อาหารบำรุงครรภ์ และตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 9 ถึง สัปดาห์ที่ 13

พัฒนาการตั้งครรภ์
JESSIE MUM

ตั้งครรภ์มาได้เข้าสัปดาห์ที่ 9 ร่างกายคุณแม่จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง อาการแพ้ท้องจะหายหรือยัง และทารกในครรภ์จะเจริญเติบโตไปแค่ไหน ไปติดตามกันเลยค่ะ

อายุครรภ์ 9 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 9 สัปดาห์

  • ช่วงนี้ระดับฮอร์โมนเอสโทรเจนและโพรเจสเทอโรนเพิ่มมากขึ้น จึงส่งผลให้เต้านมขยายขึ้น ต่อมผลิตน้ำนมก็ขยายตัวมากขึ้นเช่นกัน ลานนมกว้าง และมีสีคล้ำขึ้น คุณแม่จึงเจ็บเต้านมได้ง่าย
  • ยกทรงที่ใส่ควรเป็นยกทรงสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ เพราะจะช่วยพยุงและโอบอุ้มน้ำหนักของเต้านมได้ดีกว่ายกทรงทั่วไป

พัฒนาการทารกในครรภ์ 9 สัปดาห์

  • สัปดาห์นี้ความยาวของลูกจะอยู่ที่ 22-30 มม. และหนักประมาณ 4 กรัม
  • ศีรษะใหญ่ขึ้น หลังตรง เห็นคอได้ชัดขึ้น ผิวหนังหนาขึ้น แขนและขากำลังยืดยาวเจริญเติบโต
  • ลำไส้เริ่มย้ายกลับเข้าไปในช่องท้อง ซึ่งมีพื้นที่ใหญ่พอให้ลำไส้ได้เข้าไปอยู่
  • หัวใจของทารกเริ่มมีโครงสร้างที่สมบูรณ์มากขึ้น แบ่งออกเป็นสีช่องเรียบร้อย
  • มีลิ้นกับฟันซี่เล็ก ๆ ขึ้นที่ใต้เหงือก
  • ระบบหลอดเลือดเริ่มพัฒนาขึ้น เริ่มซับซ้อนมากขึ้น
  • กล้ามเนื้อและระบบประสาทเริ่มประสานต่อกัน

อายุครรภ์ 10 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 10 สัปดาห์

  • หากคุณแม่ไปตรวจกับแพทย์ตามนัด คุณแม่จะได้ยินเสียงหัวใจของลูกน้อยในครรภ์ผ่านเครื่องฟังของแพทย์
  • มดลูกยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ คุณแม่จะเริ่มรู้สึกว่าตัวเริ่มหนาขึ้น และเพื่อไม่ให้คุณแม่ต้องอึดอัด การเลือกสวมเสื้อผ้าที่ไม่รัดเกินไปจะทำให้คุณแม่สบายตัวมากขึ้นค่ะ
  • ในส่วนของหัวใจของคุณแม่ ในช่วงนี้จะทำงานหนักมากขึ้น เพราะหัวใจต้องทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย การทำงานที่หนักขึ้นนี้ ส่งผลให้หัวใจของคุณแม่โตขึ้นเล็กน้อย

พัฒนาการทารกในครรภ์ 10 สัปดาห์

  • ลูกจะมีความยาวอยู่ที่ 37-42 มม. หนักประมาณ 5 กรัม ช่วงนี้เรียกได้ว่าทารกเริ่มพัฒนาค่อนข้างสมบูรณ์ หน้าตาเริ่มชัดเจน เปลือกตาสามารถปิดได้สนิท และจะไม่ลืมตาจนกว่าอายุครรภ์ได้ 27 สัปดาห์
  • ระบบประสาทเริ่มมีการตอบสนอง อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 140 ครั้งต่อนาที
  • ใบหูส่วนนอก นิ้วมือ เริ่มเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะนิ้วโป้ง

อายุครรภ์ 11 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 11 สัปดาห์

  • อาการคลื่นไส้ หรืออาการแพ้ท้องเริ่มลดลง แต่จะเริ่มมีอาการท้องผูกแทน เพราะระดับฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ บางรายอาจรู้สึกแน่นหน้าอกมากขึ้น เนื่องจากมีกรดในกระเพาะมากไป
  • ช่วงนี้อาหารที่คุณแม่ทานเข้าไปจะเผาผลาญเร็วกว่าตอนก่อนตั้งครรภ์ ปริมาณเลือดที่สูบฉีดเข้าร่างกายมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ซึ่งคุณแม่จะรู้สึกว่าร่างกายและมืออุ่นขึ้น บางรายอาจมีเหงื่อออกมากกว่าปกติ ที่สำคัญ คุณหมอเริ่มจะคำนวณวันคลอดได้คร่าวๆ แล้วค่ะ
  • หิวบ่อย ส่งผลให้น้ำหนักของคุณแม่เพิ่มขึ้นประมาณ 1 -3 กิโลกรัม ในช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก
  • ช่วงนี้หน้าท้องคุณแม่เริ่มโตเห็นได้ชัดมากขึ้น

พัฒนาการทารกในครรภ์ 11 สัปดาห์

  • ความยาวของลูกจะอยู่ที่ประมาณ 44-60 มม. หนักประมาณ 8 กรัม มีอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ครบหมดแล้ว อาทิ สมอง ปอด ตับ ไต และลำไส้ ส่วนผมและเล็บกำลังขึ้น ม่านตากำลังพัฒนา
  • เริ่มมองเห็นเค้าโครงใบหน้าของลูกน้อยได้อย่างสมบูรณ์มากขึ้น ขนาดของศีรษะยังคงใหญ่กว่าส่วนอื่น เพื่อรองรับการเติบโตของสมองต่อไป
  • ตับเริ่มผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงได้
  • ไตเริ่มทำงานได้ มีการขับของเสียออกมาทางน้ำคร่ำ

อายุครรภ์ 12 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์

  • มดลูกของคุณแม่จะขยายใหญ่ขึ้นประมาณ 10 ซม. เริ่มเลื่อนจากอุ้งเชิงกรานไปยังช่องท้อง และเริ่มไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้คุณแม่เริ่มปัสสาวะบ่อยขึ้น คุณหมอเริ่มคำนวณวันคลอดได้แม่นยำขึ้นโดยดูจากความยาวของศีรษะมาจนถึงก้นลูก
  • หัวใจของคุณแม่จะเริ่มเต้นเร็วขึ้นประมาณ 2-3 ครั้งต่อนาที เพื่อรับกับปริมาตรที่เพิ่มขึ้นของเลือดซึ่งไหลเวียนในร่างกาย
  • อาการแพ้ท้องจะหายไปแล้วค่ะตั้งแต่ช่วงนี้
  • ฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนจะส่งผลให้กระบวนในการย่อยอาหารช้าลง ลำไส้ใหญ่ดูดซึมน้ำในปริมาณที่มากขึ้น จึงทำให้อุจจาระจับตัวเป็นก้อนแข็ง ดังนั้น คุณแม่ควรกินผลไม้และผักให้มากขึ้น
  • เส้นเลือดที่หน้าอก ท้อง ขา จะเริ่มขยายตัวมากขึ้น

พัฒนาการทารกในครรภ์ 12 สัปดาห์

  • ความยาวลูกตอนนี้จะอยู่ที่ประมาณ 61 มม. หนักประมาณ 9-13 กรัม
  • อวัยวะต่าง ๆ เติบโตต่อ กระดูกเริ่มแข็งแรงขึ้น เนื่องจากการเสริมแคลเซียม ความเสี่ยงในเรื่องทารกผิดปกติเริ่มน้อยลง
  • ต่อมใต้สมองที่ฐานสมองกำลังผลิตฮอร์โมน สร้างเส้นเสียง และระบบย่อยอาหารสามารถบีบตัวไล่อาหารไปตามลำไส้และดูดซึมกลูโคสได้
  • อวัยวะเพศเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง แต่จะมีคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นที่จะสามารถระบุได้

อายุครรภ์ 13 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ตั้งครรภ์ 13 สัปดาห์

  • อัตราการเสี่ยงแท้งลดลง
  • รกมีการพัฒนาที่เกือบสมบูรณ์ สามารถทำหน้าที่แลกเปลี่ยนออกซิเจน ส่งผ่านอาหาร และขับถ่ายของเสียออกมาได้
  • ความดันโลหิตของคุณแม่จะลดลง เพราะฮอร์โมนจากการตั้งครรภ์จะทำให้ระบบการไหลเวียนโลหิตมีการขยายตัวมากขึ้น แต่จะกลับสู่สภาวะปกติในสัปดาห์ที่ 24 ของการตั้งครรภ์
  • คุณแม่จะหายใจเร็วและถี่กว่าเดิม เพราะร่างกายต้องระบายปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากลูกน้อยส่งผ่านออกมาทางรก

พัฒนาการทารกในครรภ์ 13 สัปดาห์

  • ความยาวลูกจะอยู่ที่ 75 ซม. หนักประมาณ 20 กรัม
  • เริ่มมีการเคลื่อนไหวอย่าสม่ำเสมอจนคุณแม่รู้สึกได้
  • ตับอ่อนเริ่มผลิตอินซูลิน พัฒนาการทางระบบประสาทก็พัฒนาไปได้เรื่อย ๆ หากนิ้วมือของทารกบังเอิญไปสัมผัสกับรก เค้าจะสามารถจับรกได้
  • ระบบทางเดินอาหารของทารกเริ่มทำงาน
  • ทารกเริ่มดูดปาก กลืนน้ำคร่ำ และปัสสาวะได้
  • เส้นเลือดดำและอวัยวะต่าง ๆ เริ่มมองเห็นได้ชัดขึ้นผ่านผิวหนังบาง ๆ ของลูกน้อย

อาหารบำรุงครรภ์ 9 – 13 สัปดาห์

  • คุณแม่บางคนอาจจะยังแพ้ท้องอยู่ บางคนก็หายจากอาการแพ้แล้ว ซึ่งสารอาหารบำรุงครรภ์ที่ยังจำเป็นอยู่ ได้แก่ โปรตีน โฟเลต แคลเซียม วิตามินต่าง ๆ และควรกินอาหารให้รบ 5 หมู่ เป็นประจำทุกวัน
  • อัตราการเผาผลาญอาหารในร่างกายของคุณแม่จะเร็วกว่าปกติ การกินวิตามินบี 3 จะมีส่วนช่วยในเรื่องของกระบวนการเผาผลาญอาหาร และยังช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกายได้อีกด้วย อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 3 ได้แก่ ปลา เนื้อไก่ เนื้อสัตว์ เห็ด และถั่ว เป็นต้น
  • อย่าลืมที่จะดื่มน้ำเปล่าสะอาดให้ได้วันละ 6 – 8 แก้ว เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ

การตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาส 3 นี้ โอกาสในการเสี่ยงแท้งมีน้อยแล้ว แต่คุณแม่ก็ต้องรับบทหนักมากขึ้น เพราะต้องเติมสารอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายทั้งคุณแม่และลูกน้อย อย่าลืมที่จะกินโปรตีน แคลเซียม โฟเลต และธาตุเหล็ก เป็นประจำนะคะ

การเปลี่ยนแปลงแม่ตั้งครรภ์ แต่ละสัปดาห์

[random_posts2 limit=10]

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP