ลูกดิ้นแรงเกินไปแม่ก็ปวดท้อง ดิ้นน้อยเกินไปก็กังวล แบบไหนอันตรายกว่ากัน รับมืออย่างไร

สุขภาพช่วงตั้งครรภ์
JESSIE MUM

ลูกดิ้น” เป็นทางเดียวที่จะทำให้คุณแม่รู้ได้ว่าลูกน้อยยังแข็งแรงและปลอดภัยดีหรือเปล่า แต่ดิ้นแรงเกินไปจนแม่ปวดท้องแบบนี้จะแปลว่าลูกกำลังตกอยู่ในอันตรายไหม? แล้วถ้าดิ้นเบา นาน ๆ ดิ้นครั้งแบบนี้ล่ะ มีอะไรที่ต้องกังวลไหม? และวันนี้เราจะมาพูดคุยเรื่องนี้กันค่ะ

ความรู้สึกลูกดิ้นเป็นอย่างไร?

โดยทั่วไปแล้วคุณแม่ตั้งครรภ์จะเริ่มรู้สึกได้ว่าลูกดิ้นเมื่ออายุครรภ์เข้าสัปดาห์ที่ 16-20 จากการที่ลูกดิ้นคุณแม่จะรู้สึกเหมือนมีปลามาว่ายน้ำอยู่ในท้อง หรือบางครั้งก็รู้สึกเหมือนเส้นประสาทกระตุกเบา ๆ เพราะทารกมีการขยับตัวทั้งเตะ ต่อย ถีบ พลิกตัว และม้วนตัว ทารกจะดิ้นอยู่ในลักษณะนี้จนถึงสัปดาห์ที่ 32 และพอเข้าช่วงใกล้คลอดการดิ้นก็จะมีเปลี่ยนไปอีกเล็กน้อย

ลูกดิ้นแรงจนแม่ปวดท้อง

อายุครรภ์ของคุณแม่เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 ลูกอาจจะดิ้นได้ถึง 30 ครั้งต่อชั่วโมง ซึ่งก็ถือว่าเยอะพอสมควร ในขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์บางคนพบว่าทารกในครรภ์ดิ้นมากกว่า 40 ครั้งต่อชั่วโมงเลยก็มี แต่…กรณีนี้จะพบได้ไม่บ่อยนัก เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 5 ของแม่ตั้งครรภ์ทั่วไป

การที่ลูกดิ้นมาก หรือดิ้นแรงไม่ได้นับว่าเป็นตัวบ่งชี้ว่าจะมีภาวะแทรกซ้อนของสายสะดือ และไม่ได้มีความสัมพันธ์กับความพิการของทารกในครรภ์ หรือจะเป็นสัญญาณที่บอกว่าคุณแม่จะมีการคลอดก่อนกำหนดแต่อย่างใด ที่สำคัญ หลังคลอดแล้ว การดิ้นแรงก็ไม่ได้หมายความว่าลูกจะเป็นเด็กไฮเปอร์เช่นกัน แท้จริงแล้วเป็นเพียงช่วงจังหวะการหลับและการตื่นของลูกค่ะ

ลูกดิ้นแบบไหนที่เรียกว่าอันตราย

ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น ถึงแม้ว่าภาวะที่ลูกดิ้นแรงมีเพียงส่วนน้อย ซึ่งในส่วนน้อยนั้นก็เป็นเรื่องที่คุณแม่ควรสังเกตและใส่ใจ เพราะอาจเป็นสัญญาณอันตรายได้ก็คือ

“ลูกจะดิ้นแรงมากอยู่ซักระยะหนึ่ง หลังจากนั้นก็หยุดดิ้นไป และเงียบไปเลยไม่มีการดิ้นอีก”

จากลักษณะดังกล่าวนี้อาจเป็นสัญญาณอันตรายของภาวะเครียดอย่างเฉียบพลัน อันเกิดจากการกดสายสะดือ หรือรกลอกตัวก่อนกำหนดอย่างรุนแรง อาจส่งผลให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์ได้

ถ้าลูกดิ้นน้อยจะอันตรายไหม เกิดจากอะไร?

การดิ้นของลูกเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกในท้องยังแข็งแรงดี แม้บางครั้งลูกอาจดิ้นน้อยลงไปบ้าง หรือดิ้นผิดเวลาบ้างก็อาจมีสาเหตุมาจาก

ทารกในครรภ์กำลังหลับ

ลูกอาจจะกำลังหลับสบายอยู่ในท้องที่อบอุ่นของคุณแม่อยู่ค่ะ

ทารกมีขนาดตัวที่ใหญ่จนขยับตัวยาก

เมื่ออายุครรภ์มากขึ้นลูกน้อยในครรภ์ก็มีขนาดตัวที่ใหญ่มากขึ้นในขณะที่ขนาดของมดลูกยังเท่าเดิม โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์ที่ 32

วิธีรับมือกับเรื่องการดิ้นของลูก

ถ้าหากคุณแม่พบว่าช่วงเวลาที่ลูกควรดิ้นเยอะที่สุดแต่กลับกลายเป็นดิ้นน้อยหรือดิ้นต่ำกว่าเกณฑ์ที่เคยเป็น คือ ต่ำกว่า 10 ครั้ง ภายในระยะเวลา 2 ชั่วโมง มีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ เบื้องต้นให้คุณแม่ลองกระตุ้นลูกเพื่อการตอบสนองด้วยวิธีการดังนี้ค่ะ

  • ทานของว่าง
  • ดื่มน้ำเย็น หรือเครื่องดื่มหวาน ๆ
  • ขยับร่างกาย เคลื่อนไหวไปมา อาจเป็นการเดินไปเดินมาก็ได้ค่ะ
  • เปิดเพลงเสียงดัง

ทั้งหมดนี้ หากลูกในครรภ์ยังไม่มีการตอบสนองให้คุณแม่รีบไปปรึกษาคุณหมอ เพื่อให้คุณหมอได้ทำการตรวจวินิจฉัย ซึ่งวิธีที่นิยมใช้กันก็คือ

ตรวจอัลตราซาวน์ (Fetal Ultrasound)

ซึ่งภาพที่ได้คือคุณแม่จะเห็นการเคลื่อนไหวของลูกในครรภ์ อัตราการเต้นของหัวใจ และท่าท่างของลูก

ตรวจสุขภาพของทารกในครรภ์ (Nonstress Test)

เป็นการตรวจอัตราการเต้นของหัวใจของทารก โดยทำแผ่นเหล็กขนาดเล็กที่ทาเจลวางบนท้อง และใช้เข็มขัดคาดไว้ เพื่อไม่ให้แผ่นเหล็กเคลื่อน

ตรวจวัดความเร็วของเลือดในหลอดเลือดของลูกในครรภ์ (Fetal Doppler Velocimetry)

วิธีนี้จะคล้ายกับวิธีการตรวจสุขภาพของทารก แต่ข้อนี้จะมีการใช้คลื่นเสียงร่วมด้วย เพื่อตรวจการไหลเวียนของเลือดภายในรกและสายสะดือ ซึ่งจะทำให้คุณแม่ทราบอัตราการเต้นของหัวใจของทารกค่ะ

เพราะฉะนั้นลูกดิ้นแรง และยังดิ้นต่อไป แบบนี้ไม่น่ากังวลค่ะ แต่ถ้าเป็นช่วงที่ลูกดิ้นน้อยลง หรือไม่ดิ้นในช่วงที่ควรดิ้น แบบนี้สิคะน่าห่วงกว่า เอาเป็นว่าถ้าคุณแม่รู้สึกว่าช่วงนี้ลูกในท้องควรดิ้นแต่เขาไม่ดิ้น ให้ไปพบคุณหมอทันทีค่ะ อย่ารอจนว่านัดถัดไป

อ้างอิง
Th.theasianparent.com
Pobpad.com

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP