Site icon คุณแม่ลูกอ่อน

9 สิ่งที่ลูกมักกลัว พร้อมวิธีรับมือที่พ่อแม่ควรรู้

9 สิ่งที่ลูกมักกลัว พร้อมวิธีรับมือที่พ่อแม่ควรรู้

เด็กในวัย 3 -5 ปี เป็นวัยอนุบาล เป็นวัยที่อยากเรียนรู้ อยากลอง และเป็นวัยที่มีจินตนาการสูงมาก บางสิ่งบางอย่างที่ลูกได้เจอะเจอมา เขาจะจดจำได้ ซึ่งบางอย่างเป็นเรื่องที่เมื่อได้ยินมาแล้ว เขาจะไปจินตนาการต่อ จึงเป็นการบิ้วท์ตัวเองให้เกิดความกลัว นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุอื่น ๆ อีกค่ะ ที่ทำให้ลูกเกิดความกลัวมากขึ้น จะมีอะไรบ้าง? ไปติดตามกันค่ะ

ความกลัวที่เกิดขึ้นตามช่วงวัย

ในแต่ละวัยของเด็ก ๆ จะมีความกลัวในแต่ละเรื่องที่ต่างกันออกไป ดังนี้

วัยแรกเกิด (ทารก)

เป็นวัยที่ยังไม่คุ้นเคยกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว หรือจะพูดง่าย ๆ ก็คือ ด้วยความที่เด็กเพิ่งจะคลอด ยังต้องการเวลาในการปรับตัว ดังนั้นเด็กในวัยนี้จะกลัวทุกอย่างที่ไม่คุ้นเคย ได้แก่ เสียงของคนอื่นที่ไม่ใช่พ่อแม่ หรือหน้าตาของคนที่ไม่คุ้นเคย

วัย 1-3 ปี

วัยนี้จะเริ่มกลัวความมืด คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรปล่อยให้ลูกอยู่ในห้องคนเดียวมืด ๆ นอกจากนี้ ยัมีในส่วนอื่น ๆ ที่ลูกกลัวอีก เช่น กลัวการเริ่มทำสิ่งใหม่ ๆ ครั้งแรก ๆ เช่น การว่ายน้ำ หรือการปั่นจักรยาน เป็นต้น

วัย 3-5 ปี

วัยแห่งจินตนาการ สิ่งที่ลูกกลัวส่วนใหญ่มักเป็นสิ่งที่เขาคิดว่ามีอยู่จริง ซึ่งบางอย่างลูกมักไปจินตนาการต่อยอดเอง จนทำให้ตัวเองเกิดความกลัว เช่น ผี ปีศาจ แม่มด หรือตัวสัตว์ประหลาดต่าง (Monster)

วัย 6-12 ปี

สิ่งที่เด็ก ๆ จะกลัวในวัยนี้มักเป็นเรื่องจริงสามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน เช่น กลัวสัตว์ที่รักตาย พ่อแม่ไม่รัก กลัวพ่อตี หรือกลัวไฟไหม้บ้าน เป็นต้น

สาเหตุที่ลูกเกิดความกลัว

การที่เด็กเกิดความกลัวต่อสิ่งต่าง ๆ นั้น มักมีสาเหตุ ดังนี้

การขู่

การขู่ หรือการหลอก รวมถึงการทำให้ลูกตกใจกลัวอยู่บ่อย ๆ จะทำให้ลูกเกิดความฝังใจต่อสิ่งนั้น ซึ่งการขู่นอกจากจะทำให้ลูกกลัวในสิ่งนั้นแล้ว ยังส่งผลต่อพัฒนาการของลูกอีกด้วยค่ะ เพราะเด็กจะนำเรื่องที่ผู้ใหญ่พูดนั้นไปจินตนาการต่อ ทำให้ลูกไม่กล้าที่จะเรียนรู้อะไร พัฒนาการจึงถดถอย

คนใกล้ชิดมีความกลัวต่อสิ่งนั้น

คนใกล้ชิด ได้แก่ คุณแม่อาจกลัวจิ้งจก เมื่อลูกได้เห็นทุกครั้งว่าคุณแม่กลัว ลูกจึงกลัวตาม เป็นต้น

ลูกเคยเจอเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนใจมาก่อน

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจนทำให้ลูกกลัวได้นั้น มักเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้ลูกตกใจอย่างรุนแรง จนกระทบกระเทือนต่อจิตใจ เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์ จึงส่งผลให้ลูกเกิดความกลัวต่อการเดินทางโดยรถยนต์ มีความระแวง กลัวว่าจะไม่ปลอดภัย เป็นต้น

ขาดความรัก ความอบอุ่น

ความรัก ความอบอุ่น เป็นพื้นฐานสำคัญของครอบครัว เด็กที่เกิดความกลัวต่อสิ่งต่าง ๆ ส่วนหนึ่งเกิดจากคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้มีเวลาคุณภาพให้ลูก เพื่อการพูดคุย และทำความเข้าใจต่อสิ่งต่าง ๆ จึงทำให้ลูกคิดไปเองว่าสิ่งนั้น ๆ ต้องน่ากลัว และไม่กล้าที่จะเรียนรู้อะไร

9 สิ่งที่ลูกมักกลัว พร้อมวิธีรับมือ

กลัวพ่อแม่ไม่รัก กลัวถูกทิ้ง

ในวัยเด็ก โลกของเขาจะมีแค่คุณพ่อคุณแม่ ปู่ย่า ตายาย และญาติพ่อน้อง ซึ่งหากคุณพ่อคุณแม่เป็นผู้ที่เลี้ยงลูกเอง ก็จะมีความผูกพันกันในครอบครัว เมื่อเด็กทำผิด แล้วถูกคุณพ่อคุณแม่ดุ ก็จะร้องไห้ กลัวว่าคุณพ่อคุณแม่จะไม่รัก

คือต้องบอกก่อนว่า ด้วยธรรมชาติของเด็ก เขาต้องการให้คุณพ่อคุณแม่รัก และยอมรับในตัวเขา (ด้านความสามารถ) แต่เมื่อเขาทำผิด คุณพ่อคุณแม่โกรธเขา ดุเขา เขาจะคิดว่าคะแนนความรักที่คุณพ่อคุณแม่มีให้เขา ต้องลดน้อยลงแน่ ๆ เลย เขาจึงเสียใจและร้องไห้ออกมา จึงกลัวว่าคุณพ่อคุณแม่ไม่รักนั่นเอง

กลัวความมืด

ข้อนี้เกิดจากจินตนาการของลูกที่คิดต่อเติมขึ้นเอง จากเรื่องราวในตอนกลางวันที่เขาได้รับรู้มา เด็กกลัวเพราะในความมืดนั้น เราไม่สามารถมองเห็นอะไรได้ ซึ่งตรงกับที่พระพุทธศาสนาพูดไว้ค่ะว่า “ความกลัวเกิดจากความไม่รู้

กลัวผีใต้เตียง ผีตู้เสื้อผ้า

ที่มาของความกลัวนี้มี 2 อย่างคือ ลูกได้เสพข้อมูลจากที่อื่นเอง กับลูกถูกขู่ให้กลัว ซึ่งเมื่อเป็นอย่างนี้ แน่นอนค่ะ ด้วยวัย 3 – 5 ปี เด็กก็นำไปดจินตนาการต่อ

กลัวคนแปลกหน้า

ข้อนี้นับเป็นความกลัวที่ดีค่ะ เพราะคนแปลกหน้าเราไม่รู้จักมาก่อน ไม่รู้ว่าจะมาดีหรือมาร้าย

กลัวอุบติเหตุ

ลูกอาจเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้มาก่อน จึงเกิดการฝังใจ คงต้องใช้เวลาพอสมควรเพื่อที่จะเยียวยาเรื่องนี้

กลัวเสียงดัง กลัวเสียงฟ้าร้อง

เด็กมักมีความไวต่อเสียงต่าง ๆ โดยเฉพาะเสียงเครื่องปั่น เสียงเครื่องดูดฝุ่น หรือเสียงฟ้าร้อง เป็นต้น ซึ่งถ้าหากดังเกินไป เด็ก ๆ ก็จะเกิดความกลัวได้ค่ะ

กลัวตำรวจจับ

ข้อนี้เกิดจากการขู่ของผู้ใหญ่ เช่น ถ้าไม่กินข้าวให้หมด จะพาตำรวจมาจับ แบบนี้จะส่งผลให้ลูกมีพัฒนาการที่ถดถอย และที่สำคัญ หากวันใดวันหนึ่ง มีเรื่องที่ต้องแจ้งตำรวจ เพื่อขอความช่วยเหลือ ลูกจะไม่กล้าเข้าหาตำรวจ เพราะกลัวตำรวจจับ

กลัวคุณหมอ และพยาบาล

ข้อนี้เกิดจากการขู่เช่นกัน เพราะหมอสามารถแจ้งพยาบาลให้ฉีดยาได้ การฉีดยาคือ การเจ็บตัวในความคิดของเด็ก การขู่นี้จะทำให้เด็ก ๆ กลัวคนในชุดขาวทุกคน

กลัวสัตว์ หรือแมลงต่าง ๆ

ข้อนี้ก็เกิดจากการขู่เช่นกัน เช่น ถ้าไม่นอนหลับจะให้ผีเสื้อมากัด ซึ่งทำให้เด็กเกิดการฝังใจว่าผีเสื้อเป็นแมลงที่น่ากลัว เวลาเดินไปเจอผีเสื้อหรือมีผีเสื้อบินมาใกล้ก็จะกลัว เป็นต้น

หากคุณพ่อคุณแม่จะสังเกตดี ๆ ความกลัวของลูกส่วนใหญ่มักเกิดจากการขู่ของผู้ใหญ่ เพราะเด็กยังไม่รู้อะไรอีกมากมาย ซึ่งถ้าเราปล่อยให้ลูกรับเอาข้อมูลที่ผิดเพี้ยนเข้าหัว การแก้จะเป็นอะไรที่ค่อนข้างยากถึงยากมาก เพราะแม่โน้ตเคยมีประสบการณ์กับเรื่องนี้มาแล้ว กว่าลูกจะกลับมาเข้าใจเหตุผลที่แท้จริง และรับรู้เหตุการณ์จริงได้ ใช้เวลานานประมาณ 1 – 2 ปีเลยทีเดียวค่ะ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตลูกและอธิบายความจริงให้ลูกเข้าใจนะคะ ลูก ๆ ก็จะได้มีพัฒนาการที่ดีสมวัยค่ะ

อ้างอิง trueplookpanya.com, Facebook พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