Site icon คุณแม่ลูกอ่อน

ทำไมลูกถึงไม่ดูดนมจากเต้า ปั้มนมจะเพียงพอหรือไม่

คุณแม่บางรายคงกำลังเผชิญปัญหาลูกไม่ดูดนมจากเต้า ปัญหาที่คุณแม่กังวล เพราะลูกเพิ่งลืมตาดูโลกไม่กี่วัน ก็ไม่ยอมดูดนมแล้ว คุณแม่อาจจะไม่ทราบหรือไม่ทราบถึงสาเหตุนัก หากปั้มนม นมจะเพียงพอหรือไม่ แล้วจะมีผลอะไรบ้างหากลูกไม่ดูดนมจากเต้าเลย

สาเหตุที่ลูกไม่ดูดนมจากเต้า

ป่วย

ไม่สบาย น้ำมูก ทำให้ลูกหายใจลำบากขณะดูดนม เป็นปัญหาระยะสั้น

รสชาติเปลี่ยน

ลูกถึงจะยังพูดไม่ได้ แต่ท่าทางบอกได้ว่าไม่อยากกิน ซึ่งมาจากการที่คุณแม่หลังคลอดเปลี่ยนอาหารที่กินเข้าไป เช่น มีรสจัด ที่อาจทำให้ลูกรับรสชาติไม่คุ้นเคย

น้ำนมมากเกิน น้อยเกิน

น้ำนมของคุณแม่มีมากเกินไป ลูกกำลังดูดนมจากเต้าก็อาจสำลักได้ จึงทำให้ลูกไม่ดูดได้ หรือถ้าน้ำนมน้อยไป ลูกก็จะใช้เวลานานกว่าจะได้ดูดนม และน้ำนมหมดเร็วก่อนจะอิ่ม

เวลา สถานที่

คุณแม่สังเกตดูว่าเวลาในการให้นมลูกนั้นเมื่อไร หากเวลาเปลี่ยนไปมาไม่ตรงกันทุกครั้ง ลูกจะปรับตัวไม่ทัน ซึ่งคุณแม่ควรจะให้นมเป็นเวลาที่ตรงกันทุกวัน และไม่เปลี่ยนสถานที่ เช่น การนั่งที่เดิมขณะให้นมลูก

จุกนมหลอก

หรือจุกนมยางสำหรับเด็กอ่อน จุกนมหลอกที่ให้ลูกดูด หากใช้กับลูกบ่อยเกินไป ลูกอาจจะเบื่อการดูดก็เป็นไปได้

ปั้มนมให้เพียงพอต้องทำอย่างไร

เริ่มปั้มไว

หลังจากคลอดลูก 2 – 3 สัปดาห์ คือช่วงที่คุณแม่ต้องปั้มนม ซึ่งในช่วงนี้ยิ่งปั้มจะยิ่งมีน้ำนมมาก และยังได้ระยะยาวด้วย หรือจะปั้มนมในระยะ 2 – 3 ชั่วโมง เท่ากับความถี่ให้นมลูกก็ได้

เครื่องปั้มนมมีคุณภาพ

แน่นอนว่าของที่มีคุณภาพย่อมดีเสมอ เช่น ถ้าคุณแม่กำลังปั้มนมอยู่แล้วรู้สึกเจ็บแสดงว่าผิดปกติ ซึ่งเครื่องปั้มที่ดีต้องต้องไม่เจ็บ และอาจเพราะขนาดของกรวยปั้มมีขนาดไม่พอดีกับหน้าอก หรือมีแรงดูดที่มากเกิน ควรปรับให้พอดีจะทำให้น้ำนมไหลมากขึ้น

กำหนดเวลา

ใน 24 ชั่วโมง คุณแม่ควรปั้มนมได้ 8 – 10 ครั้ง หรือเท่ากับจำนวนครั้งที่ลูกกินนมต่อวัน แต่หากไม่สามารถปั้มให้ได้ตามจำนวนที่คาดไว้ ให้คุณแม่กำหนดเวลาในการปั้มนม ในรอบ24ชั่วโมง แต่จะไม่เพียงพอต่อความต้องการลูก ก็ควรจะเพิ่มการปั้มให้ถี่ขึ้น

