ไวรัสโรต้า ท้องร่วง วายร้ายใกล้ตัวลูก

โรค
JESSIE MUM

ก่อนหน้านี้คุณแม่หลายๆ ท่านคงได้ยินข่าวแทบทุกวันเกี่ยวกับการระบาดของ “ไวรัสโรต้า” ที่แพร่ไปสู่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งแม้แต่ผู้ใหญ่ที่เมื่อรับเชื้อนี้เข้าไปยังต้องไปนอนซมให้น้ำเกลือกันเลยทีเดียว แล้วถ้าหากเกิดกับลูกน้อยล่ะ…? วันนี้เรามาทำความรู้จักกับเจ้า “ไวรัสโรต้า” กันดีกว่าค่ะ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกน้อย (โดยเฉพาะเด็กที่อายุ 3 เดือน – 3 ขวบ) และคนที่คุณรักได้รับเชื้อนี้เข้าไป

เชื้อไวรัสโรต้า” หากเทียบกับเชื้อไวรัสตัวอื่นๆ แล้วถือว่าตัวนี้เป็นเชื้อโรคที่พบบ่อยที่สุดในบรรดาเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรงในเด็กเล็ก เราจะพบเชื้อนี้มากในฤดูหนาว แต่ฤดูอื่นๆ ก็สามารถพบได้เช่นกัน เพียงแต่น้อยกว่าซึ่งก็ขึ้นอยู่กับ “สุขอนามัยการดูแลรักษาความสะอาด” เพราะเชื้อนี้จะเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายมากค่ะ

เมื่อพูดถึง “ความสะอาด” แน่นอนค่ะ ถ้าขึ้นชื่อว่า “เด็กเล็ก” คุณแม่หรือผู้ปกครองอาจจะดูแลได้ไม่ดีเยี่ยม 100% เพราะบางทีเด็กๆ อาจจะกำลังวิ่งเล่นอยู่แล้วเผลอเอามือเข้าปากโดยไม่รู้ตัว ขณะที่คุณแม่ก็ไม่ทันสังเกตเช่นกัน หากบังเอิญลูกน้อยไปเจอเอาเชื้อนี้เข้าพอดีก็ทำให้อาเจียนและท้องร่วงอย่างรุนแรงได้ไวรัสชนิดนี้จะมีชีวิตอยู่ได้ในอุณหภูมิปกติ

รับเชื้อได้จากทางใดบ้าง?

  1. น้ำลาย น้ำมูก หรืออุจจาระของผู้ป่วย
  2. ไอ จามรดกัน

ไวรัสโรต้าพบในสภาพอากาศแบบไหน

เชื้อไวรัสโรต้ามักจะเจริญเติบโตได้ดีและสามารถทนต่อสภาพแวดล้อมได้นาน โดยเฉพาะในที่แห้งและเย็น เพราะฉะนั้นจึงพบโรคนี้ระบาดมากในหน้าหนาว และพบมากในที่ที่มีคนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ โรงเรียน และตามสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ

อาการติดเชื้อไวรัสโรต้า

หลังจากที่รับเชื้อไวรัสนี้เข้าสู่ร่างกาย…

  1. ไวรัสตัวนี้มีระยะฟักตัว 2-4 วัน
  2. มีไข้สูง
  3. อาเจียนใน 2-3 วันแรก
  4. ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำนานประมาณ 3-8 วัน ผู้ป่วยที่มีอาการหนักมาก ในบางรายอาจพบภาวะขาดน้ำ ซึ่งอาจถึงขั้นช้อคได้ ที่สำคัญอาจมีสารเกลือแร่ในร่างกายที่ผิดปกติรวมอยู่ด้วย ข้อนี้คุณแม่อย่าเพิ่งนิ่งนอนใจไปนะคะ ว่าเดี๋ยวก็หาย เพราะเด็กเล็กที่มีอายุตั้งแต่ 3 เดือน – 3 ขวบ เป็นช่วงวัยที่รับเชื้อนี้ได้ง่ายมาก

การรักษาไวรัสโรต้า

สำหรับไวรัสตัวนี้ ยังไม่มีตัวยาที่รักษาเฉพาะโรคค่ะ เพียงรักษาตามอาการ เช่น

  1. ถ้ามีไข้ก็ทานยาลดไข้ แต่หากมีไข้สูงต้องเช็ดตัวควบคู่กันไป เพื่อลดไข้เป็นระยะค่ะ ไม่อย่างนั้นหากปล่อยให้มีไข้สูงมากๆ ผู้ป่วยอาจช้อคได้
  2. ให้สารน้ำ อาจจะโดยการรับประทานหรือให้ทางเส้นเลือด เพื่อป้องกันและแก้ไขภาวะขาดน้ำ
  3. หากผู้ป่วยมีอาการคลื่นไสหรืออาเจียน แพทย์จะพิจารณาให้ยาลดอาการคลื่นไส้อาเจียน หรือหากมีภาวะบกพร่องแลคเตสให้พิจารณาเปลี่ยนนมเป็นนมที่ไม่มีแลคโตส นมที่ไม่มีแลคโตส อย่างเช่น นมถั่วเหลือง เป็นต้น
  4. ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อน รสไม่จัดควรให้รับประทานอาหารและน้ำทีละน้อยๆ แต่บ่อยค่ะ
  5. นอนพักผ่อนให้เพียงพอ

การป้องกันไวรัสโรต้า

  1. การดูแลเรื่องความสะอาด – สุขอนามัย
    ข้อนี้นับเป็นประตูด่านแรกที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ค่ะ

    • ควรตัดเล็บให้สั้น หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือน้ำยาล้างมือโดยเฉพาะหลังการขับถ่ายและก่อนการรับประทานอาหารทุกครั้ง
    • ใช้ช้อนกลางในการตักอาหาร
    • หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกันกับผู้ป่วย
    • หมั่นล้างมือให้สะอาดบ่อย ๆ
  2. รับวัคซีนเสริมภูมิคุ้มกันไวรัสโรต้า สามารถรับได้ตั้งแต่ลูกน้อยอายุได้ 6 สัปดาห์ขึ้นไป
  3. ดื่มนมแม่ เพราะจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยได้

สัญญาณที่บอกว่าให้พบแพทย์ทันที

หากลูกน้อยมีอาการดังต่อไปนี้ ควรพาไปพบแพทย์ทันที

  • มีอาการซึม
  • ไม่มีแรง ไม่เล่น ไม่ร่าเริงเหมือนเคย
  • ปัสสาวะน้อย และมีสีเข้ม
  • ตัวเย็น
  • ร้องไห้ไม่มีน้ำตา เนื่องจากภาวะขาดน้ำ
  • มีไข้สูง
  • หอบ เหนื่อย
  • อาเจียนอย่างรุนแรง
  • ท้องร่วงอย่างต่อเนื่อง
แม่โน้ต

เมื่อครั้งที่น้องมินอายุได้ประมาณ 2 ขวบ กว่า น้องรับวัคซีนเสริมภูมิคุ้มกันไวรัสโรต้าไปแล้วนะคะ แต่หลังจากนั้นไม่นานน้องก็มีอาการท้องเสีย เพราะได้รับไวรัสนี้เข้าไป แต่อาการไม่รุนแรงมาก (แต่ก็แอดมิดไป 2 – 3 วัน) คือ ถึงแม้ว่าจะได้รับวัคซีนนี้เข้าไปแล้ว ไม่ใช่ว่าจะไม่เป็นเลยนะคะ มีอาการบ้างแต่น้อยกว่าไม่ได้รับวัคซีนเลย เพราะฉะนั้นคุณแม่อย่าลืมให้น้องรับวัคซีนตามที่แพทย์นัดนะคะ

อาการท้องเสีย ท้องร่วงที่เกิดในเด็กมักจะมีอาการรุนแรงกว่าเสมอ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรรู้จักกับ “วิธีรับมือเบื้องต้นเมื่อลูกท้องเสีย” ไว้ด้วยนะคะ แต่ถ้าหากลูกได้รับเชื้อไวรัสโรต้าจริง ๆ และมีอาการท้องเสียอย่างรุนแรงค่อยพาไปพบแพทย์


ทารกท้องเสีย เพราะอะไรได้บ้าง? มีวิธีสังเกต พร้อมวิธีรับมืออย่างไร? ไปติดตามกันเลยค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP