Site icon คุณแม่ลูกอ่อน

มือเท้าปาก…ไม่อยากเป็น>.

เมื่อประมาณต้นปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2561)มีข่าวเกี่ยวกับการระบาดของโรคมือเท้าปากกันมากเลยทีเดียว ทำให้โรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศตื่นตัวกันใหญ่กับเรื่องนี้ สรุปแล้วโรคนี้มีความรุนแรงแค่ไหน? จะรู้ได้อย่างไรว่าได้รับเชื้อนี้แล้ว? มีอาการอย่างไรบ้าง?ต้องนอน รพ. หรือไม่? จะหายภายในกี่วัน? และอีกหลายคำถามตามมา วันนี้เราจะมาแบ่งปันเรื่องนี้กันค่ะ

โรคมือ เท้า ปาก เกิดจากการติดเชื้อไวรัส พบบ่อยในทารกและเด็กเล็กที่อายุต่ำว่า 5 ปีนับเป็นอีกหนึ่งโรคที่สร้างความกังวลใจให้คุณพ่อและคุณแม่อยู่ไม่น้อยทีเดียวเพราะก่อนหน้านี้พบว่ามีเด็กบางรายเสียชีวิตจากโรคนี้ด้วย แต่ในบางรายเป็นไม่มาก สามารถหายได้เอง

ทำไมบางรายถึงเสียชีวิต บางรายก็หายได้เอง?

วันนี้เราจะมาทำความรู้จักโรคนี้กันให้มากขึ้นค่ะ

สาเหตุของโรค

โรคมือเท้าปากเกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส ซึ่งมีเป็นร้อยๆ สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่พบบ่อยคือ

รับเชื้อได้ทางใดบ้าง?

ซึ่งสถานที่ที่พบบ่อยที่สุดคือ โรงเรียนอนุบาลและสถานรับเลี้ยงเด็ก และมักระบาดในช่วงฤดูฝนถึงฤดูหนาว

อาการ

อาการเริ่มแรกจะเหมือนไข้หวัด คือ

ซึ่งถ้าลูกน้อยบอกว่า “เผ็ด” หรือ “เจ็บ” ในปากให้คุณพ่อคุณแม่ตรวจในปากลูกเบื้องต้นได้เลยค่ะ เพราะอาจเริ่มมีแผลในปากแล้วหากพบแผลดังกล่าว ควรรีบนำส่งแพทย์เพื่อการรักษาทันทีค่ะ โดยระยะเวลาของโรคนี้จะเป็นอยู่ประมาณ 5-7 วัน กรณีที่รับเชื้อไม่รุนแรงนะคะ

ภาวะแทรกซ้อน

โรคนี้มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ เช่น เยื้อหุ้มสมองอักเสบ อัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ การเสียชีวิตไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนแผลในปากหรือตุ่มใสที่ขึ้นตามร่างกายดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกอย่างใกล้ชิด เพราะถึงแม้แผลในปากหรือตุ่มใสจะหายไปแล้ว แต่หากลูกน้อยมีอาการหรือสัญญาณเตือนดังต่อไปนี้ ควรรีบนำส่งแพทย์ทันทีนะคะ

การรักษา

โรคนี้ยังไม่มียากรักษาโดยเฉพาะค่ะ เพียงแต่รักษาตามอาการ เช่น ให้ทานยาลดไข้ เมื่อมีไข้ หากผู้ป่วยไม่สามารถทานอาหารได้ จนนอนซึม ก็จะให้น้ำเกลือทางหลอดเลือด หรือหากเจ็บแผลในปาก คุณหมอก็จะให้ยาชามาเพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บให้ผู้ป่วยได้ทานอาหารได้ เป็นต้นค่ะ

การป้องกัน

ด้วยความที่โรคนี้ยังไม่มียาหรือวัคซีนตัวใดที่รักษาเฉพาะโรค ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิดโดย

หากโรงเรียนพบเด็กที่เป็นโรคมือเท้าปากควรมีการจัดการอย่างเข้มงวด เช่น



จากทั้งหมดที่กล่าวมา เนื่องจากโรคยังไม่มียารักษาโดยตรง ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรเอาใจใส่ ดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิด คอยสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเพื่อการรักษาที่ทันท่วงที ป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น และที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่คงต้องเตรียมตัวเตรียมใจรับมือกับโรคนี้หากเกิดขึ้นกับลูกน้อย รอจนกว่าลูกจะโตขึ้นและมีภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้นต่อไป