โรคไข้ดิน อันตรายไหม วิธีป้องกันหรือเปล่า

โรค
JESSIE MUM

โรคไข้ดิน โรคติดเชื้อที่ควรจะระวังอย่างต่อเนื่องในช่วงนี้ โดยเฉพาะหน้าฝน ไม่แพ้การแพร่ระบาดของโควิด-19 เลยก็ว่าได้  เพราะโรคนี้หากเข้ารับการรักษาช้า อาจเสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม มีรายงานแล้วว่าโรคไข้ดิน ได้คร่าชีวิตผู้คนในประเทศไทยไปแล้วจำนวน 5 ราย เพื่อเป็นการเฝ้าระวังเบื้องต้น ทุกคนจะต้องทำความรู้จักกับโรคร้ายนี้ให้มากยิ่งขึ้น และปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการติดเชื้อจากโรคไข้ดินได้

ทำความรู้จักกับโรคไข้ดิน

โรคไข้ดิน หรือ โรคเมลิออยด์ (Melioidosis) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Burkholderia pseudomallei ที่สามารถพบได้ทั่วไปตามพื้นที่อย่างดินและน้ำ และพบได้มากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ของประเทศไทย โดยโรคนี้มักจะเกิดกับชาวเกษตรหรือผู้ที่ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม นอกจากนี้ ยังพบว่าโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อย่างเช่น เบาหวาน โรคปอด ธาลัสซีเมีย และ ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องอีกด้วย

โรคไข้ดิน หรือ โรคเมลิออยด์ (Melioidosis) ติดต่อทางใดได้บ้าง

การติดเชื้อทางปอด

การติดเชื้อทางปอด จะมีอาการไข้ขึ้น และจะมีอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจร่วมด้วย เกิดจากการสูดเอาอากาศและฝุ่นละอองที่มีแบคทีเรียปนเปื้อน อย่างไรก็ตาม อาการมีความคล้ายคลึงกับวัณโรค ทำให้เกิดการสับสน แพทย์จะมีการตรวจเพื่อยืนยันโดยการนำเสมหะมาตรวจ หรือการเอกซเรย์ปอดเพื่อตรวจดูมีพบก้อนหนองภายในหรือไม่

การติดเชื้อทางผิวหนัง

การติดเชื้อทางผิวหนัง จะก่อให้เกิดแผลเรื้อรัง หายได้ยาก ซึ่งเกิดจากการรับเชื้อเข้าทางบาดแผลบริเวณผิวหนัง ที่มีการลุยดินและน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย ตามผิวหนังอาจพบกับตุ่มหนอง ฝีหนอง ซึ่งเป็นแหล่งสะสมเชื้อแบคทีเรีย

การติดเชื้อผ่านการรับประทานอาหาร

หากมีการรับประทานอาหาร น้ำดื่ม ที่มีเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อน ก็สามารถทำให้ได้รับเชื้อเช่นเดียวกัน โดยจะแสดงอาการบวมบริเวณฝีหนอง และอาจพบอาการบวมบริเวณต่อมน้ำเหลืองที่คอของผู้ติดเชื้อได้ โดยอาการบวมบริเวณคอ เมื่อกดจะรู้สึกเจ็บ

การติดเชื้อในกระแสเลือด

เป็นอาการรุนแรงที่สุดของโรคไข้ดิน หรือ โรคเมลิออยด์ (Melioidosis) เกิดได้ทั้งจากการติดเชื้อที่ปอดและผิวหนัง เมื่อไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที โดยจะแสดงอาการ ไข้ มีความดันโลหิตต่ำ ในบางรายอาจมีอาการช็อกร่วมด้วย รวมถึงอวัยวะภายในร่างกาย จะเกิดฝีทั้งในตับและม้าม ซึ่งอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

อาการของโรคไข้ดิน

อาการของโรคไข้ดิน หรือ โรคเมลิออยด์ (Melioidosis) จะแสดงออกโดยมีอาการทั่วไป ได้แก่ มีไข้ และอาการอื่น ๆ ที่สามารถบ่งชี้ได้ เช่น มีฝีหนองบริเวณผิวหนังหรือบริเวณต่อมน้ำเหลืองที่คอ นอกจากนี้ สามารถตรวจพบเชื้อได้จากอวัยวะภายในอื่น ๆ ได้แก่ ตับ ปอด ม้าม และไต ซึ่งหากมีอาการที่ค่อนข้างรุนแรง จะเป็นการติดเชื้อในกระแสเลือดแบบเฉียบพลัน และหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างรวดเร็ว ก็จะทำให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตได้ในที่สุด

ความรุนแรงของโรคไข้ดิน

ตามที่กล่าวในข้างต้น หากมีการรักษาที่ไม่ทันท่วงที ก็อาจส่งผลให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตได้ เพราะหากเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด จะส่งผลต่อระบบอวัยวะอื่น ๆ อย่างเช่น ภาวะแทรกซ้อน ที่ทำให้อวัยวะภายในทำงานได้บกพร่อง เช่น ไตวาย ถือว่าเป็นโรคที่ค่อนข้างอันตรายและต้องได้รับความระมัดระวังเป็นอย่างสูง และเมื่อพบอาการที่เข้าขั้นเสี่ยง ควรที่จะได้รับการวินิจฉัยโดยเร็วที่สุด เพื่อหาแนวทางรักษาต่อไป

นอกจากนี้ เชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ จะมีเวลาอยู่ได้ค่อนข้างนาน หากมีการติดเชื้อภายในสัตว์ และนำไปฝังดิน เชื้อบริเวณนั้นจะคงอยู่ตลอดไป และเมื่อมีการสัมผัสกับมนุษย์ก็จะส่งผลทำให้ติดเชื้อจากการฟุ้งของดินและฝุ่นขึ้นไปบนอากาศ เนื่องจากว่าโรคไข้ดิน เป็นโรคที่สามารถติดต่อได้หลายช่องทาง จึงมีโอกาสเสี่ยงสูงที่ผู้ใกล้ชิดจะสามารถได้รับเชื้อได้

กลุ่มเสี่ยงโรคไข้ดินสูง

ผู้ป่วยที่เสียงต่อโรคไข้ดิน ได้แก่

  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • ธาลัสซีเมีย
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง และ ผู้ป่วยเอชไอวี
  • ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกร เป็นผู้ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการทำเกษตรได้ แนะนำให้สวมรองเท้าบูททุกครั้ง และพยายามอย่าให้มีบาดแผลบริเวณเท้า เมื่อจำเป็นต้องสัมผัสกับดินและโคลน และพยายามหลีกเลี่ยงการใช้เท้าเปล่า เหยียบย่ำบริเวณพื้นดิน

หลังจากนั้น ควรล้างเท้าให้สะอาดทุกครั้ง เมื่อพบอาการที่เสี่ยงต่อโรคไข้ดิน ตามที่ได้กล่าวถึงอาการในเบื้องต้น ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อฟังคำวินิจฉัย เพราะหากมีการรักษาที่ทันเวลา ก็จะช่วยป้องกันอาการรุนแรงจากโรคไข้ดินได้

โรคไข้ดิน หรือ โรคเมลิออยด์ (Melioidosis) เป็นโรคที่อันตรายอีกโรคหนึ่ง แต่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากมีการวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที โดยการรักษาของแพทย์นั้น จะเป็นการให้ยาปฏิชีวนะ และให้ยาสำหรับการกินต่อเนื่อง หากผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนร่วมด้วย ก็อาจจะมีการจ่ายยาให้ตามความเหมาะสม การรู้เท่าทันโรคร้าย จะช่วยทำให้ผู้ป่วยสามารถรับมือกับโรคเหล่านั้นได้ทันเวลา

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP