Site icon คุณแม่ลูกอ่อน

หลังคลอด (กรณีคลอดเอง) กับสิ่งที่คุณแม่ต้องทำ

หลังคลอด (กรณีคลอดเอง) กับสิ่งที่คุณแม่ต้องทำ

เพราะหลังคลอด คุณแม่มีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องทำ ไหนจะต้องดูแลตัวเองจากแผลคลอด ไหนจะต้องเตรียมเสื้อผ้าของลูกเผื่อไว้ในวันที่ลูกกลับบ้าน เตรียมผ้าอ้อม เตรียมน้ำยาซักผ้า เตรียมที่นอน เบาะ หมอน มุ้ง และอีกจิปาถะ วันนี้เรามีเช็คลิสต์มาให้คุณแม่แล้ว ไปดูกันเลยค่ะว่ามีอะไรบ้าง

ต้องเคลื่อนไหวร่างกายตัวเอง

เรื่องนี้สำคัญมากค่ะ หลังจากคลอดแล้ว แพทย์และพยาบาลจะแนะนำให้คุณแม่เคลื่อนไหวร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการเดินไปเดินมา หรือการให้เข้าห้องน้ำเอง รวมไปถึงการดูแลลูกเอง เนื่องจากการเคลื่อนไหวร่างกายนั้นจะช่วยให้กล้ามเนื้อได้ขยับตัว และจะส่งผลให้แผลฝีเย็บสมานกันเร็วขึ้น

การดูแลฝีเย็บ

เป็นเรื่องปกติค่ะที่คุณแม่จะเจ็บที่แผลฝีเย็บ แต่ถ้าปวดมาก แพทย์จะให้ยาแก้ปวดในทุก ๆ 4 – 6 ชั่วโมง

การล้างแผลฝีเย็บ

ให้ใช้น้ำต้มสุก อุ่น ๆ นำผ้าสะอาดหรือสำลีมาซับให้แห้ง ห้ามใช้หัวฉีดล้างหรือใช้ฝักบัวล้างโดยตรง เพราะด้วยแรงดันของน้ำอาจทำให้ฝีเย็บเปิดได้ ทำให้เชื้อโรคเข้าแผล โดยหลังจากนี้ประมาณ 5 – 6 วัน แผลก็จะติดกันและแห้งสนิท

น้ำคาวปลา

คือ เนื้อเยื่อและเลือดที่ไหลออกมาจากโพรงมดลูกหลังการคลอด เกิดจากการหลุดลอกตัวของรก น้ำคาวปลานี้จะถูกขับออกมาจนกว่ามดลูกจนกว่าแผลจะหาย คุณแม่จึงต้องเตรียมผ้าอนามัยไว้ และหมั่นเปลี่ยนบ่อย ๆ โดยมากน้ำคาวปลาจะหมดไปภายใน 3 สัปดาห์

การให้นมลูก

  • เริ่มแรกน้ำนมอาจจะยังมาไม่มาก แต่คุณแม่ควรให้ลูกดูดกระตุ้นทุก ๆ 2 – 3 ชั่วโมง โดยดูดสลับข้างกัน
  • คุณแม่ไม่ควรปล่อยให้เต้านมคัดเป็นเวลานาน ไม่ต้องรอให้ลูกมาดูดก็ได้ค่ะ คุณแม่สามารถปั๊มออกมาก่อนส่วนหนึ่ง เพราะไม่เช่นนั้นอาจเกิดภาวะท่อน้ำนมอุดตันได้
  • ก่อนให้นมลูกทุกครั้งควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • ควรเช็ดเต้านมและหัวนมทั้งก่อนและหลังให้นมลูกทุกครั้งด้วยการใช้สำลีสะอาดชุบน้ำอุ่นเช็ดทำความสะอาด ตามด้วยผ้าแห้งซับ
  • ไม่ควรใช่สบู่ฟอกบริเวณเต้านม เพราะจะยิ่งทำให้หัวนมแห้งและแตกได้

