Site icon คุณแม่ลูกอ่อน

พ่อแม่ที่กำหนดชีวิตลูก กดดันลูกมากไป ระวังต้องพาลูกพบจิตแพทย์

พ่อแม่ที่กำหนดชีวิตลูก กดดันลูกมากไป ระวังต้องพาลูกพบจิตแพทย์

ปัจจุบันในประเทศไทยพบว่ามีผู้ป่วยที่เป็นโรคจิตเวชในเด็กและวันรุ่นเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่จะไม่มีความเข้าใจในโรคนี้และผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ซึ่งจากสถิติมีเพียง 10% เท่านั้นที่เข้ารับการรักษา สาเหตุส่วนใหญ่มาจาก “การเลี้ยงดูที่ถูกกดดันจากคุณพ่อคุณแม่

พ.ญ.วิมลรัตน์ วันเพ็ญ รองผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ ทราบว่า ในปัจจุบันมีผู้ป่วยที่เป็นโรคจิตรเวชในเด็กและวัยรุ่นเป็นจำนวนมากแต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่เข้าใจและไม่ได้รับการรักษาและสถิติผู้ป่วยที่ได้รับการรักษามีเพียง 10 % เท่านั้นและถือว่าน้อยมาก
ข้อมูลอ้างอิง khaosod.co.th

สาเหตุที่ทำให้ลูกมีอาการทางจิตเวช

โรคทางจิตเวชในเด็กและวัยรุ่น เป็นกลุ่มโรคที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยได้ตั้งแต่วัยทารก วัยเด็ก หรือวัยรุ่น ส่วนใหญ่พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับพัฒนาการด้านสังคม ซึ่งเด็กแต่ละคนมีสาเหตุในการเกิดโรคที่ต่างกัน และสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงทุกวัย และที่น่าสนใจคือมักเกิดในเด็กที่มีสมาธิสั้น

วิธีสังเกตว่าลูกเป็นโรคสมาธิสั้นหรือเปล่า? เด็กที่สมาธิสั้นจะมีลักษณะดังนี้

  • วอกแวก ไม่มีสมาธิที่จะจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน ๆ
  • อยู่ไม่นิ่ง ต้องมีการเคลื่อนไหวตลอด จนบางครั้งดูจะมากเกินไป ชอบยุกยิก
  • ใจร้อน หุนหันพลันแล่น อยากทำอะไรก็ทำเลย ไม่ค่อยได้คิด
  • ไม่สามารถทำงานตามที่สั่งได้ ทำงานได้ไม่ครอบตามที่สั่ง ใจลอย ไม่ฟัง มีอาการเหม่อบ่อย ๆ
  • มักเกิดคู่กับโรคอื่นด้วย เช่น โรคเกเร โรคดื้อ โรคบกพร่องทางการเรียน โรควิตกกังวล และโรคซึมเศร้า

ต้องยอมรับว่าเมื่อเด็กเข้าสู่ระบบการศึกษาแล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็จะเกิดความกังวัลในหลาย ๆ ประเด็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการสอบแข่งขัน การสอบเข้าในโรงเรียนที่มีชื่อเสียง เมื่อคุณพ่อคุณแม่เครียด ก็ส่งต่อความเครียดและความกดดันนี้ให้ลูก การคาดหวังในตัวลูกไม่ใช่เรื่องผิด แต่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้จักการปล่อยวางให้เป็นค่ะ เพราะอย่าลืมว่าลำพังลูกเองก็เครียดพออยู่แล้ว ยิ่งถ้าต้องมาแบกรับความคาดหวัง ความกดดันของคุณพ่อคุณแม่อีก และที่สำคัญ อย่าลืมนะคะว่าลูกเค้าก็มีหัวใจ มีความคิด เหล่านี้เองที่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลให้ลูกอาจมีอาการป่วยทางจิตเวชได้

สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกถูกกดดันมากเกินไป

ไม่ชมลูกหรือชมน้อยกว่าติ

บางครอบครัวเน้นที่จะมองแต่ข้อเสียของลูก เพื่อติในทุกครั้งที่ลูกทำ แม้ว่าในบางเรื่องลูกก็ทำดีอยู่แล้วแต่คุณพ่อคุณแม่ไม่เคยมีคำชมให้ลูก เหตุเพราะ “กลัวลูกเหลิง” เน้นแต่จะติเท่านั้น เพียงเพราะต้องการให้ลูกเป็น “คนที่ดีกว่านี้ หรือดีที่สุด”

แต่…คุณพ่อคุณแม่รู้หรือไม่คะว่า การที่ไม่เคยชมลูกเลย มีแต่ติอย่างเดียวสุดท้ายแล้ว จะทำให้ลูกกลายเป็นเด็กที่ไม่เห็นคุณค่าตัวเอง ไม่รักตัวเอง คิดว่าตัวเองไม่มีความสามารถ และสุดท้ายจะกลายเป็นโรคซึมเศร้าในที่สุดค่ะ

การชมลูก ทำได้นะคะ เพียงแต่ “ชมตามสมควร” แบบนี้จะเป็นสร้าง Self-esteem (การเห็นคุณค่าในตัวเอง) ได้ค่ะ

จัดการทุกอย่างให้ลูก

ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการกิน การนอน การอ่านหนังสือ การเรียน หรือแม้แต่การเล่น คุณพ่อคุณแม่ที่ทำแบบนี้จะอ้างคำนี้คำเดียวค่ะ “ความหวังดี” เข้าใจค่ะ เพราะโน้ตก็มีลูกเหมือนกัน เพียงเพราะคุณพ่อคุณแม่ต้องการให้ลูกทำทุกอย่างออกมาดีที่สุด ไม่อยากเห็นลูกต้องเผชิญกับความผิดหวัง

แต่…”ความผิดหวัง” จะเป็นวัคซีนให้ลูกได้เรียนรู้ที่จะเติบโต และใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขนะคะ อย่าลืมนะคะ คุณพ่อคุณแม่…เราไม่ได้มีอายุถึง 200 ปี น้า

ให้ทางเลือกแค่ 2 ทาง

“ถ้าหนูสอบเข้าห้อง King ไม่ได้ก็ขอให้เข้าได้ในสายวิทย์ของโรงเรียนนี้ก็แล้วกัน”

ฟังดูว่าให้ทางเลือกก็จริง แต่ก็ยังเป็นอะไรที่กดดันลูกอยู่ดี และที่สำคัญเป็นการบ่มเพาะในความคิดลูกว่า “ถ้าหนูทำสิ่งนั้นได้ มันจะเป็นเหตุการณ์ที่เปลี่ยนชีวิตของหนูไปตลอดกาล” ซึ่งความเป็นจริงแล้ว เส้นทางชีวิตไม่ได้แคบขนาดนั้น

เปรียบเทียบลูก

การเปรียบเทียบนี้ไม่ใช่แค่กับลูกคนอื่น แต่ยังหมายรวมถึงเปรียบเทียบพี่น้องด้วยกันเอง

“ดูพี่แกซิ ทำไมไม่เห็นดีได้ครึ่งของพี่เค้าเลย”

คำพูดนี้แทนที่จะส่งแรกบวกให้ลูกฮึด กลับกลายเป็นสร้างปมด้อย สร้างแผลในใจให้ลูกได้อีก แบบนี้ไม่ใช่การเลี้ยงลูกเชิงบวกแน่นอนค่ะ

คุณพ่อคุณแม่ขี้โมโห

แล้วเกี่ยวอะไรกับการกดดันลูก? เกี่ยวโดยตรงเลยล่ะค่ะ เพราะการที่คุณพ่อคุณแม่โมโหเวลาที่ลูกทำอะไรไม่ได้อย่างที่ตั้งเป้าไว้ คุณพ่อคุณแม่ก็จะดุด่าลูกต่าง ๆ นานา นั่นแสดงว่านอกจากที่คุณพ่อคุณแม่จะกดดันเองแล้วไม่พอ ยังส่งต่อความรู้สึกกดดันนี้ไปให้ลูกแบบเต็ม ๆ อีกด้วยค่ะ

วิธีสังเกตว่าลูกมีอาการทางจิตเวชหรือไม่

  1. ประสาทหลอนหรือเข้าใจผิด เช่น มีอาการหูแว่วคิดว่ามีคนตามมาจะมาทำร้าย เป็นต้น
  2. มีบุคลิกภาพเปลี่ยนไปในทางลบ เช่น จากเด็กที่ร่าเริงก็กลายเป็นเด็กซึมเศร้า เคยเป็นเด็กสุภาพก็กลายเป็นเด็กก้าวร้าว เป็นต้น

คุณพ่อคุณแม่ลองนั่ง ๆ นิ่ง ๆ แล้วทบทวนพฤติกรรมที่ผ่านมาแบบตรงไปตรงมาดูนะคะ ว่ามีเผลอกดดันลูกอะไรไปบ้างหรือเปล่า ถ้าอยากเห็นรอบยิ้มลูกในทุกวัน ลองปล่อยให้ลูกได้ทำอะไรเอง เรียนรู้ที่แก้ปัญหาด้วยตัวเองก่อน แล้วรอยยิ้มของคุณพ่อคุณแม่จะกว้างกว่าเดิมค่ะ