Site icon คุณแม่ลูกอ่อน

นมแม่มีประโยชน์อย่างไร

คุณรู้หรือไม่ว่า “น้ำนมแม่” นั้น เป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับพัฒนาการของลูกน้อย เพราะในนมแม่นั้นมีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมกับร่างกายของลูกน้อย เพราะร่างกายของลูกนั้นยังไม่สามารถมีระบบภูมิคุ้มกัน หรือโครงสร้างของร่ายกายที่แข็งแรงได้ ดังนั้น นมแม่ จึงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยให้ลูกน้อยของเราสามารถมีพัฒนาการทางด้าน สมอง ร่างกาย และจิตใจ ได้อย่างเต็มที

การเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่

น้ำนมแม่” นอกจากจะเป็นสารอาหารที่ดีวิเศษที่สุดสำหรับลูกน้อยแล้ว การเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่นั้นยังเป็นการสานสัมพันธ์อันดีระหว่าแม่และลูกอีกด้วย คุณแม่ทั้งหลายทราบหรือไม่ว่าน้ำนมของเรานั้นมีทั้งหมดกี่ชนิด โดยทั่วไปเราสามารถแบ่งชนิดของน้ำนมแม่ได้เป็น 3 ชนิด

ชนิดแรกเรียกว่า “หัวน้ำนม” หรือ น้ำนมเหลือง (Colostrum)

น้ำนมชนิดนี้จะเริ่มสร้างตั้งแต่เราตั้งครรภ์จนถึง 3-4 วันแรกหลังการคลอด ซึ่งหัวน้ำนมนี้จะมีโปรตีน เกลือแร่ และ วิตามินที่สามารถละลายในไขมันปริมานสูง แต่ในหัวน้ำนมนั้นกลับมีปริมานไขมัน และน้ำตาลที่ต่ำ จึงทำให้หัวน้ำนมนั้นย่อยง่าย และมีประโยชน์ให้แบคทีเรียในลำไล้ของลูกน้อยสามารถทำงานได้อย่างปกติ และในหัวน้ำนมนี้ยังมีโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันโรคได้อีกด้วย

น้ำนมก่อนน้ำนมแท้ หรือเป็นน้ำนมที่อยู่ในระยะการปรับเปลี่ยน (Transitional Milk)

น้ำนมชนิดนี้จะเป็นน้ำนมที่หลั่งออกมาหลัง จาก หัวน้ำนม จนถึง 2 สัปดาห์หลังคลอด ซึ่งจะเป็นช่วงคาบเกี่ยวระหว่างการเปลี่ยนจากหัวน้ำนมไแเป็นน้ำนมแท้นั้นเอง ซึ่งในน้ำนมก่อนน้ำแท้นี้ จะเริ่มมีปริมาณของน้ำตาลแลคโทส ไขมัน วิตามินที่ละลายในไขมัน และรวมถึงพลังงานสูงกว่าหัวน้ำนมในช่วงแรก

น้ำนมแท้ (Mature Milk)

เป็นนมระยะสุดท้ายที่ร่างกายของผู้เป็นจะสร้างออกมา ซึ่งน้ำนมแท้นั้นจะมีลักษณะคล้ายกับนมที่เราสกัดเอาไขมันออก (Skim Milk) เพราะน้ำนมแท้จะมีลักษณะสีขาวนวล และไม่เข้มข้นเหมือน หัวน้ำนม ซึ่งใน 1 ออนซ์ ของน้ำนมแท้จะสามารถให้พลังงานได้ประมาน 20 กิโลแคลอรี่ ซึ่งในน้ำนมแท้นี้จะมีสารอหาร โปรตีน และ ไขมันที่เหมาะสม และเพียงพอต่อความต้องการของเด็ก และในน้ำนมแท้นี้ยังสามารถป้องกันการขาดน้ำ ในเด็กได้ด้วย ในน้ำนมแท้นั้นยังสามารถจำแนกได้อีก 2 ส่วน คือ น้ำนมส่วนหน้า (Fore Milk) เป็นน้ำนมที่หลั่งออกมาในช่วงแรกๆ ในขณะที่เด็กดูดนม ซึ่งในน้ำนมนี้ประกอบด้วยน้ำ โปรตีน และวิตามิน น้ำนมอีก ส่วนหนึ่ง เรียกว่า น้ำนมส่วนหลัง (Hind Milk) น้ำนมในส่วนนี้มีปริมาณไขมันที่สูงกว่าน้ำนมส่วนหน้าถึง 4 เท่า ซึ่งจะทำให้เด็กมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้

การสร้างและการหลั่งน้ำนมเกิดขึ้นได้อย่างไร

ส่วนใหม่คุณแม่หลังคลอดมักจะประสบปัญหาเดียวกันคือ น้ำนมไม่หลั่ง น้ำนมน้อย น้ำนมไม่พอต่อความต้องการของลูกน้อย เรามาดูกันดีกว่าคะ การสร้างและการหลั่งน้ำนมเกิดขึ้นได้อย่างไร

โดยปกติแล้วคุณแม่นั้นจะมีการสร้างน้ำนมได้จากระดับฮอร์โมน ซึ่งน้ำนมจะมีปริมาณสูงมากจากการกระตุ้นเต้านมของคุณแม่ด้วยเช่นกัน การกระตุ้นเต้านมเกิดจาก การที่ลูกน้อยดูดนมจากนมแม่ การบีบน้ำนมออกจากเต้าด้วยมือ หรือแม้แต่กระทั้งการใช้เครื่องปั๊มนม โดยทั่วไปฮอร์โมนนี้จะถูกสร้างในช่วงกลางคืนมากกว่ากลางวัน

ดังนั้นการให้ลูกดูดนมในช่วงเวลากลางคืน จะทำให้มีการกระตุ้มและสร้างน้ำนมได้มากเป็นพิเศษ ทำให้เร่งการสร้างน้ำนมได้ดี และในช่วงที่ลูกน้อยดูดนมจนถึงภายหลังลูกหยุดดูดนมประมาณ 30 นาที ช่วงนี้จะเป็นช่วยที่ระดับของฮอร์โมนที่ช่วยสร้างน้ำนมก็จะมีมากทั่สุด และหลังจากนั้นระดับฮอร์โมนของคุณแม่ก็จะค่อยๆ ลดต่ำลงจนคงที่โดยเฉลี่ยภายใน 3 ชั่วโมง การให้ลูกดูดนมบ่อยและสม่ำเสมอ จึงทำให้ระดับฮอร์โมนสูงตลอดเวลา มีผลทำให้เต้านมมีการสร้างน้ำนมเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ดังนั้นหลังจากที่ลูกน้อยดูดนมเสร็จนั้นจึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่คุณแม่จะสามารถปั๊มน้ำเก็บไว้เพื่อเป็นนมสำรองให้กับลูกน้อยได้เช่นกัน

และในส่วนของการไหลของน้ำนมนั้น โดยทั่วไปจะขึ้นอยู่กับการกระตุ้นในส่วนต่างๆ พร้อมกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะร่างกายของผุ้เป็นแม่ด้วย เพราะถ้าผู้เป็นแม่ไม่สบายใจไม่สบายใจเกิดความเครียด ก็อาจจะมีผลกระทบต่อการไฟลของน้ำนมที่ออกจากเต้าได้ และอาจจะทำให้ลูกน้อยได้รับเงินไม่เพียงพอ และอาจจะทำให้ลูกน้อยเกิดอาการหวุดหงิดได้

ดังนั้น ขณะที่ลูกน้อยกำลังดูดนมจากเต้านมอยู่นั้น ผู้เป็นแม่ควรผ่อนคลายให้มากที่สุด