Site icon คุณแม่ลูกอ่อน

คนท้องกินเจ ควรกินอย่างไรให้ได้ประโยชน์ทั้งแม่และลูก

คนท้องกินเจ ควรกินอย่างไรให้ได้ประโยชน์ทั้งแม่และลูก

ช่วงเทศกาลถือศีลกินเจ คนที่เคร่งครัดและถือว่าเป็นการทำบุญอีกรูปแบบซึ่งในแต่ละปีจะมีเวลาเพียง 9 วันเท่านั้น และเชื่อได้ว่าหนึ่งในจำนวนคนที่ต้องการจะกินเจและทำจนเป็นกิจวัตรแบบนี้ทุกปีก็จะต้องมีคนท้องรวมอยู่ในจำนวนคนเหล่านั้นด้วยแน่นอน แล้วคนท้องกินเจอย่างไร ต้องเลือกอาหารเจแบบไหน จึงจะได้ประโยชน์สูงสุดทั้งแม่และลูกน้อยในครรภ์

อาหารเจ คืออะไร?

อาหารเจ ก็คืออาหารที่จะประกอบขึ้นเพื่อที่จะรับประทานในช่วงเทศกาลถือศีลกินเจที่จะมีขึ้นในทุก ๆ ปี โดยเทศกาลกินเจจะมีขึ้นในทุกเดือน 9 ตามปฏิทินจีน และจะมีอาหารเจที่มักจะใช้ส่วนประกอบเป็นพวกแป้ง เต้าหู้ ผักที่ไม่มีกลิ่นฉุนและซีอิ๊ว โดยรวมก็คือจะต้องไม่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ และจะต้องไม่มีเครื่องเทศที่มีกลิ่นฉุน

คนท้องกินเจได้ไหม

โดยปกติแล้วคนท้องอาจจะไม่ค่อยเหมาะกับอาหารเจสักเท่าไหร่นัก เพราะทารกในครรภ์จำเป็นมาก ๆ ที่จะต้องได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์อย่างครบถ้วน แต่จะว่าทานไม่ได้เลยก็ไม่ใช่ซะทีเดียว เพราะอาหารเจก็จะมีโปรตีนและผักต่าง ๆ ที่คนท้องก็ยังสามารถจะเลือกรับประทานเพื่อที่จะได้หลีกเลี่ยงอาการต่าง ๆ เหล่านี้ได้

  1. ช่วงไตรมาสแรกควรจะหลีกเลี่ยงอาหารเจที่มีการใช้น้ำมันในปริมาณมากเกินไป ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ท้องอ่อน ๆ อาจจะมีอาการแพ้ท้องรุนแรงมากกว่าเดิม
  2. ควรอาหารเจเพื่อสุขภาพที่จะเน้นส่วนประกอบประเภทโปรตีน นมถั่วเหลือง และผักต่าง ๆ และควรจะลดปริมาณแป้งลง เพราะจะทำให้มีโอกาสเป็นโรคอ้วนหรือเป็นเบาหวานได้
  3. คนท้องกินเจที่ไม่มีเนื้อสัตว์ จะรู้สึกหิวบ่อยและหิวมากกว่าปกติเพราะร่างกายจะต้องส่งสารอาหารต่าง ๆ ไปยังลูกในครรภ์อยู่ตลอดเวลา

คนท้องต้องเลือกกินอาหารเจอย่างไร

คนท้องจะต้องเลือกอาหารเจให้เหมาะสม

เลือกผักใบเขียว

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรจะต้องเลือกเมนูเจจากผักใบเขียว เช่น บรอกโคลี ผักบุ้ง ผักคะน้า เพราะจะมีโฟลิค จะช่วยการสร้างเซลล์ระบบประสาทและสมองของทารกได้ และธาตุเหล็กที่จะช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดงที่จะทำให้ร่างกายให้เกิดการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่

เลือกผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง

เลือกเมนูที่ใช้ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองแทนการใช้แป้ง เช่น เต้าหู้ นมถั่วเหลือง ธัญพืชประเภทงาดำ เห็ด และสาหร่าย เพื่อที่จะได้รับโปรตีนแทนเนื้อสัตว์ และโปรตีนจากธัญพืช ซึ่งจะได้รับประโยชน์ต่อร่างกายเช่นเดียวกัน