การบริหารร่างกายหลังคลอด

คุณแม่สามารถบริหารร่างกายได้ตั้งแต่วันที่ 2 หลังจากการคลอด เพื่อให้ผนังท้องที่หย่อนคล้อยหลังคลอด และผนังช่องคลอดกลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว นอกจากนี้คุณแม่ควรฝึกขมิบบ่อย ๆ เพื่อเป็นการเพิ่มความกระชับของบริเวณช่องคลอด เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อพยุงช่องเชิงกราน และยังช่วยลดโอกาสการเกิดปัสสาวะเล็ดได้อีกด้วย

การกินอาหาร

  • ควรเป็นอาหารที่ย่อยง่าย รสไม่จัด และมีกากใยมาก เพื่อป้องกันการท้องผูก และเน้นกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะในกลุ่มของโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ เพราะร่างกายต้องการนำอาหารเหล่านี้ไปสร้างน้ำนมให้ลูก และซ่อมแซมกล้ามเนื้อหลังคลอด ส่วนไขมันและคาร์โบไฮเดรตควรกินแต่น้อย แต่ไม่ควรงดนะคะ
  • เลี่ยงอาหารที่มีแอลกอฮอล์ เช่น กาแฟ ช็อกโกแลต น้ำอัดลม รวมถึงเครื่องดื่มชูกำลัง
  • งดอาหารที่ปรุงไม่สุก และอาหารหมักดอง
  • งดอาหารที่มีกลิ่นฉุน หรือมีกลิ่นแรง เช่น อาหารที่ต้องปรุงด้วยเครื่องเทศ เพราะจะทำให้กลิ่นน้ำนมเปลี่ยนไป ลูกน้อยอาจปฏิเสธการกินนมได้

การพักผ่อนร่างกาย

หากลูกน้อยหลับ ให้คุณแม่งีบหลับบ้าง เรื่องนี้อาจง่ายสำหรับบางคน และก็ยากสำหรับบางคน ถ้าสามารถทำได้ก็ควรทำค่ะ แต่คุณแม่ไม่ควรหลับขณะที่ลูกกำลังเข้าเต้านะคะ เพราะเต้านมอาจไปอุดจมูกลูก ทำให้ลูกหายใจไม่ออกได้

การคุมกำเนิดหลังคลอด

ควรเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กันจนกระทั่งคุณแม่ได้รับการตรวจสุขภาพแล้วในช่วง 4 – 6 สัปดาห์หลังคลอด เพื่อรักษาฝีเย็บให้หายดีก่อน และเป็นการป้องกันการติดเชื้อในโพรงมดลูก นอกจากนี้ยังสามารถเริ่มคุมกำเนิดหลังจากได้รับการตรวจร่างกายแล้วเมื่อครบ 6 สัปดาห์หลังคลอดเช่นกัน

ตรวจร่างกายหลังคลอด

หลังคลอดแล้ว 4 – 6 สัปดาห์ คุณแม่ควรได้รับการตรวจร่างกาย เพื่อตรวจดูการคืนสภาพของปากมดลูกและอวัยวะอุ้งเชิงกราน รวมถึงตรวจหาความผิดปกติต่าง ๆ ด้วย

ทั้งหมดทั้งมวล เป็นเรื่องของการดูแลสุขภาพของคุณแม่หลังคลอดกรณีคลอดปกติ ซึ่งสำหรับคุณแม่ผ่าคลอดก็จะมีวิธีดูแลร่างกายและแผลผ่าคลอดไปอีกรูปแบบหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของท่าให้นม เรื่องของเสื้อผ้า เรื่องของการทำความสะอาดแผลผ่า รวมไปถึงเรื่องของการอาบน้ำ คลิกที่นี่ >> “ผ่าคลอด อาบน้ำอุ่นได้ไหม


เพิ่งคลอดลูกมาแบบผ่าคลอด จะอาบน้ำอุ่นได้เมื่อไหร่? หากคุณแม่ต้องการที่จะอาบน้ำหลังการคลอด ควรรอให้ครบกำหนดเสียก่อน ติดตามเพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิกเลย