Site icon คุณแม่ลูกอ่อน

ตั้งครรภ์ และ อาหารบำรุงครรภ์ สัปดาห์ที่ 29 ถึง สัปดาห์ที่ 33

ตั้งครรภ์ และ อาหารบำรุงครรภ์ สัปดาห์ที่ 29 ถึง สัปดาห์ที่ 33

เข้าสัปดาห์ที่ 29 แล้ว คุณแม่และลูกจะมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง อย่าช้า ไปดูกันเลยค่ะ

สารบัญ

อายุครรภ์ 29 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์

  • คุณแม่อาจพบว่ามีน้ำนมเหลือง มีลักษณะเหนียวไหลออกมาจากหัวนม น้ำนมนี้จะเป็นอาหารให้แก่ลูกของคุณแม่ค่ะ ปกติแล้วน้ำนมเหลืองหรือหัวน้ำนมนี้จะไหลออกมาหลังจากที่คุณแม่คลอดลูกแล้ว 1-2 วัน
  • คุณแม่อาจปัสสาวะบ่อยขึ้น และท้องผูก เพราะเกิดจากการที่มดลูกขยายใหญ่ขึ้นและไปกดทับกระเพาะปัสสาวะกับลำไส้นั่นเองค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ 29 สัปดาห์

  • ความยาวทารกเพิ่มขึ้นเป็น 26 ซม. หนักประมาณ 1.25 กรัม
  • พื้นที่ในมดลูกเริ่มแคบลง แต่ลูกยังคงยืดแขน ขาได้ บางครั้งอาจมีเตะ สมองและเนื้อเยื่อในสมองพัฒนาอย่างรวดเร็ว และเริ่มควบคุมการทำงานของร่างกายได้ดีมากขึ้น อาทิ อุณหภูมิในร่างกาย การควบคุมการหายใจ ประสาทสัมผัสต่าง ๆ
  • มีการตอบสนองไวมากขึ้น เช่น ตาที่มีความไวต่อแสงมากขึ้น มีความสามารถในการได้ยินและตอบสนองได้ดี รับรส รับกลิ่นได้มากขึ้น
  • ศีรษะทารกโตขึ้นเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของสมอง
  • มีเล็บงอกบาง ๆ ออกมาถึงปลายนิ้ว

อาหารบำรุงครรภ์ 29 สัปดาห์

คุณแม่เริ่มมีน้ำนมออกมา อาหารที่แนะนำควรเป็นอาหารที่มีธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามินซี วิตามินดี ซึ่งวิตามินดีมีมากในน้ำมันตับปลา ไขมัน เนย ปลาทู ไข่แดง ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล มาการีน แครอท และฟักทอง เป็นต้น

อายุครรภ์ 30 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 30 สัปดาห์

  • ท้องที่ใหญ่ขึ้นทำให้คุณแม่เริ่มเดินอุ้ยอ้าย เดินช้า เคลื่อนไหวได้ช้าลง ช่วงนี้หากคุณแม่จะลูกจากเตียง แนะนำว่าค่อย ๆ นอนตะแคงก่อนแล้วค่อย ๆ ลูกขึ้นนะคะ เพราะแขนจะมีแรงพอที่จะส่งตัวคุณแม่ให้ลูกไหว
  • หายใจตื้นขึ้น และเร็วขึ้น เนื่องจากมดลูกที่โตจนไปเบียดกระบังลม ทำให้ปอดมีปริมาตรเล็กลง คุณแม่จึงรู้สึกเหนื่อยง่าย
  • กลางดึก คุณแม่อาจตื่นบ่อยเพราะปวดปัสสาวะบ่อย ทำให้นอนไม่พอ
  • มดลูกเริ่มมีการหดเกร็งเป็นพัก ๆ อาจดูคล้ายเหมือนจะคลอด แต่ยังไม่ใช่การคลอดจริง

พัฒนาการทารกในครรภ์ 30 สัปดาห์

  • ความยาวจากศีรษะถึงก้นของทารกจะอยู่ที่ 27 ซม. หนักประมาณ 1.36 กก.
  • มีรอยเหี่ยวย่นน้อยลง มีเส้นผมทีหนาขึ้น เล็บมือ เล็บเท้ายังคงงอกอย่างรวดเร็ว กระดูกในส่วนต่าง ๆ แข็งแรงขึ้นเรื่อย ๆ บางครั้งคุณแม่อาจรู้สึกได้ถึงอาการที่ลูกสะอึกจากการกลืนน้ำคร่ำ
  • ทารกเริ่มเคลื่อนไหวได้ยากมากขึ้นเพราะเนื้อที่ในมดลูกเริ่มน้อยลงไปเรื่อย ๆ มีการหลับตาและลืมได้บ่อยขึ้น
  • ทารกจะได้ยินเสียงได้ดีมากขึ้น สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกได้ อาทิ ดิ้นแรงเมื่อได้ยินเสียงดัง ดิ้นมากขึ้นเมื่อกระเพาะหรือลำไส้ของคุณแม่ทำงาน เช่น เมื่อคุณแม่หิว กระเพาะกำลังย่อยอาหาร ได้ยินเสียงหัวใจของคุณแม่เต้น เป็นต้นค่ะ

