Site icon คุณแม่ลูกอ่อน

เช็คด่วน! อาการคนท้อง 1 สัปดาห์ ปวดหลัง สัญญาณบ่งบอกการตั้งครรภ์ระยะแรก

เช็คด่วน! อาการคนท้อง 1 สัปดาห์ ปวดหลัง สัญญาณบ่งบอกการตั้งครรภ์ระยะแรก

สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่รอคอยการมาของลูกน้อย แต่ก็ไม่รู้ ไม่แน่ใจว่าอาการของคนท้อง 1 สัปดาห์นั้นจะปวดหลัง ปวดหัว อาเจียน ฯลฯ อะไรหรือไม่ วันนี้โน้ตรวมอาการของคนท้องในระยะแรกมาฝากค่ะ ไปดูกันว่าตรงกี่ข้อ

อาการคนท้อง 1 สัปดาห์ ปวดหลัง

ประจำเดือนขาด

ปกติแล้วประจำเดือนจะมีระยะเวลาที่ห่างกันประมาณ 21-35 วัน แต่ถ้าประจำเดือนมาคลาดเคลื่อนเกิน 10 วัน อาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นที่บ่งบอกได้ค่ะว่า “กำลังตั้งครรภ์” เนื่องจากมีการปฏิสนธิกันระหว่างไข่กับอสุจิ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ออกมาเป็นจำนวนมาก เพื่อยับยั้งไม่ให้ผนังมดลูกหลุดออกมาเป็นประจำเดือน แต่จะมีบางกรณีค่ะที่ทำให้ประจำเดือนมาคลาดเคลื่อนจากเดิมและไม่ใช่การตั้งครรภ์ เช่น การทานยาคุมกำเนิด ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เป็นต้น

โดยปกติรอบเดือนของผู้หญิงจะมีระยะเวลาประมาณ 21-35 วัน แต่หากประจำเดือนขาดหายไปมากกว่า 10 วัน นั่นอาจเป็นสัญญาณว่า “คุณกำลังตั้งครรภ์”
ข้อมูลอ้างอิง honestdocs.co

อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย

ถ้าใครที่กำลังรู้สึกว่าตัวเองมีอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ หงุดหงิดง่าย อารมณ์อ่อนไหวง่าย ขี้น้อยใจ และร้องไห้เก่งกับเล็กน้อย ทั้งที่ไม่เคยเป็นมาก่อน แบบนี้เป็นไปได้ว่าต้องเตรียมรับมือเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่กันแล้วล่ะค่ะ เหตุก็คือ ฮอร์โมนในร่างกายของคุณแม่มือใหม่นั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ร่างกายมีการปรับสมดุลกัน ช่วงนี้คุณแม่ควรหากิจกรรมที่ทำให้อารมณ์ผ่อนคลายนะคะ เช่น อ่านหนังสือที่เบาสมอง ฟังเพลง นั่งสมาธิ สวดมนต์

เพราะอารมณ์ที่แปรปรวนจนคุณพ่อของน้องมินเค้ารู้สึกได้ จึงให้โน้ตตรวจครรภ์ด้วยชุดทดสอบการตั้งครรภ์ 3 ยี่ห้อ ผลออกมาไม่ผิดจากที่คิดเลย

ตกขาวมากกว่าปกติ

เพราะฮอร์โมนและสรีระของร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง จึงส่งผลให้มีตกขาวมากกว่าปกติ โดยจะมีลักษณะสีขาวขุ่นหรือสีครีมแต่ไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด เพียงแต่ในช่วงนี้คุณแม่ต้องรักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศอย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้เกิดการอับชื้นจนก่อให้เกิดเชื้อรา แต่…หากตกขาวมีสีที่เปลี่ยนไป เช่น สีเขียว หรือสีเหลือง และมีอาการคันระคายเคืองร่วมด้วย อาจบ่งบอกว่ามีการติดเชื้อบางอย่าง แนะนำควรไปพบแพทย์ดีที่สุดค่ะ

มีเลือดซึมออกมาจากทางช่องคลอด

มีออกแบบกระปริบกระปอยนะคะ ไม่เยอะ ไม่ต้องตกใจไป เพราะร่างกายอยู่ในช่วงที่กำลังปรับตัวอันเนื่องมาจากมีการปฏิสนธินั่นเอง โดยในช่วง 11 – 12 วัน หลังปฏิสนธิตัวอ่อนจะฝังตัวอยู่ที่เยื่อบุโพรงมดลูก จึงทำให้คุณแม่บางรายมีเลือดสีจาง ๆ ออกมาเล็กน้อยและจะหยุดได้ได้เองใน 1 – 2 วัน แต่ถ้ามีอาการปวดเกร็งด้วย ปรึกษาแพทย์ด่วนค่ะ

ปวดหัว เวียนหัว

อาการปวดหัวในระยะแรก คุณแม่มือใหม่อาจต้องเผชิญบ่อยหน่อยนะคะ บางคนอาจเพราะความเครียดร่วมด้วย หรือมีอาการภูมิแพ้แต่จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับร่างกายของคุณแม่แต่ละคนนะคะ

รู้สึกเจ็บเต้านม

เพราะ 1 – 2 สัปดาห์แรกนี้ ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงจากฮอร์โมน ทำให้เต้านมมีอาการเจ็บคัดได้

สีของหัวนมเปลี่ยนไป

ฮอร์โมนจากรกและรังไข่จะเพิ่มขึ้น ทำให้หัวนมและลานนมมีสีเข้มขึ้น หรือคล้ำขึ้น เต้านมมีการขยายขนาด เพื่อรองรับน้ำนมที่ต้องให้กับลูกน้อยหลังคลอดนั่นเอง

ปวดหลัง

โดยเฉพาะบริเวณหลังช่วงล่าง ซึ่งไม่เคยเป็นมาก่อน และอาจมีตะคริวร่วมด้วย อาการปวดหลังสามารถเกิดได้ตลอดของการตั้งครรภ์ น้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ศูนย์กลางของลำตัวเปลี่ยนไป เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณแม่ปวดหลังให้นอนตะแคงซ้าย พร้อมกับหาหมอนสอดระหว่างขา ก็จะทำให้นอนได้สบายมากขึ้น

ท้องอืด/ท้องผูกบ่อยกว่าปกติ

เนื่องจากมดลูกมีการขยายตัวไปเบียดกับลำไส้ทำให้การบีบตัวของลำไส้ลดลง อาหารย่อยยาก ย่อยได้ช้าลง มีลมในกระเพาะมากขึ้น ดังนั้น คุณแม่ควรเน้นอาหารที่มีเส้นใยสูง อาทิ ผักใบเขียว หรือผลไม้ที่มีวิตามินซี ดื่มน้ำให้เพียงพอ งดเครื่องดื่มน้ำอัดลม และออกกำลังกายเบา ๆ ก็จะช่วงยลดอาการท้องผูก ท้องอืดได้ค่ะ

เหนื่อยและอ่อนล้าง่าย

ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง จึงส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด ความดันเลือด และระบบไหลเวียนโลหิต มีผลทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ร่างกายจึงมีอุณหภูมิสูงและเสียพลังงานมาก ทำให้คุณแม่มือใหม่อ่อนเพลียได้ง่ายค่ะ

อยากกินของเปรี้ยวหรือของแปลก ๆ

ข้อนี้คุณแม่บางรายก็อยากทานแต่ของเปรี้ยว บางรายอยากทานของแปลก ในบางรายก็เฉย ๆ ไม่ได้อยากทานเปรี้ยวมาก ทั้งนี้เป็นผลมาจากฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นทำให้การรับรู้รสชาติของคุณแม่เปลี่ยนไปค่ะ

มีความต้องการทางเพศลดลง

ข้อนี้ไม่ต้องสงสัยเลยค่ะ เพราะในช่วงไตรมาสแรกคุณแม่มือใหม่จะเหนื่อยกับการรับมือของร่างกายที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงทำให้อยากจะพักอย่างเดียว แต่เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่สอง ก็จะเข้าสู่สภาวะปกติค่ะ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ มีข้อไหนที่ตรงกับว่าที่คุณแม่บ้างเอ่ย?