Site icon คุณแม่ลูกอ่อน

11 สิ่งควรรู้ ท้องแบบไม่มีโรคแทรกซ้อน ทำอย่างไร

11 สิ่งควรรู้ ท้องแบบไม่มีโรคแทรกซ้อน ทำอย่างไร

ต้องบอกก่อนเลยค่ะว่าจากประสบการณ์ขณะตั้งครรภ์ที่ผ่านมา ระหว่างทางมีทั้งสุขทั้งกังวล ร่างกายเองก็มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ต้องใส่ใจดูแลตัวเองเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเราเองจะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าระหว่างการอุ้มท้องนั้นเราจะเจอกับโรคแทรกซ้อนอะไรบ้าง แต่วันนี้…คุณแม่ไม่ต้องกังวลแล้วค่ะ เพราะโน้ตมีข้อมูลดี ๆ มาฝาก เกี่ยวกับการป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อน ต้องทำอย่างไรไปติดตามกันเลยค่ะ

11 สิ่งควรรู้ ท้องแบบไม่มีโรคแทรกซ้อน

เพราะเราไม่มีทางรู้อนาคตได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นระหว่างการอุ้มท้อง ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันโรคแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น คุณแม่ควรรู้สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ค่ะ

ยืดเส้นยืดสายเบา ๆ

แม้ว่ามดลูกของคุณแม่จะค่อย ๆ ขยายตัว แต่เมื่อท้องของคุณแม่ใหญ่ขึ้น อาการปวดเมื่อยเนื้อตัว และอาการปวดเมื่อยหลังก็จะตามมา แต่คุณแม่สามารถออกกำลังกายได้เบา ๆ เป็นการยืดเส้นยืดสายบรรเทาอาการปวดเมื่อย เช่น โยคะ ว่ายน้ำ หรือการเดินออกกำลังกาย เหล่านี้สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยได้

ใส่ใจเรื่องโภชนาการ

จริงอยู่ที่คุณแม่บางคนอาจจะแพ้ท้องแล้วอยากกินแต่อาหารหมักดอง ทำได้ค่ะ เพราะอาการเหล่านี้จะอยู่กับคุณแม่ประมาณ 3 เดือน แล้วหลังจากนั้นอาการแพ้ท้องจะค่อย ๆ หายไป จากนั้นคุณแม่ค่อยกลับมาดูในเรื่องอาหารการกิน กินอาหารที่มีประโยชน์ ซึ่งสารอาหารสำคัญ ได้แก่ โปรตีน แคลเซียม ธาตุเหล็ก โฟลิค ซึ่งสารอาหารเหล่านี้พบมากในผลไม้ ถั่ว และผักใบเขียว งดอาหารแปรรูป และอาหารสำเร็จรูปนะคะ

ทานโฟลิคให้พอ

ในอาหารก็มีโฟลิคค่ะ แต่อาจจะไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อย ซึ่งส่วนนี้หากคุณแม่รู้ตัวแล้วว่าตั้งครรภ์ แนะนำให้ฝากครรภ์ทันที เนื่องจากแพทย์จะให้มีการจัดโฟลิคแบบเม็ดให้ทานค่ะ และคุณแม่ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดนะคะ

คุมน้ำหนัก

หลายคนพออาการแพ้ท้องเริ่มหายไป คิดว่าต้องกินชดเชย จัดหนัก จัดเต็ม ทุกอย่างทั้งเนื้อสัตว์ ทั้งแป้ง ทั้งน้ำตาล คราวนี้กลายเป็นว่ากินไปแล้วแต่ร่างกายเผาผลาญได้ไม่หมด กลายเป็นว่าน้ำหนักที่ขึ้นมานั้น เกินครึ่งอยู่ที่คุณแม่ ซึ่งเมื่ออายุครรภ์มากขึ้นจะเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนได้ง่าย

ตรวจคัดกรองยีนส์

หากสามีภรรยาวางแผนไว้แล้วว่าต้องการจะมีลูกด้วยกัน สิ่งแรกที่ควรทำคือ การตรวจคัดกรองยีนส์เพื่อให้ยีนส์ที่ดีที่สุด ตรวจสอบประวัติการเป็นโรคต่าง ๆ ของครอบครัวแต่ละฝ่าย ว่าเคยมีประวัติเป็นโรคมาหรือไม่ เช่น โรคปอดเรื้อรัง โรคโลหิตจางแบบซิกเคิลเซลล์ หรือกลุ่มอาการโครโมโซมเอกซ์เปราะบาง เป็นต้น

ลด ละ เลิก คาเฟอีน

สำหรับใครที่วางแผนจะมีลูกหรือตั้งครรภ์อ่อน ๆ อยู่ แนะนำว่า ควรลด ละ เลิก เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน โดยผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าสามารถบริโภคคาเฟอีนในกาแฟได้ไม่เกินวันละ 200 มิลลิกรัม หรือ 12 ออนซ์ ต่อแก้ว หรือจากชา ไม่ควรเกิน 8 ออนซ์ต่อแก้ว จริง ๆ ถ้าเลิกได้จะดีที่สุดค่ะ แต่ถ้าเลิกไม่ได้จริง ๆ แนะนำให้ดื่มเป็นแบบ Decaf แทน

เลิกบุหรี่

บุหรี่ไม่เคยส่งผลดีต่อใครเลย ไม่ว่าจะเป็นคนที่สูบบุหรี่เองหรือจะเป็นควันบุหรี่มือสองเองก็ตาม ที่สำคัญ เสี่ยงลูกน้อยพิการอีกด้วยค่ะ

เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

เชื่อว่าคุณแม่คงทราบกันดีว่า แอลกอฮอล์ไม่ส่งผลดีต่อร่างกาย ดังนั้น ก่อนการตั้งครรภ์คุณแม่ควรเลี่ยงแอลกอฮอล์นะคะ ยกเว้นว่าถ้ากินไปแล้ว แต่ไม่ทราบว่าตั้งครรภ์ และเมื่อทราบแล้วก็เลิกได้ แบบนี้ไม่เป็นไรค่ะ แต่หากยังคงกินอยู่แม้ว่าทราบว่าตั้งครรภ์ แบบนี้ไม่ดีแน่

พับทริปการเที่ยวสองต่อสองลง

ทริปที่เคยแพลนกันไว้สองคนว่าจะไปเที่ยวกัน ต่อไปนี้คงต้องพับเก็บไปก่อนค่ะ เพราะหลังจากนี้การเที่ยวในทุกทริปจะมีลูกน้อยติดสอยห้อยตามไปตลอดก็เป็นความสุขอีกแบบหนึ่ง

บอกลาบ่อน้ำเลี้ยงปลา

บ่อเลี้ยงปลาเป็นอะไรที่อันตรายมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็ก เด็กกับน้ำเป็นของคู่กัน แต่ด้วยความที่เด็กยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เพื่อเป็นการป้องกันควรบอกลาบ่อไปก่อนค่ะ

เช็คมุมต่าง ๆ ภายในบ้าน

ที่ว่า “มุม” ต่าง ๆ นั้น หมายถึง ขอบตู้ ของเตียง ที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อลูกน้อย ควรหายางกันขอบมาติดไว้ตามมุมหรือขอบต่าง ๆ เป็นการป้องกันลูกน้อยชนนะคะ

เพราะการป้องกันถือเป็นสิ่งที่เหมาะสมและควรทำมากที่สุด ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตาม ซึ่งถ้าพูดในมุมของการอยากมีลูก และไม่อยากที่จะต้องเผชิญกับโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ระหว่างการตั้งครรภ์ ว่าที่คุณแม่ควรดูแลตัวเองและหมั่นสังเกตตัวเองทุกวัน อย่างน้อยหากเกิดอาการที่ไม่พึงประสงค์ขึ้นจะได้เข้ารับคำแนะนำจากแพทย์ได้ทันท่วงทีค่ะ