หากำลังเสริม

สิ่งที่จะทำให้คุณแม่ปั้มนมได้เยอะ คือ กำลังใจ ถ้าถูกขัดขวางการปั้มนม เช่น การบอกถึงความไม่จำเป็นของเครื่องปั้มนม หรือแสดงความคิดเห็นเชิงที่ไม่ให้กำลังใจ คุณแม่เองที่กำลังปั้มนม อาจจะเกิดความเครียดขึ้น จนทำให้คุณแม่ไม่สามารถปั้มนมออกมาได้ ควรที่จะให้คุณแม่ผ่อนคลาย นวมหน้าอก จะได้มีน้ำนมไหล และท้ายสุด คือ ลูกที่จะกินนม คุณแม่จะต้องอดทนถึงแม้จะเจ็บบ้างในบางครั้ง แต่ลูกกำลังต้องการนมจากแม่ และยิ่งเด็กแรกเกิดจะไม่สามารถให้อาหารเสริมได้ คุณแม่ต้องพยายามเพื่อลูกเช่นกัน

ลูกไม่ดูดเต้าจะมีผลอะไร

แม่ลูกไม่ได้สื่อสารกัน

เวลาให้นมลูก คือ ช่วงเวลาที่แม่ลูกได้สื่อสารกันโดยตรง โดยเฉพาะน้ำลายจะเป็นตัวที่บ่งบอกได้ว่า ลูกต้องการอะไร หากลูกมีเชื้อโรค เต้านมแม่จะตอบสนองโดยผลิตน้ำนมเพื่อสู้กับเชื้อโรคได้

ไม่ได้ดูดนมสดๆ

เพราะการปั้มนมจะต้องผ่านการบรรจุลงที่เก็บ และแช่เก็บไว้ก่อนจะให้ลูกกิน ซึ่งจะเหมือนอาหารที่แช่แข็ง แล้วนำมาอุ่นเพื่อกิน คุณค่าทางอาหารก็จะไม่เหมือนที่ปรุงสดใหม่นั้นเอง ทั้งนี้การให้ลูกดูดนมแม่โดยตรง แบบสดใหม่จะมีคุณค่าทางอาหารมากกว่า และตรงตามความต้องการของลูก

เวลาที่สำคัญหายไป

แม่ลูกที่ดูดนมจากเต้าจะมีการสื่อสารกันในระยะใกล้ ทั้งยังมีส่วนช่วยในเรื่องพัฒนาการ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีจากการอุ้ม การกอด ให้สายใยแม่ลูกลึกซึ้ง และเสริมสร้างการรับสัมผัส ทั้ง ตา หู จมูก ความมั่นคงทางจิตใจ อารมณ์ของลูก หากไม่ได้ทำให้ลูกอาจจะรับรู้ถึงสายใยได้น้อย

หลัง 6 เดือนจะลดน้อยลง

การลดน้อยลงหลัง 6 เดือน คือ ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การให้อาหารเสริมลูก การดูดนมจากแม่โดยตรงจะลดน้อยลง อาจเหลือเพียง 2 – 3 ครั้งต่อวัน เพราะลูกต้องได้รับสารอาหารอื่นๆ นอกเหนือจากนมแม่ และลูกจะเริ่มมีการเล่นมาขึ้น เรียกร้องมากขึ้น เวลาจะปั้มนมก็ลดลง

เวลาพักผ่อน

ลูกที่ดูดจากเต้าโดยตรงจะทำให้คุณแม่ไม่เสียเวลาปั้มนม และมีเวลาพักผ่อน แต่หากลูกไม่ดูดจากเต้า คุณแม่ก็จะต้องตื่นมาปั้ม ทำให้เวลานอนน้อยลง

ลูกดูดนมจากเต้าอย่างไรก็ดีที่สุด เพราะนมแม่จะไม่มีทางหมดง่ายๆ อาจจะจนลูกอายุ 1 ปี ก็เป็นได้ ส่วนคุณแม่ที่ปั้มนม หากหยุดปั้มแล้วนมที่เก็บไว้หมด โดยไม่ปั้มเพิ่มก็จะไม่สามารถผลิตน้ำนมได้ และลูกก็ต้องหยุดนมแม่ และเปลี่ยนเป็นนมชงที่ให้คุณค่าไม่เท่านมแม่ ทั้งนี้คุณแม่ควรหมั่นดูแลตัวเองให้สุขภาพดี อดทนต่อการต่อต้านของลูก หากยอมแพ้จะทำให้ลูกไม่ได้สารอาหารที่ดีที่สุดได้ค่ะ