Site icon คุณแม่ลูกอ่อน

อาหารบำรุงครรภ์ และตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 9 ถึง สัปดาห์ที่ 13

อาหารบำรุงครรภ์ และตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 9 ถึง สัปดาห์ที่ 13

ตั้งครรภ์มาได้เข้าสัปดาห์ที่ 9 ร่างกายคุณแม่จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง อาการแพ้ท้องจะหายหรือยัง และทารกในครรภ์จะเจริญเติบโตไปแค่ไหน ไปติดตามกันเลยค่ะ

อายุครรภ์ 9 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 9 สัปดาห์

  • ช่วงนี้ระดับฮอร์โมนเอสโทรเจนและโพรเจสเทอโรนเพิ่มมากขึ้น จึงส่งผลให้เต้านมขยายขึ้น ต่อมผลิตน้ำนมก็ขยายตัวมากขึ้นเช่นกัน ลานนมกว้าง และมีสีคล้ำขึ้น คุณแม่จึงเจ็บเต้านมได้ง่าย
  • ยกทรงที่ใส่ควรเป็นยกทรงสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ เพราะจะช่วยพยุงและโอบอุ้มน้ำหนักของเต้านมได้ดีกว่ายกทรงทั่วไป

พัฒนาการทารกในครรภ์ 9 สัปดาห์

  • สัปดาห์นี้ความยาวของลูกจะอยู่ที่ 22-30 มม. และหนักประมาณ 4 กรัม
  • ศีรษะใหญ่ขึ้น หลังตรง เห็นคอได้ชัดขึ้น ผิวหนังหนาขึ้น แขนและขากำลังยืดยาวเจริญเติบโต
  • ลำไส้เริ่มย้ายกลับเข้าไปในช่องท้อง ซึ่งมีพื้นที่ใหญ่พอให้ลำไส้ได้เข้าไปอยู่
  • หัวใจของทารกเริ่มมีโครงสร้างที่สมบูรณ์มากขึ้น แบ่งออกเป็นสีช่องเรียบร้อย
  • มีลิ้นกับฟันซี่เล็ก ๆ ขึ้นที่ใต้เหงือก
  • ระบบหลอดเลือดเริ่มพัฒนาขึ้น เริ่มซับซ้อนมากขึ้น
  • กล้ามเนื้อและระบบประสาทเริ่มประสานต่อกัน

อายุครรภ์ 10 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 10 สัปดาห์

  • หากคุณแม่ไปตรวจกับแพทย์ตามนัด คุณแม่จะได้ยินเสียงหัวใจของลูกน้อยในครรภ์ผ่านเครื่องฟังของแพทย์
  • มดลูกยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ คุณแม่จะเริ่มรู้สึกว่าตัวเริ่มหนาขึ้น และเพื่อไม่ให้คุณแม่ต้องอึดอัด การเลือกสวมเสื้อผ้าที่ไม่รัดเกินไปจะทำให้คุณแม่สบายตัวมากขึ้นค่ะ
  • ในส่วนของหัวใจของคุณแม่ ในช่วงนี้จะทำงานหนักมากขึ้น เพราะหัวใจต้องทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย การทำงานที่หนักขึ้นนี้ ส่งผลให้หัวใจของคุณแม่โตขึ้นเล็กน้อย

พัฒนาการทารกในครรภ์ 10 สัปดาห์

  • ลูกจะมีความยาวอยู่ที่ 37-42 มม. หนักประมาณ 5 กรัม ช่วงนี้เรียกได้ว่าทารกเริ่มพัฒนาค่อนข้างสมบูรณ์ หน้าตาเริ่มชัดเจน เปลือกตาสามารถปิดได้สนิท และจะไม่ลืมตาจนกว่าอายุครรภ์ได้ 27 สัปดาห์
  • ระบบประสาทเริ่มมีการตอบสนอง อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 140 ครั้งต่อนาที
  • ใบหูส่วนนอก นิ้วมือ เริ่มเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะนิ้วโป้ง

อายุครรภ์ 11 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 11 สัปดาห์

  • อาการคลื่นไส้ หรืออาการแพ้ท้องเริ่มลดลง แต่จะเริ่มมีอาการท้องผูกแทน เพราะระดับฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ บางรายอาจรู้สึกแน่นหน้าอกมากขึ้น เนื่องจากมีกรดในกระเพาะมากไป
  • ช่วงนี้อาหารที่คุณแม่ทานเข้าไปจะเผาผลาญเร็วกว่าตอนก่อนตั้งครรภ์ ปริมาณเลือดที่สูบฉีดเข้าร่างกายมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ซึ่งคุณแม่จะรู้สึกว่าร่างกายและมืออุ่นขึ้น บางรายอาจมีเหงื่อออกมากกว่าปกติ ที่สำคัญ คุณหมอเริ่มจะคำนวณวันคลอดได้คร่าวๆ แล้วค่ะ
  • หิวบ่อย ส่งผลให้น้ำหนักของคุณแม่เพิ่มขึ้นประมาณ 1 -3 กิโลกรัม ในช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก
  • ช่วงนี้หน้าท้องคุณแม่เริ่มโตเห็นได้ชัดมากขึ้น

พัฒนาการทารกในครรภ์ 11 สัปดาห์

  • ความยาวของลูกจะอยู่ที่ประมาณ 44-60 มม. หนักประมาณ 8 กรัม มีอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ครบหมดแล้ว อาทิ สมอง ปอด ตับ ไต และลำไส้ ส่วนผมและเล็บกำลังขึ้น ม่านตากำลังพัฒนา
  • เริ่มมองเห็นเค้าโครงใบหน้าของลูกน้อยได้อย่างสมบูรณ์มากขึ้น ขนาดของศีรษะยังคงใหญ่กว่าส่วนอื่น เพื่อรองรับการเติบโตของสมองต่อไป
  • ตับเริ่มผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงได้
  • ไตเริ่มทำงานได้ มีการขับของเสียออกมาทางน้ำคร่ำ

อายุครรภ์ 12 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์

  • มดลูกของคุณแม่จะขยายใหญ่ขึ้นประมาณ 10 ซม. เริ่มเลื่อนจากอุ้งเชิงกรานไปยังช่องท้อง และเริ่มไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้คุณแม่เริ่มปัสสาวะบ่อยขึ้น คุณหมอเริ่มคำนวณวันคลอดได้แม่นยำขึ้นโดยดูจากความยาวของศีรษะมาจนถึงก้นลูก
  • หัวใจของคุณแม่จะเริ่มเต้นเร็วขึ้นประมาณ 2-3 ครั้งต่อนาที เพื่อรับกับปริมาตรที่เพิ่มขึ้นของเลือดซึ่งไหลเวียนในร่างกาย
  • อาการแพ้ท้องจะหายไปแล้วค่ะตั้งแต่ช่วงนี้
  • ฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนจะส่งผลให้กระบวนในการย่อยอาหารช้าลง ลำไส้ใหญ่ดูดซึมน้ำในปริมาณที่มากขึ้น จึงทำให้อุจจาระจับตัวเป็นก้อนแข็ง ดังนั้น คุณแม่ควรกินผลไม้และผักให้มากขึ้น
  • เส้นเลือดที่หน้าอก ท้อง ขา จะเริ่มขยายตัวมากขึ้น

พัฒนาการทารกในครรภ์ 12 สัปดาห์

  • ความยาวลูกตอนนี้จะอยู่ที่ประมาณ 61 มม. หนักประมาณ 9-13 กรัม
  • อวัยวะต่าง ๆ เติบโตต่อ กระดูกเริ่มแข็งแรงขึ้น เนื่องจากการเสริมแคลเซียม ความเสี่ยงในเรื่องทารกผิดปกติเริ่มน้อยลง
  • ต่อมใต้สมองที่ฐานสมองกำลังผลิตฮอร์โมน สร้างเส้นเสียง และระบบย่อยอาหารสามารถบีบตัวไล่อาหารไปตามลำไส้และดูดซึมกลูโคสได้
  • อวัยวะเพศเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง แต่จะมีคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นที่จะสามารถระบุได้

อายุครรภ์ 13 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 13 สัปดาห์

  • อัตราการเสี่ยงแท้งลดลง
  • รกมีการพัฒนาที่เกือบสมบูรณ์ สามารถทำหน้าที่แลกเปลี่ยนออกซิเจน ส่งผ่านอาหาร และขับถ่ายของเสียออกมาได้
  • ความดันโลหิตของคุณแม่จะลดลง เพราะฮอร์โมนจากการตั้งครรภ์จะทำให้ระบบการไหลเวียนโลหิตมีการขยายตัวมากขึ้น แต่จะกลับสู่สภาวะปกติในสัปดาห์ที่ 24 ของการตั้งครรภ์
  • คุณแม่จะหายใจเร็วและถี่กว่าเดิม เพราะร่างกายต้องระบายปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากลูกน้อยส่งผ่านออกมาทางรก

พัฒนาการทารกในครรภ์ 13 สัปดาห์

  • ความยาวลูกจะอยู่ที่ 75 ซม. หนักประมาณ 20 กรัม
  • เริ่มมีการเคลื่อนไหวอย่าสม่ำเสมอจนคุณแม่รู้สึกได้
  • ตับอ่อนเริ่มผลิตอินซูลิน พัฒนาการทางระบบประสาทก็พัฒนาไปได้เรื่อย ๆ หากนิ้วมือของทารกบังเอิญไปสัมผัสกับรก เค้าจะสามารถจับรกได้
  • ระบบทางเดินอาหารของทารกเริ่มทำงาน
  • ทารกเริ่มดูดปาก กลืนน้ำคร่ำ และปัสสาวะได้
  • เส้นเลือดดำและอวัยวะต่าง ๆ เริ่มมองเห็นได้ชัดขึ้นผ่านผิวหนังบาง ๆ ของลูกน้อย

อาหารบำรุงครรภ์ 9 – 13 สัปดาห์

  • คุณแม่บางคนอาจจะยังแพ้ท้องอยู่ บางคนก็หายจากอาการแพ้แล้ว ซึ่งสารอาหารบำรุงครรภ์ที่ยังจำเป็นอยู่ ได้แก่ โปรตีน โฟเลต แคลเซียม วิตามินต่าง ๆ และควรกินอาหารให้รบ 5 หมู่ เป็นประจำทุกวัน
  • อัตราการเผาผลาญอาหารในร่างกายของคุณแม่จะเร็วกว่าปกติ การกินวิตามินบี 3 จะมีส่วนช่วยในเรื่องของกระบวนการเผาผลาญอาหาร และยังช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกายได้อีกด้วย อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 3 ได้แก่ ปลา เนื้อไก่ เนื้อสัตว์ เห็ด และถั่ว เป็นต้น
  • อย่าลืมที่จะดื่มน้ำเปล่าสะอาดให้ได้วันละ 6 – 8 แก้ว เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ

การตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาส 3 นี้ โอกาสในการเสี่ยงแท้งมีน้อยแล้ว แต่คุณแม่ก็ต้องรับบทหนักมากขึ้น เพราะต้องเติมสารอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายทั้งคุณแม่และลูกน้อย อย่าลืมที่จะกินโปรตีน แคลเซียม โฟเลต และธาตุเหล็ก เป็นประจำนะคะ

การเปลี่ยนแปลงแม่ตั้งครรภ์ แต่ละสัปดาห์

[random_posts2 limit=10]