Site icon คุณแม่ลูกอ่อน

วิธีปลุกลูกเข้าเต้า แบบละมุนละม่อม ลูกไม่ร้องงอแง

วิธีปลุกลูกเข้าเต้า แบบละมุนละม่อม ลูกไม่ร้องงอแง

คุณแม่มือใหม่มีอะไรหลาย ๆ อย่างเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกที่เก้ ๆ กัง ๆ อยู่ เรียกได้ว่าเป็นการปรับตัวกันทั้งคุณแม่และลูกน้อย เรื่องการให้นมลูก ถ้าลูกตื่นอยู่ แล้วร้องงอแงเพราะหิว แบบนี้คุณแม่ก็ยังจะพอรู้ว่า “อ่อ…ลูกหิวแล้ว” แต่ถ้าลูกหลับยาว จนเลยเวลาที่ต้องตื่นมากินนมแล้ว จะทำอย่างไรดี? จะปลุกลูกมาเข้าเต้าดีไหม มีวิธีปลุกลูกเข้าเต้า แบบละมุนละม่อม ลูกไม่ร้องงอแงหลังตื่นมาไหม?

ลูกหลับสนิท ควรปลุกลูกเข้าเต้าดีไหม?

จะปลุกหรือไม่ปลุกดี คุณแม่ควรพิจารณาจาก

  • อายุ
  • น้ำหนัก
  • และสุขภาพโดยรวมของลูก

โดยส่วนใหญ่แล้วช่วง 2 -3 วันแรกหลังคลอด ทารกจะมีน้ำหนักลดลง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ลูกน้อยได้กินนมแม่ และจำเป็นมากโดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด ควรให้ลูกน้อยกินนมแม่ทุก ๆ 2 – 3 ชั่วโมง หรือตามแต่ที่ลูกน้อยต้องการ เพื่อทำน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งถ้าหากลูกน้อยหลับนานเกินกว่า 4 ชั่วโมง คุณแม่ควรปลุกลูกน้อยให้ตื่นมากินนมแม่ค่ะ

แต่การทำน้ำหนักให้ขึ้นด้วยนมแม่ ต้องมั่นใจว่าลูกดูดได้เกลี้ยงเต้านะคะ เพราะช่วงแรกของน้ำนมนั้นส่วนประกอบหลักจะเป็นน้ำมากกว่าไขมัน แต่ส่วนท้ายของน้ำนมจะมีไขมันมากกว่า ซึ่งจะทำให้ทารกน้ำหนักขึ้นและอิ่มได้นานค่ะ
ถ้าลูกมีน้ำหนักตัวตามเกณฑ์ปกติแล้ว คุณแม่ก็สามารถรอจนกว่าลูกน้อยจะตื่นแล้วค่อยเข้าเต้าก็ได้ค่ะ

ทารกควรเข้าเต้าบ่อยแค่ไหนในแต่ละวัน

ทารกแรกเกิดโดยทั่วไปแล้วมักจะหิวนมทุก ๆ 2 – 3 ชั่วโมง หรือประมาณ 8 – 12 ครั้งต่อวัน คุณแม่โดยส่วนใหญ่อีกเช่นกันที่เมื่อเห็นลูกหลับสนิทแล้วก็ไม่อยากปลุกลูก อยากให้ลูกพักผ่อน แต่ความจริงแล้วอาจเป็นความคิดที่ผิดไปสักหน่อย เพราะข้อดีของการให้นมลูกบ่อย คือ

ให้นมลูกเร็วเท่าไหร่ ลูกหยุดร้องเร็วเท่านั้น

สิ่งเดียวที่ทารกจะสื่อสารกับคุณแม่ได้ว่า “หนูหิว” แล้วนั่นก็คือ การร้องไห้ เพราะฉะนั้นเมื่อลูกร้องไห้เพราะหิว ยิ่งคุณแม่ให้นมลูกเร็วได้เท่าไหร่ ลูกก็จะหยุดร้องได้เร็วมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งคุณแม่ควรสังเกตอาการลูกด้วยนะคะ เช่น ถ้าลูกเริ่มขยับตัว ทำปากจุ๊บ ๆ ห่อปาก เหมือนอยากดูดนม แบบนี้แสดงว่าลูกหิวแล้วค่ะ

ช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำนมให้มากขึ้น

เพราะยิ่งลูกเข้าเต้าคุณแม่ได้ถี่มากเท่าไหร่ ก็เท่ากับเป็นการช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำนมให้มากขึ้นเท่านั้น ส่งผลให้คุณแม่มีน้ำนมเพียงพอตามความต้องการของลูกน้อยค่ะ

● Crying is a late sign of hunger. The sooner you begin each feeding, the less likely you’ll need to soothe a frantic baby. Look for early signs of hunger, such as hand-to-mouth activity, smacking lips, rooting and stirring while asleep.
● Frequent feedings support early breast-feeding. If you breast-feed, frequent feedings will help you establish your milk supply.

ข้อมูลอ้างอิง mayoclinic.org

ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะเข้าเต้าได้ไหม และควรบ่อยแค่ไหน?

สำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนด พัฒนาการทางด้านร่างกายของเขาจะยังไม่สมบูรณ์ จึงอาจไม่สามารถแสดงออกได้ชัดเจนว่าหิวนม ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจำเป็นจะต้องได้รับสารอาหารที่สำคัญ ซึ่งก็คือ “นมแม่” นั่นเองค่ะ ซึ่งในกรณีนี้จะมีแพทย์เป็นผู้แนะนำในเรื่องการให้นมค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของ “วิธีเพิ่มน้ำนมแม่ ด้วยเทคนิค 4 ดูด และความเข้าใจผิดว่าน้ำนมน้อย


ไม่เห็นคัดเต้าเลย สงสัยน้ำนมจะน้อย ทำยังไงดี? ความเข้าใจผิดว่ามีน้ำน้อย แท้จริงแล้ว คืออะไร พร้อมเทคนิค 4 ดูดจากอธิบดีกรมอนามัย เพื่อเพิ่มน้ำนมแม่ คลิกที่นี่

น้องมินเป็นเด็กที่คลอดก่อนกำหนดค่ะ หลังจากการคลอด โน้ตต้องปั๊มนมออกมาซึ่งได้เป็นหัวน้ำนมสีเหลืองมา 1 cc. เท่านั้น ใส่ไซริ้นไปป้อนลูกในห้อง ICU เด็กแรกเกิด และปั๊มนมออกทุก ๆ 2 – 3 ชั่วโมง น้ำนมก็เยอะขึ้นทุกวัน ๆ ก่อนออกจากโรงพยาบาลแพทย์และพยาบาลจะแนะนำและสอนวิธีการเข้าเต้าค่ะ จนวันนี้น้องมินไม่เคยกลับไปโรงพยาบาลเพราะน้ำหนักลดเลยซักครั้งค่ะ

วิธีปลุกลูกเข้าเต้า

หากคุณแม่พยายามปลุกลูกแล้ว แต่ดูแล้วลูกน้อยยังงัวเงียหรือดูง่วงเกินไปที่จะเข้าเต้า ให้คุณแม่ลองทำตามนี้ค่ะ

เอาผ้าคลุมตัวลูกออก

หากคุณแม่มีผ้าอ้อม หรือผ้าห่อตัวลูกอยู่ ให้เอาผ้าคลุมออก เพื่อที่จะได้ให้ลูกน้อยได้ขยับแขนและตัวได้อย่างสบาย

จัดท่านั่งลูกให้เหมาะสม

เมื่อลูกลืมตาแล้ว ให้คุณแม่ค่อย ๆ จับลำตัวลูกยกตั้งขึ้น (เกือบ ๆ ตั้งตรง) เพื่อให้ทารกกินนม

นวดเบา ๆ และชวนลูกคุย

นวดตามลำตัวลูกน้อยเบา ๆ พร้อมกับชวนทารกพูดคุย

ไม่ปลุกลูกด้วยการทำให้เจ็บ

คุณแม่ไม่ควรปลุกลูกน้อยด้วยการทำให้เจ็บไม่ว่าจะเป็นการตี หรือการหยิก

ถ้าคุณแม่ใช้วิธีปลุกลูกเข้าเต้าตามที่ได้กล่าวมานี้ อาจมีบ้างที่เด็กบางคนอาจงอแงร้องไห้ในช่วงแรก แต่ลูกก็จะเรียนรู้ และปรับตัวได้เองค่ะ