Site icon คุณแม่ลูกอ่อน

โรคไข้ดิน อันตรายไหม วิธีป้องกันหรือเปล่า

โรคไข้ดิน อันตรายไหม วิธีป้องกันหรือเปล่า

โรคไข้ดิน โรคติดเชื้อที่ควรจะระวังอย่างต่อเนื่องในช่วงนี้ โดยเฉพาะหน้าฝน ไม่แพ้การแพร่ระบาดของโควิด-19 เลยก็ว่าได้  เพราะโรคนี้หากเข้ารับการรักษาช้า อาจเสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม มีรายงานแล้วว่าโรคไข้ดิน ได้คร่าชีวิตผู้คนในประเทศไทยไปแล้วจำนวน 5 ราย เพื่อเป็นการเฝ้าระวังเบื้องต้น ทุกคนจะต้องทำความรู้จักกับโรคร้ายนี้ให้มากยิ่งขึ้น และปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการติดเชื้อจากโรคไข้ดินได้

ทำความรู้จักกับโรคไข้ดิน

โรคไข้ดิน หรือ โรคเมลิออยด์ (Melioidosis) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Burkholderia pseudomallei ที่สามารถพบได้ทั่วไปตามพื้นที่อย่างดินและน้ำ และพบได้มากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ของประเทศไทย โดยโรคนี้มักจะเกิดกับชาวเกษตรหรือผู้ที่ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม นอกจากนี้ ยังพบว่าโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อย่างเช่น เบาหวาน โรคปอด ธาลัสซีเมีย และ ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องอีกด้วย

โรคไข้ดิน หรือ โรคเมลิออยด์ (Melioidosis) ติดต่อทางใดได้บ้าง

การติดเชื้อทางปอด

การติดเชื้อทางปอด จะมีอาการไข้ขึ้น และจะมีอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจร่วมด้วย เกิดจากการสูดเอาอากาศและฝุ่นละอองที่มีแบคทีเรียปนเปื้อน อย่างไรก็ตาม อาการมีความคล้ายคลึงกับวัณโรค ทำให้เกิดการสับสน แพทย์จะมีการตรวจเพื่อยืนยันโดยการนำเสมหะมาตรวจ หรือการเอกซเรย์ปอดเพื่อตรวจดูมีพบก้อนหนองภายในหรือไม่

การติดเชื้อทางผิวหนัง

การติดเชื้อทางผิวหนัง จะก่อให้เกิดแผลเรื้อรัง หายได้ยาก ซึ่งเกิดจากการรับเชื้อเข้าทางบาดแผลบริเวณผิวหนัง ที่มีการลุยดินและน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย ตามผิวหนังอาจพบกับตุ่มหนอง ฝีหนอง ซึ่งเป็นแหล่งสะสมเชื้อแบคทีเรีย

การติดเชื้อผ่านการรับประทานอาหาร

หากมีการรับประทานอาหาร น้ำดื่ม ที่มีเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อน ก็สามารถทำให้ได้รับเชื้อเช่นเดียวกัน โดยจะแสดงอาการบวมบริเวณฝีหนอง และอาจพบอาการบวมบริเวณต่อมน้ำเหลืองที่คอของผู้ติดเชื้อได้ โดยอาการบวมบริเวณคอ เมื่อกดจะรู้สึกเจ็บ

การติดเชื้อในกระแสเลือด

เป็นอาการรุนแรงที่สุดของโรคไข้ดิน หรือ โรคเมลิออยด์ (Melioidosis) เกิดได้ทั้งจากการติดเชื้อที่ปอดและผิวหนัง เมื่อไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที โดยจะแสดงอาการ ไข้ มีความดันโลหิตต่ำ ในบางรายอาจมีอาการช็อกร่วมด้วย รวมถึงอวัยวะภายในร่างกาย จะเกิดฝีทั้งในตับและม้าม ซึ่งอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

อาการของโรคไข้ดิน

อาการของโรคไข้ดิน หรือ โรคเมลิออยด์ (Melioidosis) จะแสดงออกโดยมีอาการทั่วไป ได้แก่ มีไข้ และอาการอื่น ๆ ที่สามารถบ่งชี้ได้ เช่น มีฝีหนองบริเวณผิวหนังหรือบริเวณต่อมน้ำเหลืองที่คอ นอกจากนี้ สามารถตรวจพบเชื้อได้จากอวัยวะภายในอื่น ๆ ได้แก่ ตับ ปอด ม้าม และไต ซึ่งหากมีอาการที่ค่อนข้างรุนแรง จะเป็นการติดเชื้อในกระแสเลือดแบบเฉียบพลัน และหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างรวดเร็ว ก็จะทำให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตได้ในที่สุด

ความรุนแรงของโรคไข้ดิน

ตามที่กล่าวในข้างต้น หากมีการรักษาที่ไม่ทันท่วงที ก็อาจส่งผลให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตได้ เพราะหากเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด จะส่งผลต่อระบบอวัยวะอื่น ๆ อย่างเช่น ภาวะแทรกซ้อน ที่ทำให้อวัยวะภายในทำงานได้บกพร่อง เช่น ไตวาย ถือว่าเป็นโรคที่ค่อนข้างอันตรายและต้องได้รับความระมัดระวังเป็นอย่างสูง และเมื่อพบอาการที่เข้าขั้นเสี่ยง ควรที่จะได้รับการวินิจฉัยโดยเร็วที่สุด เพื่อหาแนวทางรักษาต่อไป

นอกจากนี้ เชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ จะมีเวลาอยู่ได้ค่อนข้างนาน หากมีการติดเชื้อภายในสัตว์ และนำไปฝังดิน เชื้อบริเวณนั้นจะคงอยู่ตลอดไป และเมื่อมีการสัมผัสกับมนุษย์ก็จะส่งผลทำให้ติดเชื้อจากการฟุ้งของดินและฝุ่นขึ้นไปบนอากาศ เนื่องจากว่าโรคไข้ดิน เป็นโรคที่สามารถติดต่อได้หลายช่องทาง จึงมีโอกาสเสี่ยงสูงที่ผู้ใกล้ชิดจะสามารถได้รับเชื้อได้

กลุ่มเสี่ยงโรคไข้ดินสูง

ผู้ป่วยที่เสียงต่อโรคไข้ดิน ได้แก่

  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง และ ผู้ป่วยเอชไอวี
  • ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกร เป็นผู้ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการทำเกษตรได้ แนะนำให้สวมรองเท้าบูททุกครั้ง และพยายามอย่าให้มีบาดแผลบริเวณเท้า เมื่อจำเป็นต้องสัมผัสกับดินและโคลน และพยายามหลีกเลี่ยงการใช้เท้าเปล่า เหยียบย่ำบริเวณพื้นดิน

หลังจากนั้น ควรล้างเท้าให้สะอาดทุกครั้ง เมื่อพบอาการที่เสี่ยงต่อโรคไข้ดิน ตามที่ได้กล่าวถึงอาการในเบื้องต้น ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อฟังคำวินิจฉัย เพราะหากมีการรักษาที่ทันเวลา ก็จะช่วยป้องกันอาการรุนแรงจากโรคไข้ดินได้

โรคไข้ดิน หรือ โรคเมลิออยด์ (Melioidosis) เป็นโรคที่อันตรายอีกโรคหนึ่ง แต่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากมีการวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที โดยการรักษาของแพทย์นั้น จะเป็นการให้ยาปฏิชีวนะ และให้ยาสำหรับการกินต่อเนื่อง หากผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนร่วมด้วย ก็อาจจะมีการจ่ายยาให้ตามความเหมาะสม การรู้เท่าทันโรคร้าย จะช่วยทำให้ผู้ป่วยสามารถรับมือกับโรคเหล่านั้นได้ทันเวลา