Site icon คุณแม่ลูกอ่อน

ยาที่คนท้องกินได้มีอะไรบ้าง

ยาที่คนท้องกินได้มีอะไรบ้าง

ช่วงเวลาที่เราไม่สบาย “ยา” คือทางออกที่หลาย ๆ คน นึกถึง คงไม่เป็นไรหากเราไม่ใช่คุณแม่ที่กำลังท้อง แต่ทันทีที่กลายเป็นคุณแม่ การจะกินยาอะไรต้องใส่ใจและระมัดระวังมากเป็นพิเศษค่ะ “ยาที่คนท้องห้ามกิน แม่ท้องควรรู้ถ้าไม่อยากเสี่ยงแท้ง” เป็นสิ่งจำเป็นที่คุณแม่ควรรู้ ในขณะที่ยาคนท้องกินได้มีอะไรบ้าง ไปติดตามกันเลยค่ะ


ตอนนี้ท้องได้ 2 เดือนแล้ว แต่มีไข้ ปวดหัว ไม่รู้ว่ายาอะไรที่แม่ท้องห้ามกินบ้าง? พบกับรายชื่อยาที่คนท้องห้ามกิน ฉบับละเอียดยิบ คลิกที่นี่ค่ะ

อายุครรภ์กับอันตรายจากยา

หลังจากที่เซลล์ผ่านกระบวนการการปฏิสนธิแล้ว เซลล์ดังกล่าวก็จะเดินทางไปฝังตัวที่ผนังมดลูก จากนั้นก็จะเจริญเติบโตเป็นทารกต่อไป ด้วยอายุครรภ์ คุณแม่จะต้องอุ้มท้องไป 9 เดือนถึงจะมีกำหนดคลอด ซึ่งในระยะเวลา 9 เดือนนี้ ยาที่คุณแม่กินเข้าไปอาจไปส่งผลกระทบและอันตรายได้ตามอายุครรภ์ ดังนี้

วันที่เริ่มปฏิสนธิ – 20 วันของทารก (ประมาณ 3 สัปดาห์แรก)

ในระยะนี้ถ้าคุณแม่ได้รับยาหรือสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อทารกเข้าไป ก็จะส่งผลให้เกิดการแท้งหรือทารกอาจเสียชีวิตได้

อายุครรภ์ระหว่างสัปดาห์ที่ 3 – 8

ในระยะถัดมานี้ เป็นช่วงที่ทารกในครรภ์เริ่มมีการแบ่งตัว แยกออกมาเป็นอวัยวะที่เริ่มเห็นได้ชัดเจน หากแม่ท้องได้รับยาหรือสารเคมีอันตรายเข้าไป จะส่งผลต่ออวัยวะทุกส่วนของทารก ทำให้เกิดความผิดปกติ อาการไม่ครบ 32

อายุครรภ์เดือนที่ 4 – 9

ช่วงนี้ทารกในครรภ์จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว อวัยวะต่าง ๆ แบ่งแยกและมีพัฒนาการอย่างเห็นได้ชัดขึ้น ยาหรือสารเคมีที่คุณแม่รับเข้าจะส่งผลต่อความสมบูรณ์ของอวัยวะต่าง ๆ

ยาที่คนท้องกินได้มีอะไรบ้าง

อาการปวดหัว

หากคุณแม่มีอาการปวดหัว หรือมีไข้ สามารถทานยา

  • พาราเซตามอล (Paracetamol) หรือ
  • ยาอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) ได้ค่ะ

ถือเป็นยาที่ปลอดภัยสำหรับแม่ท้อง โดยใช้ตามปริมาณที่กำหนด

ผู้ใหญ่ : ทานขนาดเม็ดละ 500 มิลลิกรัม สามารถกินซ้ำได้ทุก ๆ 8 ชั่วโมง ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น

ข้อควรระวัง กินยา

ไม่ควรกินยาในขนาด 1,000 มิลลิกรัมต่อครั้ง ซ้ำ ๆ กันทุก 4 – 6 ชั่วโมง เหมือนเมื่อก่อนแล้วนะคะ เพราะจะส่งผลเสียต่อตับของทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ได้ค่ะ

อาการคัดจมูก จาม น้ำมูกไหล

หากคุณแม่มีอาการคัดจมูก จาม หรือน้ำมูกไหล กลุ่มยาที่ใช้ได้คือ

  • กลุ่มยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก ซึ่งที่ปลอดภัย ได้แก่ คลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine) หรือยาแก้แพ้เม็ดสีเหลืองที่เรารู้จักกันดี
  • ขนาดยาที่ใช้ : เม็ดละ 4 กรัม ครั้งละ 1 เม็ด

ยานี้อาจทำให้คุณแม่ง่วง เพราะฉะนั้นกินก่อนนอนจะดีที่สุดค่ะ

ยาแก้คัดจมูก ลดน้ำมูก ที่ใช้ได้อย่างปลอดภัยก็คงมีเพียง “ คลอเฟนนิรามีน ” ครับ ยาตัวอื่นที่เคยใช้ทานในกรณีที่มีอาการภูมิแพ้ทั้งหลายแหล่ เช่น Zyrtec คงต้องงดไว้ก่อน
ข้อมูลอ้างอิง vichaiyut.com

ข้อควรระวัง กินยา

ไม่ควรใช้ยาคลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine) ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะจะส่งผลให้เกล็ดเลือดต่ำ ทารกที่เกิดมาอาจมีอาการเลือดไหลออกมากผิดปกติได้

อาการไอ

สำหรับคุณแม่ที่มีอาการไอแห้ง ๆ ยาที่สามารถใช้ได้คือ

  • เด็กซ์โตรเมทอร์โทรฟาน (Dextromethorphan) แต่ต้องสังเกตด้วยนะคะว่ามีสารเคมีอื่นผสมด้วยหรือไม่ ไม่เช่นนั้นอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ทั้งคุณแม่และลูกน้อยค่ะ

การรักษาโดยไม่ต้องพึ่งยา

สามารถทำได้ดังนี้ค่ะ

ดื่มน้ำเปล่าสะอาด

การดื่มน้ำเปล่าสะอาดให้มาก ๆ นอกจากจะช่วยลดอาการเจ็บคอได้แล้ว ยังช่วยลดอาการระคายเคืองในลำคอได้อีกด้วยนะคะ

การดื่มน้ำเปล่าที่สะอาดในปริมาณมาก จะช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย ซึ่งจะทำให้คุณแม่ไม่เจ็บคอนั่นเองค่ะ

หมั่นเช็ดตัว

ให้นำผ้าชุบน้ำบิดหมาด มาเช็ดตามซอกคอ และข้อพับต่าง ๆ หากเป็นส่วนของแขนและขา ให้เช็ดย้อนรูขุมขนขึ้นมานะคะ เพื่อเป็นการเปิดรูขุมขนระบายความร้อนออกมาค่ะ อุณหภูมิก็จะลดลงได้

พักผ่อนให้มาก ๆ

การพักผ่อนของแม่ท้องเป็นเรื่องสำคัญมากค่ะ เพราะจะช่วยละความเสี่ยงในการเจ็บป่วยได้เป็นอย่างดี

เพราะคุณแม่ท้องอะไรก็ตามที่จะรับเข้าสู่ร่างกาย ควรมั่นใจว่าปลอดภัยต่อทั้งคุณแม่เองและลูกน้อยในครรภ์นะคะ เท่ากับว่าคุณแม่ต้องหมั่นดูแลสุขภาพมากกว่าเดิมเป็น 2 เท่า ทั้งนี้ เพื่อให้การตั้งครรภ์เป็นไปอย่างสมบูรณ์ครบอายุการตั้งครรภ์ 9 เดือน แล้ววันที่ลูกน้อยลืมตามาดูโลก จะเป็นวันที่คุณแม่ชื่นใจมากที่สุดเมื่อพบว่าลูกน้อยเราแข็งแรงค่ะ