พ่อแม่ที่กำหนดชีวิตลูก กดดันลูกมากไป ระวังต้องพาลูกพบจิตแพทย์

การเลี้ยงลูกวัย 1-3 ขวบ
JESSIE MUM

ปัจจุบันในประเทศไทยพบว่ามีผู้ป่วยที่เป็นโรคจิตเวชในเด็กและวันรุ่นเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่จะไม่มีความเข้าใจในโรคนี้และผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ซึ่งจากสถิติมีเพียง 10% เท่านั้นที่เข้ารับการรักษา สาเหตุส่วนใหญ่มาจาก “การเลี้ยงดูที่ถูกกดดันจากคุณพ่อคุณแม่

พ.ญ.วิมลรัตน์ วันเพ็ญ รองผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ ทราบว่า ในปัจจุบันมีผู้ป่วยที่เป็นโรคจิตรเวชในเด็กและวัยรุ่นเป็นจำนวนมากแต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่เข้าใจและไม่ได้รับการรักษาและสถิติผู้ป่วยที่ได้รับการรักษามีเพียง 10 % เท่านั้นและถือว่าน้อยมาก
ข้อมูลอ้างอิง khaosod.co.th

สาเหตุที่ทำให้ลูกมีอาการทางจิตเวช

โรคทางจิตเวชในเด็กและวัยรุ่น เป็นกลุ่มโรคที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยได้ตั้งแต่วัยทารก วัยเด็ก หรือวัยรุ่น ส่วนใหญ่พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับพัฒนาการด้านสังคม ซึ่งเด็กแต่ละคนมีสาเหตุในการเกิดโรคที่ต่างกัน และสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงทุกวัย และที่น่าสนใจคือมักเกิดในเด็กที่มีสมาธิสั้น

วิธีสังเกตว่าลูกเป็นโรคสมาธิสั้นหรือเปล่า? เด็กที่สมาธิสั้นจะมีลักษณะดังนี้

  • วอกแวก ไม่มีสมาธิที่จะจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน ๆ
  • อยู่ไม่นิ่ง ต้องมีการเคลื่อนไหวตลอด จนบางครั้งดูจะมากเกินไป ชอบยุกยิก
  • ใจร้อน หุนหันพลันแล่น อยากทำอะไรก็ทำเลย ไม่ค่อยได้คิด
  • ไม่สามารถทำงานตามที่สั่งได้ ทำงานได้ไม่ครอบตามที่สั่ง ใจลอย ไม่ฟัง มีอาการเหม่อบ่อย ๆ
  • มักเกิดคู่กับโรคอื่นด้วย เช่น โรคเกเร โรคดื้อ โรคบกพร่องทางการเรียน โรควิตกกังวล และโรคซึมเศร้า

ต้องยอมรับว่าเมื่อเด็กเข้าสู่ระบบการศึกษาแล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็จะเกิดความกังวัลในหลาย ๆ ประเด็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการสอบแข่งขัน การสอบเข้าในโรงเรียนที่มีชื่อเสียง เมื่อคุณพ่อคุณแม่เครียด ก็ส่งต่อความเครียดและความกดดันนี้ให้ลูก การคาดหวังในตัวลูกไม่ใช่เรื่องผิด แต่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้จักการปล่อยวางให้เป็นค่ะ เพราะอย่าลืมว่าลำพังลูกเองก็เครียดพออยู่แล้ว ยิ่งถ้าต้องมาแบกรับความคาดหวัง ความกดดันของคุณพ่อคุณแม่อีก และที่สำคัญ อย่าลืมนะคะว่าลูกเค้าก็มีหัวใจ มีความคิด เหล่านี้เองที่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลให้ลูกอาจมีอาการป่วยทางจิตเวชได้

สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกถูกกดดันมากเกินไป

ไม่ชมลูกหรือชมน้อยกว่าติ

บางครอบครัวเน้นที่จะมองแต่ข้อเสียของลูก เพื่อติในทุกครั้งที่ลูกทำ แม้ว่าในบางเรื่องลูกก็ทำดีอยู่แล้วแต่คุณพ่อคุณแม่ไม่เคยมีคำชมให้ลูก เหตุเพราะ “กลัวลูกเหลิง” เน้นแต่จะติเท่านั้น เพียงเพราะต้องการให้ลูกเป็น “คนที่ดีกว่านี้ หรือดีที่สุด”

แต่…คุณพ่อคุณแม่รู้หรือไม่คะว่า การที่ไม่เคยชมลูกเลย มีแต่ติอย่างเดียวสุดท้ายแล้ว จะทำให้ลูกกลายเป็นเด็กที่ไม่เห็นคุณค่าตัวเอง ไม่รักตัวเอง คิดว่าตัวเองไม่มีความสามารถ และสุดท้ายจะกลายเป็นโรคซึมเศร้าในที่สุดค่ะ

แม่โน้ต

การชมลูก ทำได้นะคะ เพียงแต่ “ชมตามสมควร” แบบนี้จะเป็นสร้าง Self-esteem (การเห็นคุณค่าในตัวเอง) ได้ค่ะ

จัดการทุกอย่างให้ลูก

ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการกิน การนอน การอ่านหนังสือ การเรียน หรือแม้แต่การเล่น คุณพ่อคุณแม่ที่ทำแบบนี้จะอ้างคำนี้คำเดียวค่ะ “ความหวังดี” เข้าใจค่ะ เพราะโน้ตก็มีลูกเหมือนกัน เพียงเพราะคุณพ่อคุณแม่ต้องการให้ลูกทำทุกอย่างออกมาดีที่สุด ไม่อยากเห็นลูกต้องเผชิญกับความผิดหวัง

แต่…”ความผิดหวัง” จะเป็นวัคซีนให้ลูกได้เรียนรู้ที่จะเติบโต และใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขนะคะ อย่าลืมนะคะ คุณพ่อคุณแม่…เราไม่ได้มีอายุถึง 200 ปี น้า

ให้ทางเลือกแค่ 2 ทาง

“ถ้าหนูสอบเข้าห้อง King ไม่ได้ก็ขอให้เข้าได้ในสายวิทย์ของโรงเรียนนี้ก็แล้วกัน”

ฟังดูว่าให้ทางเลือกก็จริง แต่ก็ยังเป็นอะไรที่กดดันลูกอยู่ดี และที่สำคัญเป็นการบ่มเพาะในความคิดลูกว่า “ถ้าหนูทำสิ่งนั้นได้ มันจะเป็นเหตุการณ์ที่เปลี่ยนชีวิตของหนูไปตลอดกาล” ซึ่งความเป็นจริงแล้ว เส้นทางชีวิตไม่ได้แคบขนาดนั้น

เปรียบเทียบลูก

การเปรียบเทียบนี้ไม่ใช่แค่กับลูกคนอื่น แต่ยังหมายรวมถึงเปรียบเทียบพี่น้องด้วยกันเอง

“ดูพี่แกซิ ทำไมไม่เห็นดีได้ครึ่งของพี่เค้าเลย”

คำพูดนี้แทนที่จะส่งแรกบวกให้ลูกฮึด กลับกลายเป็นสร้างปมด้อย สร้างแผลในใจให้ลูกได้อีก แบบนี้ไม่ใช่การเลี้ยงลูกเชิงบวกแน่นอนค่ะ

คุณพ่อคุณแม่ขี้โมโห

แล้วเกี่ยวอะไรกับการกดดันลูก? เกี่ยวโดยตรงเลยล่ะค่ะ เพราะการที่คุณพ่อคุณแม่โมโหเวลาที่ลูกทำอะไรไม่ได้อย่างที่ตั้งเป้าไว้ คุณพ่อคุณแม่ก็จะดุด่าลูกต่าง ๆ นานา นั่นแสดงว่านอกจากที่คุณพ่อคุณแม่จะกดดันเองแล้วไม่พอ ยังส่งต่อความรู้สึกกดดันนี้ไปให้ลูกแบบเต็ม ๆ อีกด้วยค่ะ

วิธีสังเกตว่าลูกมีอาการทางจิตเวชหรือไม่

  1. ประสาทหลอนหรือเข้าใจผิด เช่น มีอาการหูแว่วคิดว่ามีคนตามมาจะมาทำร้าย เป็นต้น
  2. มีบุคลิกภาพเปลี่ยนไปในทางลบ เช่น จากเด็กที่ร่าเริงก็กลายเป็นเด็กซึมเศร้า เคยเป็นเด็กสุภาพก็กลายเป็นเด็กก้าวร้าว เป็นต้น

คุณพ่อคุณแม่ลองนั่ง ๆ นิ่ง ๆ แล้วทบทวนพฤติกรรมที่ผ่านมาแบบตรงไปตรงมาดูนะคะ ว่ามีเผลอกดดันลูกอะไรไปบ้างหรือเปล่า ถ้าอยากเห็นรอบยิ้มลูกในทุกวัน ลองปล่อยให้ลูกได้ทำอะไรเอง เรียนรู้ที่แก้ปัญหาด้วยตัวเองก่อน แล้วรอยยิ้มของคุณพ่อคุณแม่จะกว้างกว่าเดิมค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP