้รับความหวานมากเกินไป จะส่งผลเสียต่อร่างกายทำให้เกิดโรคอ้วน ฟันผุ ทำให้ลูกขาดความมั่นใจเวลาเข้าสังคมกับเพื่อนๆ อีกต่างหาก

หากคุณแม่ต้องการความหวานในการปรุงอาหารให้ลูกแล้วล่ะก็ แนะนำให้คุณแม่เลือกใช้ผักในการปรุงอาหารที่มีความหวานในตัว ซึ่งเป็นความหวานจากธรรมชาติจะดีกว่าค่ะ แถมลูกน้อยจะได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างที่คุณแม่ต้องการอีกด้วย

น้ำผึ้ง

น้ำผึ้งไม่ใช่แค่น้ำตาลที่มีรสหวานเท่านั้น แต่น้ำผึ้งยังเป็นสารให้ความหวานอีกด้วย ดังนั้น เด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ขวบจึงไม่ควรทานน้ำผึ้ง เพราะในน้ำผึ้งอาจมีเชื้อแบคทีเรีย คลอสตริเดียมโบทูลินัม(Clostridium Botulinum) ซึ่งเป็นพิษต่อลำไส้ของเด็กได้ ทำให้ท้องผูก เบื่ออาหาร ซึมเศร้า ในบางรายที่มีอาการรุนแรง อาจถึงขั้นปอดบวมหรืออาจตกอยู่ในภาวะร่างกายขาดน้ำได้


ทารกเสียชีวิตจากการกินน้ำผึ้ง! เพราะอะไร? เพราะคุณพ่อคุณแม่มักจะเลือกสรรสิ่งที่ดีให้ลูกน้อยเสมอ อะไรที่ว่าดีก็อยากให้ลูกได้กินเพื่อเป็นการบำรุง “น้ำผึ้ง” เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดี ที่นับว่ามีประโยชน์มากมายเลยทีเดียว

เจลลี่ และ องุ่น

คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีลักษณะเม็ดเล็กกลม ลื่น และแข็ง อาหารจำพวกนี้จะเป็นอันตรายต่อเด็กมาก เพราะหากลูกทานเข้าไปอาจลื่นไปตกอยู่ที่หลอดลม ทำให้หายใจไม่สะดวก หากรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

อาหารที่ไม่สุก หรือกึ่งสุกกึ่งดิบ

  • เนื้อปลา : แม้ว่าเนื้อปลาจะมีประโยชน์ต่อเด็กมากมาย แต่ก็มีโทษเช่นกัน เพราะในเนื้อปลาส่วนใหญ่จะมีสารปรอทอยู่ หากคุณแม่ไม่นำมาปรุงให้สุกซะก่อน สารพิษนั้นก็ยังคงอยู่ในเนื้อปลา เมื่อสะสมในร่างกายเรื่อยๆ จะส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสมองและระบบประสาทของเด็ก ทางที่ดี เด็กๆ เล็กควรได้ทานเนื้อปลาที่สุกเท่านั้นนะคะ
  • หอย : ซึ่งในหอยดิบนี้อาจจะมีเชื้อแบคทีเรียหากเด็กทานเข้าไปอาจทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ ส่งผลให้ปวดท้อง ท้องเสียอย่างรุนแรง บางรายอาจถึงขั้นอาเจียนได้
  • ไข่ : เพราะลูกควรที่ได้ทานไข่ทุกวัน เพราะไข่จะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและสมองให้มีพัฒนาการที่ดีสมวัย ควรปรุงให้ไข่สุกทั่วกันทั้งฟอง เพราะในไข่จะมีเชื้อแบคทีเรียซานโมเนลาที่ส่งผลให้อาหารเป็นพิษ เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรงได้

ถั่วลิสง

บางรายมีอาการแพ้ถั่วลิสง บางรายแพ้น้อย บางรายแพ้มาก ซึ่งในปัจจุบันพบว่ามีเด็กที่แพ้ถั่วลิสงเพิ่มมากขึ้น 20% และมักจะมีอาการแพ้ไปตลอดชีวิต ถึงแม้ว่าบางรายจะแพ้น้อยแต่ก็ยังมีความไว และยังคงมีความรุนแรงของการแพ้อยู่ ซึ่งหากมีอาการแพ้มากขึ้น อาจทำให้ถึงขึ้นช็อคได้ในบางกรณี โดยถั่วลิสงสามารถพบได้ในหลายเมนู อาทิ เนยถั่ว ขนมหวานบางชนิด ลูกกวาด และช็อกโกแลตบางชนิด

ถั่วเปลือกแข็ง

เป็นถั่วที่เจริญเติบโตอยู่บนดิน เช่น วอลนัท (Walnut) อัลมอนด์ (Almond) มะม่วงหิมพานต์ (Cashew Nut) ถั่วบราซิล (Brazil Nut) ฮาเซลนัท (Hazelnut) และพิสตาสิโอ (Pistachio) เป็นต้น เด็กเล็กที่แพ้ถั่วในกลุ่มนี้ มักจะหายได้เองเมื่อโตขึ้น จะมีบ้างก็ประมาณ 20% ที่ยังคงมีอาการแพ้อยู่ นอกจากอาการเสี่ยงแพ้แล้ว การให้เด็กเล็กทานถั่ว ควรระวังนะคะ เพราะอาจทำให้ถั่วติดคอได้ค่ะ

ถั่วเหลือง

ข้อนี้มักเป็นตัวเลือกลำดับต้น ๆ สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มี่ลูกน้อยแพ้นมวัวจึงให้ลูกมาดื่มนมถั่วเหลืองแทน แต่ก็มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งระบุว่า เด็กเล็กที่แพ้นมวัวส่วนหนึ่งก็สามารถแพ้นมถั่วเหลืองได้เช่นกัน และไม่ใช่แค่นมถั่วเหลืองเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ทำจากถั่วเหลืองด้วย เช่น เต้าหู้ และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่มีถั่วเหลืองเป็นส่วนผสม

ข้าวสาลี

ในข้าวสาลีมีโปรตีนหลากหลายชนิดที่อาจไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในเด็กที่แพ้ข้าวสีได้ และยังรวมถึงอาหารที่ส่วนผสมของข้าวสาลี เช่น แป้ง จมูกข้าวสาลี รำ สตาร์ชจากข้าว สาร์ชดัดแปลง แป้งชนิดหยาบ และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากธัญพืช เป็นต้นค่ะ

ที่แม่โน้ตกล่าวมาทั้งหมดเป็นจำพวกอาหารและผลิตภัณฑ์ที่อาจทำให้ลูกน้อยแพ้ แล้วกลุ่มของขนมอย่างช็อกโกแลตล่ะ? “ทารกกินช็อกโกแลตได้ไหม? ประโยชน์ของช็อคโกแลต” เพื่อความมั่นใจของคุณพ่อคุณแม่และความปลอดภัยของลูกน้อย ไปไขข้อข้องใจกันได้จากบทความนี้นะคะ


ลูกอายุขวบกว่า เห็นแม่กินช็อกโกแลตก็อยากกินบ้าง จะให้กินได้ไหม? ได้หรือไม่ได้ ไปติดตามได้จากบทความนี้ค่ะ คลิกที่นี่