หากในช่วงสถานการณ์ของโควิด-19 ยังไม่ผ่านพ้นไปอย่างง่ายดาย เราก็ไม่ต้องหวั่นวิตกหรือหวาดระแวงกันมากเกินไป เพราะอาจจะทำให้เกิดภาวะความเครียดตามมาได้อย่างไม่ทันคาดคิด ในเวลาแบบนี้เราน่าจะมาหาวิธีการป้องกันหรือรับมือกันให้มากจะดีกว่านะคะ อย่างเช่นในตอนนี้เราจะมารู้จักพืชผักสมุนไพรไทย ๆ ที่สามารถนำมาเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารระหว่างวันหยุดของครอบครัวกันนะคะ
ใครจะเชื่อว่า “ไม้ป่า” นานาชนิดนอกจากนำมาปรุงแต่งเป็นอาหารได้หลากหลายแล้ว ยังเสมือนยาชนิดดีอีกด้วย ข้อมูลจากกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้ระบุไว้ด้วยผลของการวิจัยว่า สมุนไพรไทยจำนวนถึง 22 ชนิด มีฤทธิ์ในการลดโอกาสติดชื้อโคโรน่าไวรัส หรือ ที่เราเรียกกันติดปากว่า Covid-19 โดยที่ 8 ชนิดของสมุนไพรไทยที่จะมาบอกเล่ากันในครั้งนี้จัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า “ไม้ป่า” เรามาลองดูกัน นะคะว่ามีอะไรบ้างและเรารู้จักกันมากเพียงใด
สารบัญ
มะรุม หรือ (Moringa)
มีประโยชน์มากมายทั้งในเรื่องของการนำมาทำเป็นอาหาร ยา และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายได้ สิ่งที่เป็นประโยชน์สำคัญข้อหนึ่งก็คือ รักษาปอดให้แข็งแรง รักษาโรคทางเดินของลมหายใจ และโรคปอดอักเสบ จึงไม่แปลกเลยที่มะรุมจะเป็นสมุนไพรที่ช่วยลดการติดเชื้อไวรัสได้
ดอกขี้เหล็ก (Cassia flower)
ขี้เหล็กเป็นพืชที่อยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ของชุมชนหลาย ๆ แห่ง และมีความแตกต่างกันไป แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันก็คือ สรรพคุณหลัก ๆ ก็คือช่วยบำรุงโลหิตได้ดี
มะขามป้อม (Emblica) เป็นสมุนไพรประเภทหนึ่งที่เราทราบกันดีว่ามีวิตามินสูงที่สุด คือสูงกว่าน้ำส้มคั้นถึง 20 เท่า จึงมีสรรพคุณที่ดีอย่างยิ่งในการรับประทานเพื่อเป็นการบรรเทาอาการหวัด และสามารถ แก้ไอและละลายเสมหะได้ดีอีกด้วย รวมทั้งมะขามป้อมยังมีแทนนินที่นับได้ว่ามีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันและ ต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ได้เป็นอย่างดี
สมอพิเภก (Terminalia bellirica)
เป็นสมุนไพรที่ค่อนข้างมีรสเปรี้ยว และมีสรรพคุณตามตำราไทย คือ เป็นยาระบายอ่อน ๆ เมื่อชงดื่มก็จะทำให้ชุ่มคอ นอกจากนสมอพิเภกยังบำรุงธาตุ และใช้รักษาไข้ได้
สมอไทย (Terminalia chebula Retz.)
เป็นสมุนไพรที่ค่อนข้างมีรสเปรี้ยวขมอมฝาด มีแทนนินเช่นเดียวกับมะขามป้อม รวมทั้งสมอไทยยังมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์หลายชนิดไม่ว่าจะเป็น วิตามินซี วิตามินเอ แคลเซียม ฟอสฟอรัส
ผักหวานป่า (Melientha suavis Pierre)
สมุนไพรชนิดนี้สามารถนำยอดและใบอ่อนมาทำอาหารได้หลากหลายชนิด นอกจากนี้ สรรพคุณที่โดดเด่นของผักหวานป่าก็คือ ช่วยลดอาการปวดศีรษะ ปวดตามข้อ และยังสามารถแก้พิษไข้ได้อีกด้วย
ผักเหลียง (Gnetum gnemon)
จัดเป็นผักพื้นบ้านของทางภาคใต้ที่ส่วนใหญ่นิยมรับประทานใบอ่อนของผักเหลียง เราคงคุ้นเคยกันเวลานำมาทำเป็นอาหารที่เรียกว่า “ผักเหลียงผัดไข่” ที่มักจะมีอยู่ตามร้านอาหารปักษ์ใต้ และหลาย ๆ คนก็ชื่นชอบ สรรพคุณหลัก ๆ ของผักเหลียงก็คือ สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยร่างกาย และช่วยบำรุงเส้นเอ็นได้เป็นอย่างดี
ยอดสะเดา (Azadirachta indica)
นับเป็นสมุนไพรที่หลาย ๆ คนโปรดปรานกันมาก โดยเฉพาะเมื่อถึงช่วงเวลาของการทำสะเดาน้ำปลาหวาน เชื่อว่าไม่ทำให้ทุกคนผิดหวังกับอาหารมื้อนั้นเลย และหากกล่าวถึงสรรพคุณก็คงไม่น้อยไปกว่าสมุนไพรอื่น ๆ เพราะแต่ละส่วนของยอดสะเดานั้นสามารถเป็นยารักษาโรคได้ดีเลยทีเดียว สิ่งที่ดีที่สุดก็คือ การช่วยในการแก้ไข้ และสามารถนำมาทำยารักษาไข้มาลาเรียได้
สมุนไพรทั้ง 8 ชนิดที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นพืชผักที่เราเรียกกันในกลุ่มของ “ไม้ป่า” เมื่อเราทราบถึงสรรพคุณกันแล้วก็คงจะไม่ปฏิเสธว่า นอกจากจะปรุงแต่งเป็นอาหารรสชาติเด็ด ๆ กันได้แล้ว ก็ยังสามารถช่วยเป็นเสมือนยารักษาโรคที่ดีได้อีกอย่างหนึ่งเช่นกัน ซึ่งหากใครชอบอะไรหรือถนัดประกอบอาหารประเภทใด ก็ลองนำสมุนไพรเหล่านี้มาทำอาหารรับประทานกันในครอบครัวกับช่วงเวลาที่ต้องเผชิญกับไวรัสที่ร้ายแรงอย่างโควิด-19 กันดูนะคะ เพราะนอกจากจะอร่อยแล้วยังเป็นตัวช่วยลดการติดเชื้อได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