กับระยะเวลาที่นานกว่า 9 เดือน คุณพ่อคุณแม่ต่างรอคอยที่จะเจอหน้าเจ้าตัวเล็ก แต่…ก่อนที่พ่อแม่จะเจอหน้าลูกเรามาดูข้อมูลเกี่ยวกับการคลอดซักหน่อยดีกว่าค่ะ ว่าการคลอดแบบบล็อกหลังคืออะไร? มีวิธีการอย่างไร?และจะมีผลข้างเคียงอะไรหรือไม่เรามาดูกันเลยค่ะ
สารบัญ
การบล็อกหลัง คืออะไร?
การบล็อกหลัง มีวิธีการคือ คุณแม่จะนอนตะแคงงอตัว หรือนั่งก้มตัวห้อยขา (แล้วแต่แพทย์จะพิจารณา)แพทย์จะใช้เข็มสำหรับการบล็อกหลังแทงเข้าไปบริเวณหลังส่วนล่างจนถึงช่องไขสันหลัง แล้วฉีดยาเข้าไป คุณแม่จะมีอาการชาบริเวณช่วงล่างของร่างกาย และจะขยับช่วงล่างไม่ได้ไม่มีผลต่อลูก วิธีนี้จึงเหมาะกับการผ่าตัดบริเวณส่วนล่างของร่างกาย
การบล็อกหลังมีกี่แบบ?
การบล็อกหลังแบบ Epidural
วิธีการ การบล็อกหลังแบบ Epidural
วิสัญญีแพทย์จะแทงเข็มซึ่งภายในมีหลอดนำยาขนาดเล็กเข้าไปที่กระดูกสันหลังของคุณแม่ หลอดนำยาจะค้างอยู่ข้างในและจะค่อยๆ ปล่อยยาออกมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อออกไปคุมชั้นผิวหนังของไขสันหลังที่เรียกว่า Dura ให้หมดความรู้สึก
ข้อดี การบล็อกหลังแบบ Epidural
หลังจากที่แพทย์แทงเข็มที่กระดูกสันหลังแล้ว คุณแม่จะหมดความรู้สึกตั้งแต่ช่วงเอวลงไปประมาณ 5 นาที ในบางรายอาจนานกว่านี้ ขึ้นอยู่กับปริมาณยาที่ได้รับ วิธีนี้จะช่วยให้คุณแม่ไม่เจ็บปวดกับการที่มดลูกบีบตัว ยังสามารถขยับตัวหรือเคลื่อนไหวได้ หรืออาจจะงีบหลับได้ระหว่างรอคลอด
ผลข้างเคียงและข้อควรระวัง การบล็อกหลังแบบ Epidural
- อาจทำให้ปวดศีรษะ ในบางรายอาจมีคลื่นไส้ อาเจียน คัน และร่างกายสั่น แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยาก็จะหายไปเอง
- อาจทำให้ความสามารถในการควบคุมกล้ามเนื้อกระดูกเชิงกรานลดลง ส่งผลให้หากมีลูกคนที่สอง ต้องเลื่อนเวลาการคลอดออกไป 1 ชั่วโมง หรืออาจต้องใช้คีมช่วยคลอดร่วมด้วย
การบล็อกหลังแบบ Spinal Block
วิธีการ การบล็อกหลังแบบ Spinal Block
แพทย์จะใช้เข็มแทงเข้าไปที่บริเวณหลังส่วนล่างของคุณแม่เข็มจะเจาะผ่านไขกระดูกสันหลังชั้น Dura ตรงเข้าไปที่แนวไขสันหลังทันที ซึ่งจะทำให้คุณแม่รู้สึกชาตั้งแต่ช่วงเอวลงไป ขณะเดียวกัน อาจทำให้ประสิทธิภาพในการคลอดลดลงด้วย การบล็อกแบบนี้ส่วนมากมักจะใช้กับคุณแม่ที่ใกล้คลอด เพราะยามีฤทธิ์อยู่ได้แค่ 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น
ข้อดี การบล็อกหลังแบบ Spinal Block
- ช่วยระงับความปวดได้ภายใน 1-2 นาที
- ปริมาณยาที่ใช้น้อยกว่าแบบ Epidural
ผลข้างเคียงและข้อควรระวัง การบล็อกหลังแบบ Spinal Block
- เนื่องจากยามีฤทธิ์ค่อนข้างสั้น ซึ่งอาจหมดฤทธิ์ก่อนทารกจะคลอด ซึ่งแพทย์จะไม่ทำการฉีดซ้ำเป็นครั้งที่สองดูแล้วจะก่อให้เกิดประโยชน์น้อยมาก เพราะยังไม่มีใครสามารถคำนวณเวลาการคลอดที่แน่นอนได้
- ผลข้างเคียงอาจทำให้คุณแม่ปวดศีรษะ ตัวสั่น คลื่นไส้ และคัน
การบล็อกหลังแบบผสมระหว่าง Epidural กับ Spinal Block
วิธีการ การบล็อกหลังแบบผสมระหว่าง Epidural กับ Spinal Block
การบล็อกหลังแบบนี้มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า “เทคนิคแบบสองเข็ม” คือ การใช้เข็มเป็นเซ็ต แพทย์จะแทงเข็มขนาดใหญ่ซึ่งข้างในจะมีเข็มขนาดเล็กอยู่อีกอันเข้าไปที่กระดูกไขสันหลัง เข็มเล็กข้างในจะลงลึกไปที่แนวไขสันหลัง (Spinal) เพื่อให้ยาออกฤทธิ์เฉียบพลัน หากการคลอดยังไม่เกิดขึ้นภายในที่ยาบล็อก Spinal ออกฤทธิ์ แพทย์จะใช้ยาบล็อกหลังอีกครั้งในระดับ Epidural ซึ่งจะออกฤทธิ์ช้าและอยู่ได้นานกว่าเข็มใหญ่ โดยไม่ต้องแทงเข็มซ้ำ
ข้อดี การบล็อกหลังแบบผสมระหว่าง Epidural กับ Spinal Block
คุณแม่ยังสามารถรับรู้สิ่งต่างๆ รอบข้างได้ เคลื่อนไหวร่างกายได้
แม่โน้ตก็ใช้วิธีผ่าคลอดบล็อกหลังค่ะ เพราะตอนนั้นครรภ์เป็นพิษต้องคลอดก่อนกำหนด พอฉีดยาเข้าไป ไม่ถึง 5 นาที คุณหมอวิสัญญีแตะที่เท้าที่เท้าแม่โน้ต แม่โน้ตก็ไม่รู้สึกแล้วค่ะ รู้สึกว่าเวลาผ่านไปไวมาก แป๊บเดียว ได้ยินเสียง “อุแว๊ ๆ” แล้ว
ผลข้างเคียงและข้อควรระวัง การบล็อกหลังแบบผสมระหว่าง Epidural กับ Spinal Block
ปวดศีรษะ ตัวสั่น คัน และคลื่นไส้
เหตุที่ไม่นิยมการผ่าคลอดแบบดมยา
ปัจจุบันไม่ค่อยได้นำมาใช้ในการผ่าตัดคลอดแล้ว เนื่องจากคุณแม่ที่ท้องมีการเปลี่ยนแปลงจากภาวะปกติในทุกระบบของร่างกาย ทำให้การดมยาสลบมีความยากลำบากมากกว่า เช่น
- เสี่ยงต่อการสอดท่อหายใจเข้าไปไม่ได้ มีการสำลักอาหารเข้าปอด ส่งผลให้ปอดอักเสบติดเชื้อ อาจอันตรายถึงชีวิตได้
- เสี่ยงต่อภาวะขาดออกซิเจน เสี่ยงต่อลูกน้อยด้วย
- การดมยาสลบจะต้องใช้ยาหลายชนิดฉีดร่วมกัน ผลเสียคือ อาจมีการส่งผ่านไปถึงลูกด้วย
ผ่าคลอดบล็อกหลัง ผลข้างเคียงของคุณแม่หลังคลอด
- การบล็อกหลังจะมีการใช้เข็มขนาดเล็ก เพื่อฉีดยาชาเข้าไปที่บริเวณกระดูกสันหลังที่อยู่ในระดับเดียวกับเอว ซึ่งอาจทำให้คุณแม่บางรายมีอาการเจ็บบริเวณหลัง หรืออาจเสียวร้าวไปที่ขา
- ผลของยาชาอาจทำให้เกิดการขยายตัวของเส้นเลือด อาจส่งผลให้คุณแม่บางรายมีความดันโลหิตลดลง จึงทำให้เลือดไปเลี้ยงที่มดลูกน้อยลง ทำให้ลูกน้อยอาจเกิดภาวะขาดออกซิเจนชั่วคราว ลูกน้อยจะมีอัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติได้
- หลังคลอดแล้ว คุณแม่จะมีอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ หรืออาจมีอาเจียนได้
- คุณแม่จะไม่สามารถขยับ หรือลุกเดินไปไหนมาได้ประมาณ 2 – 4 ชั่วโมง
- ไม่สามารถให้นมลูกได้ทันที เนื่องจากความเหนื่อยและเพลียของคุณแม่จากการคลอดลูก
- ปัสสาวะไม่ออก ซึ่งเป็นผลข้างเคียงโดยจะเกิดขึ้นเพียงแค่ช่วง 12 ชั่วโมงแรก แต่ไม่ต้องตกใจค่ะ เพราะคุณหมอและพยาบาลจะใส่สายสวนปัสสาวะช่วยค่ะ
- อาการปวดหลัง ซึ่งจะเป็นแค่ในช่วง 1 – 2 เดือนแรกหลังคลอด แต่มีบ้างในบางรายค่ะที่อาจเป็นนานหลายเดือน
ผ่าคลอดบล็อกหลังจะไม่เจ็บเลยในขณะคลอด แต่มันจะเจ็บตอนหลังคลอด คุณแม่ต้องดูแลแผลผ่าคลอดกันอย่างดีซักหน่อย เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ว่าแต่ถ้า “บล็อกหลังคลอดธรรมชาติจะดีไหม เจ็บไหม?” ไปติดตามกันค่ะ