Site icon คุณแม่ลูกอ่อน

ระวัง! ลูกน้อยต่อมอะดีนอยด์โต

อาการต่อมอะดีนอยด์โตนั้นสามารถสังเกตได้จากการนอนกรนนั่นเองแต่ไม่ใช่ว่าการที่ลูกนอนกรนจะต้องเกิดจากต่อมอะดีนอยด์โตเสมอไปแต่ถือว่าส่วนใหญ่อาจจะมีโอกาสเป็นได้นั่นเอง และคุณพ่อคุณแม่หลายๆ คนอาจจะยังสงสัยว่าแล้วเจ้าต่อมอะดีนอยด์คืออะไรกัน คำตอบก็คือต่อมน้ำเหลืองชนิดหนึ่งซึ่งอยู่บริเวณด้านหลังของโพรงจมูก ทำหน้าที่ในการกำจัดเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายของลูกน้อยนั่นเอง

ซึ่งถ้าลูกเกิดอาการต่อมอะดีนอยด์โตแล้วล่ะก็อาการหลักๆ ของเขาก็คือ หายใจไม่สะดวก หายใจเสียงดัง นอนอ้าปากเพราะว่าเขาต้องหายใจทางปาก นอนกรนและกรนหนักจนต้องสะดุ้งตื่นอยู่บ่อยๆ วิธีการสังเกตลองซุ่มดูเขาตอนกลางคืนที่หลับสนิทไปแล้วจะเห็นได้ชัดที่สุด

แล้วถ้าเกิดอาการต่อมอะดีนอยด์โตจะส่งผลอะไรกับเขาบ้าง?

  1. ลูกมีอาการง่วงและอ่อนเพลียในตอนกลางวันเนื่องจากเขาได้รับการพักผ่อนไม่เพียงพอจากการสะดุ้งตื่นแถมยังไม่ได้รับออกซิเจนที่เพียงพอในขณะหายใจตอนนอนหลับอีกด้วย
  2. เข้าจะมีอาการสมาธิสั้นอยู่ไม่นิ่ง
  3. ฮอร์โมนที่ใช้ในการเจริญเติบโตของเขาลดลงเนื่องจากฮอร์โมนประเภทนี้จะเกิดตอนที่เขากำลังหลับช่วงกลางคืนนั่นเองและเมื่อเขานอนไม่เต็มที่ฮอร์โมนนี้ก็ผลิตได้ไม่เต็มที่เช่นเดียวกัน
  4. มีการเปลี่ยนแปลงของกระดูกใบหน้าทำให้รูปใบหน้ารีเป็นรูปไข่ซึ่งเกิดจากการโก่งตัวสูงขึ้นของกระดูกเพดานปากของเขานั่นเองและมีการยื่นออกของฟันหน้าจนผิดรูปเพราะเด็กหายใจทางปากนั่นเอง
  5. การขาดออกซิเจนในบางช่วงของการนอนนั้นทำให้เขามีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตในปอดสูง เป็นต้น

ช่วยลูกให้พ้นจากอาการนี้ได้อย่างไรบ้าง?

  1. ปรับการนอนของเขาให้เป็นเวลามากขึ้นและถ้าเขามีโรคอ้วนเข้ามาร่วมด้วยแล้วล่ะก็จัดการคุมอาหารของเขาด้วยอีกทาง
  2. ล้างจมูกเพื่อช่วยลดน้ำมูกที่อาจจะเข้าไปอุดตันทางเดินหายใจของเขามากขึ้นกว่าเดิมนั่นเอง
  3. ทำความสะอาดเสื้อผ้า อุปกรณ์ต่างๆ ของเขาให้มีฝุ่นน้อยที่สุดเพื่อช่วยลดเชื้อโรคต่างๆ ให้ลูกหายใจสะดวกขึ้นนั่นเอง
  4. ให้เด็กนอนท่าตะแคงช่วยลดการกรนได้
  5. อาการของเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกันบางคนอาจจะมียาเพื่อฆ่าเชื้อและลดอาการต่างๆ ได้แต่อย่างไรก็ตามยาทุกอย่างต้องผ่านการแนะนำจากแพทย์ก่อนเท่านั้น
  6. บางรายที่มีอาการหยุดหายใจขณะหลับเข้ามาด้วยต้องรีบพาไปปรึกษาแพทย์ให้เร็วที่สุดเพียงหาแนวทางแก้ไขย่างเช่นการใช้เครื่องช่วยหายใจเข้ามาช่วยนั่นเอง
  7. การรักษาด้วยการผ่าตัดต่อมทอมซิลและต่ออะดีนอยด์ก็สามารถช่วยได้หากแพทย์เห็นว่าสามารถทำได้และการผ่าตัดชนิดนี้ยังปลอดภัยและเกิดการติดเชื้อน้อยอีกด้วยไม่มีผลกระทบต่อภูมิคุ้มกันใดๆ แพทย์จึงจะแนะนำให้ทำในรายที่มีอาการกรนหนักมากๆ นั่นเอง
  8. อย่าให้ร่างกายของลูกขาดน้ำเด็ดขาด


อาการนี้ไม่ร้ายแรงมากในทันทีแต่ก็ละเลยไม่ได้เพราะอาจจะส่งผลเสียในระยะยาวให้กับลูกน้อยของคุณได้ ควรพาเขาไปพบแพทย์เพื่อติดตามอาการและหาแนวทางรักษาที่เหมาะสมกับเขาเสมอเพื่อจะได้แก้ไขทุกอย่างได้อย่างทันท่วงทีนั่นเอง และการพาลูกไปออกกำลังกายก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยดูแลรักาสุขภาพของลูกในทุกด้านให้สมดุลกันมากขึ้นอีกด้วย