อาหารบำรุงครรภ์ 30 สัปดาห์

เนื่องจากกล้ามเนื้อมดลูกของคุณแม่เริ่มมีการหดเกร็ง ดังนั้น อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อล้า คุณแม่อ่อนเพลียได้ อาหารที่ควรแนะนำคือ อาหารที่อุดมไปด้วยไบโอติน พบมากในผลไม้สด เช่น แตงโม ฝรั่ง มะม่วงสุก มะละกอ เหล่านี้จะช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายมากขึ้น และคุณแม่ก็จะสดชื่น กระปรี้กระเปร่าได้อีกด้วย

อายุครรภ์ 31 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 31 สัปดาห์

  • อาการปวดหลังยังคงมีมาอย่างต่อเนื่อง เพราะเอ็นและกล้ามเนื้อที่ต้องรับน้ำหนักและพยุงหลังไว้ อาจทำให้คุณแม่เสียสมดุลในร่างกาย เวลาเคลื่อนไหวควรเพิ่มความระมัดระวังมากเป็นพิเศษ หากขึ้นบันไดควรจับราวบันไดไว้ให้มั่น หลีกเลี่ยงการเดินบนพื้นที่มีน้ำเปียกชื้น ป้องกันการลื่นนะคะ
  • น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของคุณแม่ ณ เวลานี้จะอยู่ที่ 8.6 กก. โดยประมาณ ซึ่งประกอบไปด้วยน้ำหนักทารกในครรภ์ น้ำคร่ำ รก เต้านม มดลูกที่ใหญ่ขึ้นปริมาณเลือดและไขมันสะสมเพิ่มขึ้น โปรตีน และน้ำ
  • คุณแม่บางคนอาจมีอาการปัสสาวะเล็ดเมื่อหัวเราะ จาม หรือไอ เนื่องมาจากแรงดันในช่องท้องนั้นมีมากขึ้น จนทำให้เกิดแรงดันไปยังกระเพาะปัสสาวะ ทำให้การควบคุมปัสสาวะทำได้ยาก

พัฒนาการทารกในครรภ์ 31 สัปดาห์

  • สัปดาห์นี้ความยางที่วัดจากศีรษะจนถึงก้นลูกจะอยู่ที่ 28 ซม. หนักประมาณ 1.4 กก.
  • หากมีการคลอดก่อนกำหนดในช่วงนี้ ลูกจะมีโอกาสรอดได้มากขึ้น เนื่องจากปอดสามารถทำงานได้ดีขึ้น มีการพองตัวอย่างเหมาะสมเป็นจังหวะ แต่ก็ยังนับว่าเติบโตไม่เต็มที่ ตามีสารสีแต่อาจจะยังไม่ทราบสีสุดท้ายจนกว่าลูกจะมีอายุ 6-9 เดือน
  • ระบบย่อยอาหารพัฒนาไปเกือบสมบูรณ์พร้อมทำงานแล้ว
  • ทารกสามารถขยับหัวไปด้านข้างได้แล้ว มีการเคลื่อนไหวร่างกายได้คล่องแคล่วมากขึ้น

อาหารบำรุงครรภ์ 31 สัปดาห์

สารอาหารที่แนะนำให้คุณแม่กินคือ วิตามินซี ธาตุเหล็ก แคลเซียม และวิตามินเค สารอาหารดังกล่าวนี้พบมากใน นม ปลาตัวเล็ก อโวคาโด ข้าวกล้อง ควินัว เมล็ดธัญพืช และอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินเค อาทิ สาหร่ายทะเล บรอกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง กะหล่ำปลี และผักโขม เป็นต้น

อายุครรภ์ 32 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 32 สัปดาห์

  • เพราะลูกเริ่มกลับศีรษะลงแล้ว ทำให้บางครั้งอาจมีการถีบหรือเตะซี่โครงของคุณแม่ทำให้เจ็บได้ เพื่อป้องกันไม่ให้คุณแม่ต้องเจ็บแบบนี้บ่อย ๆ ให้พยายามนั่งตัวให้ตรงได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ค่ะ หรือไม่ก็นั่งเอนเบาะไปด้านหลังเล็กน้อย ก็จะช่วยได้ค่ะ
  • บางรายอาจมีอาการเส้นเลือดขอดอย่างเห็นได้ชัด ข้อเท้าและนิ้วเท้าบวม
  • ระบบย่อยอาหารทำงานได้ช้าลง ย่อยช้าลง คุณแม่จึงควรแบ่งอาหารเป็นมื้อเล็ก ๆ แต่เพิ่มความถี่แทน เพื่อไม่ให้กระเพาะทำงานหนักเกินไป
  • มดลูกเริ่มมีการบีบตัวบ่อยขึ้น มากขึ้น แต่ถ้าคุณแม่เริ่มมีอาการเจ็บ ควรปรึกษาแทพย์ทันทีค่ะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ 32 สัปดาห์

  • สัปดาห์นี้ความยางที่วัดจากศีรษะจนถึงก้นลูกจะอยู่ที่ 29 ซม. หนักประมาณ 1.8 กก.
  • ประสาทสัมผัสทั้งหมดสมบูรณ์และทำงานได้ดี
  • ขนาดของศีรษะและร่างกายได้สัดส่วนกัน
  • ลูกฝึกหายใจเองทำให้ปอดแข็งแรงและพัฒนาอย่างรวดเร็ว
  • ทารกมีการถ่ายปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ศีรษะลูกเริ่มกลับมาด้านล่างมดลูก โดยการกดเชิงกรานของคุณแม่เพื่อเตรียมคลอดค่ะ

ทั้งนี้ 90-95% ของวัน ลูกจะใช้ไปกับการหลับ ซึ่งอาจมีการฝันอีกด้วย ทำให้ลูกตาของลูกภายใต้เปลือกตาที่ปิด

อาหารบำรุงครรภ์ 32 สัปดาห์

อาหารที่แนะนำในช่วงนี้ จะเป็นกล้วยน้ำว้า เครื่องในสัตว์ สัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง ไข่ แต่ถ้าหากลูกยังมีน้ำหนักน้อย คุณแม่ควรลดแป้ง และเพิ่มโปรตีนแทน

อายุครรภ์ 33 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 33 สัปดาห์

  • ปริมาณของมดลูกเพิ่มขึ้นเป็น 500 เท่าจากการตั้งครรภ์และน้ำคร่ำอยู่ในระดับสูงสุด ภาวะเลือดจางทางสรีรวิทยาเริ่มลดน้อยลง
  • อาการที่ว่าอาหารไม่ค่อยย่อยจะเริ่มดีขึ้น เพราะลุกกลับหัวลงแล้วค่ะ
  • มดลูกเริ่มหดตัวเป็นก้อนนูน มีการแข็งตัวช้า ๆ คลายตัวช้า ไม่สม่ำเสมอ ไม่รู้สึกเจ็บท้อง ยกเว้นว่ามดลูกมีการบีบตัวถี่ผิดปกติ เจ็บมากกว่าปกติ หรือมีของเหลวไหลออกมาทางช่องคลอดด้วย ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ด่วน

พัฒนาการทารกในครรภ์ 33 สัปดาห์

  • สัปดาห์นี้ความยางที่วัดจากศีรษะจนถึงก้นลูกจะอยู่ที่ 30 ซม. หนักประมาณ 2 กก.
  • ทารกยังใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการหลับและเกิดการฝันมากมายหลายสิ่ง
  • การเคลื่อนไหวของลูกยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่จะเป็นเตะและชกที่ผนังมดลูก
  • กระดูกแข็งแรงมากขึ้น และเชื่อมต่อกันมากขึ้น ถือเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าเตรียมพร้อมที่จะออกมาลืมตาดูโลกแล้ว ในกรณีที่คลอดธรรมชาติ
  • นัยน์ตาของทารกเริ่มมีการปรับให้เข้ากับแสงสว่างและความมืดได้แล้ว
  • กระดูกพัฒนาเต็มที่ ต่อมไฮโปทาลามัสในสมองเริ่มทำงาน แต่หากต้องคลอดก่อนกำหนดในระยะนี้ ลูกยังต้องอยู่ในตู้อบอีกซักระยะ เพราะปอดยังเติบโตไม่เต็มที่ ยังหายใจได้เองลำบาก

อาหารบำรุงครรภ์ 33 สัปดาห์

สำหรับคุณแม่บางคนที่มีภาวะโลหิตจาง แพทย์จะยังให้ยาธาตุเหล็กมากินค่ะ ยังต้องบำรุงต่อไป ส่วนอาหารได้แก่ เครื่องในสัตว์ และอาหารทะเล นอกจากนี้วิตามินซีก็ยังสำคัญอยู่ พบมากในบรอกโคลี พริก มะเขือเทศ ฝรั่ง และส้ม เป็นต้น

การเปลี่ยนแปลงแม่ตั้งครรภ์ แต่ละสัปดาห์

[random_posts2 limit=10]