เลือกผลไม้มีโฟลิค (โฟเลต) สูง

คุณแม่ตั้งครรภ์จะต้องเลือกผลไม้ ที่มีสารอาหารหลากหลายที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะจะต้องมีโฟลิคในปริมาณสูง โดยผลไม้ที่จะควรจะเลือกรับประทานก็คือ แคนตาลูป มะละกอสุก กล้วย และส้มดื่ม

งดดื่มนมวัว

คนท้องกินเจ ก็จำเป็นจะต้องงดการดื่มนมวัว และจะต้องเปลี่ยนมาดื่มนมถั่วเหลืองเพื่อทดแทนนมวัว และควรจะดื่มในปริมาณที่มากกว่าปกติ เพราะคุณแม่จำเป็นจะต้องได้รับแคลเซียมในปริมาณ 1000-1200 มิลลิกรัมต่อวัน โดยคุณแม่สามารถจะเสริมแคลเซียมเม็ดเพิ่มเติมได้

อาหารเจที่จะได้ประโยชน์มากที่สุด

หากมีการปรุงสุกใหม่ ๆ จะได้ทั้งผักที่สดและสะอาดทำให้การรับประทานเจจะมีความปลอดภัยและได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ทั้งผักที่ล้างจนมั่นใจว่าไม่มีสารเคมีตกค้างและโปรตีนเกษตรที่จะใช้มาทดแทนแป้ง และต้องแน่ใจว่าจะต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากถั่วเหลือง

ข้อแนะนำสำหรับทางเลือกของคนท้องกินเจ

ตั้งครรภ์ ไตรมาสแรก

ช่วงนี้จะยังเป็นช่วงท้องอ่อน ๆ อยู่ซึ่งอาจจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรืออาการแพ้ท้อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพ้ท้องอย่างรุนแรง คุณแม่จะต้องเลี่ยงอาหารเจที่ใช้น้ำมันในการปรุงเยอะ  เพื่อที่จะไม่ให้เกิดการอาเจียนโดยเฉพาะ

ตั้งครรภ์ไตรมาสที่สอง

จะเป็นช่วงที่คุณแม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเบาหวานที่เกิดจากร่างกายเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลผิดปกติที่เป็นส่วนประกอบของแป้ง ดังนั้นการเลือกอาหารเจเพื่อสุขภาพ จะต้องเลือกส่วนประกอบที่ไม่ใช้แป้งหรือขนมปัง

ตั้งครรภ์ไตรมาสสองและสาม

ช่วงนี้ทารกจะมีการเจริญเติบโตที่สำคัญมาก ๆ คุณแม่จึงต้องการสารอาหารที่จำเป็นมาก ๆ โดยจะต้องได้รับโปรตีนต่อวันในปริมาณที่เพียงพอ รวมถึงแคลเซียมที่ที่จะได้จากการเสริมแคลเซียมอย่างเพียงพอต่อวันด้วยเช่นกัน

อาหารเจที่แนะนำสำหรับคนท้อง

แกงส้มผักรวมเจ

ด้วยรสชาติจะออกเปรี้ยวจากมะขาม คุณแม่ที่ยังท้องอ่อนจะลดอาการแพ้ท้องได้เป็นอย่างดี โดยส่วนประกอบที่ใช้จะมีเต้าหู้ทดแทนเนื้อสัตว์ ผักต่าง ๆ เลือกใช้ได้ตามที่ชอบ อาจจะใช้กะปิเจหรือถั่วเน่าเพื่อเพิ่มรสชาติ

สลัดย่างเจ

สามารถจะเลือกผักและผลไม้ที่มีประโยชน์หรือที่คุณแม่ชื่นชอบนำมาย่างไฟอ่อน ๆ เสิร์ฟพร้อมกับน้ำสลัดเจ หรือจะรับประทานได้เลยก็ได้ โดยคุณแม่ตั้งครรภ์จะได้รับสารอาหารจากผักผลไม้อย่างเต็มที่

นี่ก็เป็นคำตอบได้เป็นอย่างดีสำหรับคนท้องที่ต้องการจะกินเจ ซึ่งก็สามารถจะกินได้ตามปกติแต่จะต้องเลือกอาหารเจที่มีส่วนประกอบของเต้าหู้และผักต่าง ๆ เป็นส่วนประกอบหลัก โดยที่จะต้องหลีกเลี่ยงแป้งและการปรุงที่จะใช้น้ำมันในปริมาณเยอะ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณแม่ได้และอาจจะเกิดผลข้างเคียงต่อทารกในครรภ์อีกด้วย