Site icon คุณแม่ลูกอ่อน

ลูกดิ้นแรง ดิ้นเก่งมาก แข็งแรงจริงหรือ?

ลูกดิ้นแรง ดิ้นเก่งมาก แข็งแรงจริงหรือ?

ลูกดิ้น” เป็นการเคลื่อนไหวของทารกในท้อง ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ลูกดิ้นอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น การยืดแขน ยืดขา บิดตัว การสะอึก การได้รับสารอาหารและออกซิเจน เป็นต้น หรือในบางครั้งการที่ลูกดิ้นก็เป็นที่ลูกต้องการตอบสนองกับคุณแม่ค่ะ

Youtube : ลูกดิ้นแรง ดิ้นเก่งมาก แข็งแรงจริงหรือ?

อาการลูกดิ้นเป็นอย่างไร?

เชื่อว่าคุณแม่ทุกคนคงรอคอยวันที่ลูกดิ้นได้ใช่มั้ยล่ะคะ คุณแม่จะรับรู้ถึงการดิ้นของลูกได้ก็ต่อเมื่ออายุครรภ์อยู่ในช่วง 16-20 สัปดาห์ โดยอาการที่ลูกดิ้นในช่วงแรกๆ จะเหมือนปลาทองว่ายน้ำหรือไม่ก็ผีเสื้อกำลังกระพือปีกอยู่ในท้อง การขยับตัวของลูกจะมีทั้งบิดตัว เตะ ต่อย พลิกตัว และม้วนตัว การดิ้นของลูกในท้องจะเพิ่มมากขึ้นจนกระทั่งอายุครรภ์เข้าสัปดาห์ที่ 32 กะคงที่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การดิ้นของลูกอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในวันที่ใกล้คลอด

เมื่ออายุครรภ์เข้าไตรมาสที่ 2 (อายุครรภ์ 4-6 เดือน) ลูกจะขยับตัวมากขึ้น คุณแม่จะสามารถรับรู้ได้อย่างชัดเจน เคยมีการศึกษามาแล้วพบว่าเมื่ออายุครรภ์เข้าไตรมาสที่ 3 ลูกจะขยับตัวได้ถึง 30 ครั้งต่อชั่วโมงเลยก็มี

ลักษณะลูกดิ้นในแต่ละช่วงอายุครรภ์

สัปดาห์ที่ 16-19

การเคลื่อนไหวของลูกยังไม่ชัดเจนนักสำหรับท้องแรกคุณแม่ส่วนใหญ่จะเริ่มรับรู้ได้ก็ประมาณสัปดาห์ที่ 18 ท้องถัดมาจะสามารถรับรู้ได้ในสัปดาห์ที่ 16

สัปดาห์ที่ 20-23

คุณแม่จะเริ่มรู้สึกถึงการขยับตัวของลูกได้ชัดขึ้น และจะยิ่งชัดเจนขึ้นในสัปดาห์ต่อๆ มา บางครั้งอาจรับรู้ได้ถึงขนาดว่าลูกขยับตัว หรือเตะเลยก็มี นอกจากนี้ช่วงเย็นเวลาที่คุณแม่ทานอาหาร ลูกก็จะขยับตัวบ่อยเช่นกัน


เมื่อ 4 เดือนที่ผ่านมา คุณแม่ต่างดีใจที่ลูกอยู่ในท้อง และการเลี่ยนแปลง เช่น การกินอาหาร อาการต่างๆ ตอนนี้อายุครรภ์ 5 เดือน ขนาดท้องก็ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ

สัปดาห์ที่ 24-28

ของเหลวในถุงน้ำคร่ำมีปริมาณมากขึ้นถึง 750 มิลลิลิตร ทำให้ลูกมีพื้นที่ให้เริงร่ามากขึ้น เมื่อลูกรู้สึกสบายตัวเค้าจะดิ้น จะพลิกตัวไปมา โดยเฉพาะเริ่มขยับแขน ขา มากขึ้น


เดือนที่ 6 ของคุณแม่ทุกคนได้เริ่มขึ้น ช่วงนี้คุณแม่ทุกคนไม่มีอาการแพ้ท้องใดๆ แล้ว แต่คุณแม่จะทราบหรือไม่ ว่านอกจากอาการแพ้ต่างๆ นั้นได้หายไป แต่ยังมีอาการอื่นๆ อีกที่แทรกเข้ามา และคุณแม่ควรจะดูแลสิ่งใด เมื่อลูกในครรภ์อายุ 6 เดือน จะช่วยเสริมสร้างทั้งพัฒนาการ และร่างกายให้ลูกในครรภ์ได้บ้าง

สัปดาห์ที่ 29-31

ลูกเริ่มโตขึ้นแล้ว การขยับตัวจะเริ่มน้อยลง แต่จะชัดเจนมากขึ้น เช่น ต่อยแรงขึ้น เตะแรงขึ้น


เข้าสู่เดือนที่ 7 ยิ่งใกล้ความเป็นจริงในการอุ้มลูกเต็มที แต่ในความเป็นจริงนั้นคุณแม่ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ ไม่ใช่เสมอไปว่าลูกในครรภ์จะคลอดตามกำหนด เดือนที่ 7

สัปดาห์ที่ 32-35

ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นที่สุดสำหรับการจับการดิ้นของลูกในท้อง โดยเฉพาะเมื่อเริ่มเข้าสัปดาห์ที่ 32 ซึ่งเป็นสัปดาห์ที่ลูกดิ้นมากที่สุด หลังจากนั้นจะเริ่มคงที่ เพราะตัวลูกโตขึ้น พื้นที่ให้เค้าได้เริงร่าน้อยลง แต่จะกินเวลานานขึ้น


คุณแม่ทุกท่านได้ก้าวเข้าสู่เดือนที่ 8 ท้องของคุณแม่ทุกคนได้ขยายใหญ่มากขึ้น ทารกก็ดิ้นจนคุณแม่สัมผัสได้มาก จากการที่ทารกมีขนาดร่างกายที่สมบูรณ์ขึ้น แรงก็มากขึ้นเช่นกัน การลุกการเดินก็ต้องมีจังหวะที่เหมาะสม เพราะขนาดท้องและน้ำหนัก แต่คุณแม่ใกล้คลอดในอีก 1 เดือน…

สัปดาห์ที่ 36-40

เรียกว่า เป็นช่วงเวลาใกล้คลอด


ก้าวเข้าสู้เดือนที่ 9 เดือนสุดท้ายของการอุ้มท้อง คุณแม่ทุกคนมีกำหนดคลอดอยู่แล้ว ซึ่งแตกต่างกันไป ว่าจะต้นเดือน กลางเดือน หรือสิ้นเดือน คุณแม่ทุกคนต่างมีความกังวลแน่ๆ ทั้งกังวลว่าสัญญาณเตือนให้รู้ว่าจะคลอดมีลักษณะใด ลูกจะคลอดก่อนกำหนดหรือไม่ หรือตามกำหนดจะมีสัญญาณเตือนไหม

  • หากเป็นท้องแรก ลูกจะเริ่มกลับหัวลง แต่หากยังไม่กลับหัว กล้ามเนื้อภายในท้องของคุณแม่จะช่วยให้เค้าต้องกลับตัวเพื่อเอาหัวลง จนคุณแม่อาจรู้สึกว่าเหมือนมีแตงโมมากดทับอยู่ที่กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานแต่หากลูกยังไม่กลับตัว ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อให้การคลอดปลอดภัยกับทั้งลูกและแม่มากที่สุด
  • หากเป็นท้องสองความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณจะท้องจะน้อยลง ลูกจะเริ่มกลับตัวอย่างช้าๆ และในช่วงสัปดาห์ท้ายๆ ลูกจะยังขยับตัวอยู่ การเคลื่อนไหวจะน้อย แต่ชัดเจน จนบางครั้งคุณแม่อาจรู้สึกเจ็บได้

วิธีการนับลูกดิ้น

  1. ควรนับในช่วงเวลาที่เด็กขยับตัวมากที่สุด ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันในทุกวัน
  2. เมื่อถึงเวลานั้นให้คุณแม่นั่งเอนตัวให้สบายๆ ที่เก้าอี้หรือโซฟาก็ได้ค่ะ
  3. จัดสภาพแวดล้อมให้สงบ เพื่อคุณแม่จะได้มีสมาธิในการนับ
  4. ไม่ว่าลูกจะดิ้น จะพลิกตัว เตะ ยืดแขน ยืดขา ทุกอิริยาบถที่แม่รู้สึกได้ให้นับเป็น 1 ครั้ง
  5. นับจำนวนการดิ้นของลูกที่คุณแม่รู้สึกได้ โดยไม่ควรต่ำกว่า 10 ครั้งต่อเวลา 2 ชั่วโมง ถ้าไม่ครบ 10 ครั้ง ให้นับไปอีก 2 ชั่วโมงจนครบ 10 ครั้งรวมกัน

** ถ้ายังไม่ครบ 10 ครั้งใน 4 ชั่วโมง ควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาและวินิจฉัยต่อไป **

ถ้าลูกดิ้นเบา หรือดิ้นน้อย?

  1. ลูกอาจเปลี่ยนท่า อาจเอาส่วนก้นเป็นตัวนำ จึงทำให้คุณแม่ไม่ค่อยรับรู้ถึงการดิ้นของลูก
  2. ลูกในท้องขาดออกซิเจน มักพบในรายที่มีโรงทางอายุรกรรม เช่น โรคเบาหวาน เป็นต้น
  3. ทารกเสียชีวิตในท้อง โดยไม่ทราบสาเหตุ

ถ้าลูกดิ้นมาก ผิดปกติหรือเปล่า?

ในทางการแพทย์ ถ้าลูกดิ้นมาก ดิ้นแรง ถือว่าปกติ อาจมีเหตุมาจากคุณแม่ดื่มชาหรือกาแฟที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนมารวมไปถึงหลังทานอาหารหรือของหวาน เป็นต้น

ลูกไม่ดิ้น เพราะอะไร?

เพราะการนับลูกดิ้นเป็นวิธีเดียวที่จะทำให้คุณแม่รับรู้ได้ว่าลูกยังแข็งแรงดีอยู่ แต่…เป็นเพราะอะไรนะ จู่ ๆ จากที่เคยดิ้น แต่วันนี้คุณแม่ไม่รู้สึกว่าลูกดิ้นเหมือนเคย หรือดิ้นน้อยลงไปมาก เหล่านี้เป็นไปได้ว่าเกิดจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้ค่ะ

ทารกในครรภ์หลับ

การที่ทารกไม่ดิ้นหรือดิ้นน้อยลงไปมากนั้น อาจเกิดจากขณะนั้นทารกกำลังหลับอยู่ จึงทำให้ทารกไม่ขยับหรือจะขยับก็เพียงเบา ๆ หรือน้อยมากจนบางครั้งคุณแม่เองจะไม่ค่อยรู้สึก

ทารกตัวใหญ่ขยับยาก

เมื่อขนาดของทารกในครรภ์ใหญ่ขึ้น ในขณะที่มดลูกขยายได้ไม่มากอีกแล้ว จึงส่งผลให้ทารกตัวใหญ่ยากที่จะขยับตัวเมื่อช่วงก่อนหน้านี้นั่นเอง

วิธีกระตุ้นให้ลูกดิ้น ในกรณีที่ลูกดิ้นน้อยลง

คุณแม่สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

  • ทานของว่าง
  • ดื่มน้ำเย็น ๆ (ข้อนี้ลองทำแล้วได้ผลค่ะ)
  • ดื่มเครื่องดื่มหวาน ๆ
  • ขยับร่างกาย อาจเป็นการเดิน แล้วหยุดเป็นช่วง ๆ
  • เปิดเพลงให้ทารกในครรภ์ฟัง

**ทั้งนี้ หากคุณแม่ทำทุกวิถีทางแล้ว ลูกยังไม่ดิ้นหรือยังไม่มีการตอบสนอง ควรเข้าพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดต่อไปค่ะ**

การตรวจสุขภาพครรภ์และทารกในครรภ์

เมื่อคุณแม่เข้าพบแพทย์ แพทย์จะทำการตรวจด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้

ตรวจอัลตราซาวด์ (Fetal Ultrasound)

เป็นการส่งคลื่นเสียงผ่านผนังหน้าท้อง สะท้อนกลับมาเป็นภาพ ภาพที่ได้จะแสดงให้เห็นการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ เห็นการเต้นของหัวใจ ทราบขนาดของกะโหลกศีรษะ (เพื่อดูพัฒนาการลูก) และเห็นท่าทางของเด็กอีกด้วย

ตรวจอัตราการเต้นของหัวใจ (Nonstress Test)

เป็นการนำแผ่นเหล็กขนาดเล็กที่ทาเจลวางลงบนท้องคุณแม่ แล้วใช้เข็มขัดคาดไว้ ป้องกันไม่ให้แผ่นเหล็กเคลื่อน

ตรวจวัดความเร็วในหลอดเลือดของทารกในครรภ์ (Fetal Doppler Velocimetry)

วิธีนี้จะคล้ายกับการตรวจอัตราการเต้นของหัวใจ แต่จะมีการใช้คลื่นเสียงร่วมด้วย เพื่อเป็นการตรวจการไหลเวียนเลือดภายในหลอดเลือดของรกและสายสะดือ ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้ทราบอัตราการเต้นของหัวใจทารกได้ค่ะ

ลูกดิ้นแบบไหน คือสัญญาณที่ผิดปกติ

ในช่วงอายุครรภ์ที่ 30 สัปดาห์ จำนวนการดิ้นของทารกในครรภ์จะยังไม่คงที่ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกดิ้นแรงและเงียบหายไป เป็นไปได้สูงว่าทารกอาจเสียชีวิตในครรภ์ แต่กรณีนี้มักเกิดกับคุณแม่ที่มีโรคประจำตัวหรือมีความผิดปกติอื่นอยู่ก่อนแล้ว

โดยทั่วไปการที่ทารกดิ้นน้อยที่เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดนั้นสามารถใช้เทคนิค Count to Ten คือ

  • การนับลูกดิ้นตั้งแต่เช้า-เย็น หรือประมาณ 10-12 ชั่วโมง แล้วนับว่าลูกดิ้นมากกว่า 10 ครั้งหรือไม่
  • ถ้ามากกว่า 10 ครั้ง ยังถือว่าปกติ
  • หากคุณแม่รู้สึกว่าไม่อยากรอให้ถึง 10 ชั่วโมง ก็สามารถนับได้ภายใน 1 ชั่วโมงได้ ถ้าลูกดิ้นเกิน 3 ครั้ง แสดงว่าทารกยังแข็งแรงดี
  • แต่ถ้านับแล้วน้อยกว่า 3 ครั้ง ต่อ ชั่วโมง ให้นับต่อไปอีก 1 ชั่วโมง เนื่องจากบางครั้งทารกอาจจะหลับอยู่ ประมาณ 20-40 นาที หรือทารกบางคนอาจหลับนานถึง 75 นาที
  • ดังนั้น การนับจำนวนลูกดิ้นต่อไปในอีกชั่วโมงที่ 2 ลูกต้องดิ้นไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง ถ้าคุณแม่นับได้น้อยกว่า 3 ครั้ง ติดกันทั้ง 2 ชั่วโมง แนะนำว่าควรพบแพทย์ทันที

การนับลูกดิ้นถือว่าเป็นเรื่องสำคัญของคุณแม่ทุกควรที่ควรใส่ใจทำทุกวัน อย่างน้อยก็เพื่อป้องกันหรือได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีหากมีอะไรผิดปกติที่เกิดกับลูกนะคะ


ลูกดิ้นแรง แรงดีมาก ดิ้นจนแม่ปวดท้อง ดิ้นน้อยไปก็กังวล ว่าแต่อันไหนคือจะอันตรายมากกว่ากัน? จะทำอย่างไรดี? เรามีคำตอบรอคุณอยู่แล้วค่ะ