วิธีปลุกลูกเข้าเต้า แบบละมุนละม่อม ลูกไม่ร้องงอแง

นมแม่
JESSIE MUM

คุณแม่มือใหม่มีอะไรหลาย ๆ อย่างเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกที่เก้ ๆ กัง ๆ อยู่ เรียกได้ว่าเป็นการปรับตัวกันทั้งคุณแม่และลูกน้อย เรื่องการให้นมลูก ถ้าลูกตื่นอยู่ แล้วร้องงอแงเพราะหิว แบบนี้คุณแม่ก็ยังจะพอรู้ว่า “อ่อ…ลูกหิวแล้ว” แต่ถ้าลูกหลับยาว จนเลยเวลาที่ต้องตื่นมากินนมแล้ว จะทำอย่างไรดี? จะปลุกลูกมาเข้าเต้าดีไหม มีวิธีปลุกลูกเข้าเต้า แบบละมุนละม่อม ลูกไม่ร้องงอแงหลังตื่นมาไหม?

ลูกหลับสนิท ควรปลุกลูกเข้าเต้าดีไหม?

จะปลุกหรือไม่ปลุกดี คุณแม่ควรพิจารณาจาก

  • อายุ
  • น้ำหนัก
  • และสุขภาพโดยรวมของลูก

โดยส่วนใหญ่แล้วช่วง 2 -3 วันแรกหลังคลอด ทารกจะมีน้ำหนักลดลง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ลูกน้อยได้กินนมแม่ และจำเป็นมากโดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด ควรให้ลูกน้อยกินนมแม่ทุก ๆ 2 – 3 ชั่วโมง หรือตามแต่ที่ลูกน้อยต้องการ เพื่อทำน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งถ้าหากลูกน้อยหลับนานเกินกว่า 4 ชั่วโมง คุณแม่ควรปลุกลูกน้อยให้ตื่นมากินนมแม่ค่ะ

แม่โน้ต

แต่การทำน้ำหนักให้ขึ้นด้วยนมแม่ ต้องมั่นใจว่าลูกดูดได้เกลี้ยงเต้านะคะ เพราะช่วงแรกของน้ำนมนั้นส่วนประกอบหลักจะเป็นน้ำมากกว่าไขมัน แต่ส่วนท้ายของน้ำนมจะมีไขมันมากกว่า ซึ่งจะทำให้ทารกน้ำหนักขึ้นและอิ่มได้นานค่ะ
ถ้าลูกมีน้ำหนักตัวตามเกณฑ์ปกติแล้ว คุณแม่ก็สามารถรอจนกว่าลูกน้อยจะตื่นแล้วค่อยเข้าเต้าก็ได้ค่ะ

ทารกควรเข้าเต้าบ่อยแค่ไหนในแต่ละวัน

ทารกแรกเกิดโดยทั่วไปแล้วมักจะหิวนมทุก ๆ 2 – 3 ชั่วโมง หรือประมาณ 8 – 12 ครั้งต่อวัน คุณแม่โดยส่วนใหญ่อีกเช่นกันที่เมื่อเห็นลูกหลับสนิทแล้วก็ไม่อยากปลุกลูก อยากให้ลูกพักผ่อน แต่ความจริงแล้วอาจเป็นความคิดที่ผิดไปสักหน่อย เพราะข้อดีของการให้นมลูกบ่อย คือ

ให้นมลูกเร็วเท่าไหร่ ลูกหยุดร้องเร็วเท่านั้น

สิ่งเดียวที่ทารกจะสื่อสารกับคุณแม่ได้ว่า “หนูหิว” แล้วนั่นก็คือ การร้องไห้ เพราะฉะนั้นเมื่อลูกร้องไห้เพราะหิว ยิ่งคุณแม่ให้นมลูกเร็วได้เท่าไหร่ ลูกก็จะหยุดร้องได้เร็วมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งคุณแม่ควรสังเกตอาการลูกด้วยนะคะ เช่น ถ้าลูกเริ่มขยับตัว ทำปากจุ๊บ ๆ ห่อปาก เหมือนอยากดูดนม แบบนี้แสดงว่าลูกหิวแล้วค่ะ

ช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำนมให้มากขึ้น

เพราะยิ่งลูกเข้าเต้าคุณแม่ได้ถี่มากเท่าไหร่ ก็เท่ากับเป็นการช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำนมให้มากขึ้นเท่านั้น ส่งผลให้คุณแม่มีน้ำนมเพียงพอตามความต้องการของลูกน้อยค่ะ

● Crying is a late sign of hunger. The sooner you begin each feeding, the less likely you’ll need to soothe a frantic baby. Look for early signs of hunger, such as hand-to-mouth activity, smacking lips, rooting and stirring while asleep.
● Frequent feedings support early breast-feeding. If you breast-feed, frequent feedings will help you establish your milk supply.

ข้อมูลอ้างอิง mayoclinic.org

ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะเข้าเต้าได้ไหม และควรบ่อยแค่ไหน?

สำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนด พัฒนาการทางด้านร่างกายของเขาจะยังไม่สมบูรณ์ จึงอาจไม่สามารถแสดงออกได้ชัดเจนว่าหิวนม ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจำเป็นจะต้องได้รับสารอาหารที่สำคัญ ซึ่งก็คือ “นมแม่” นั่นเองค่ะ ซึ่งในกรณีนี้จะมีแพทย์เป็นผู้แนะนำในเรื่องการให้นมค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของ “วิธีเพิ่มน้ำนมแม่ ด้วยเทคนิค 4 ดูด และความเข้าใจผิดว่าน้ำนมน้อย


ไม่เห็นคัดเต้าเลย สงสัยน้ำนมจะน้อย ทำยังไงดี? ความเข้าใจผิดว่ามีน้ำน้อย แท้จริงแล้ว คืออะไร พร้อมเทคนิค 4 ดูดจากอธิบดีกรมอนามัย เพื่อเพิ่มน้ำนมแม่ คลิกที่นี่

แม่โน้ต

น้องมินเป็นเด็กที่คลอดก่อนกำหนดค่ะ หลังจากการคลอด โน้ตต้องปั๊มนมออกมาซึ่งได้เป็นหัวน้ำนมสีเหลืองมา 1 cc. เท่านั้น ใส่ไซริ้นไปป้อนลูกในห้อง ICU เด็กแรกเกิด และปั๊มนมออกทุก ๆ 2 – 3 ชั่วโมง น้ำนมก็เยอะขึ้นทุกวัน ๆ ก่อนออกจากโรงพยาบาลแพทย์และพยาบาลจะแนะนำและสอนวิธีการเข้าเต้าค่ะ จนวันนี้น้องมินไม่เคยกลับไปโรงพยาบาลเพราะน้ำหนักลดเลยซักครั้งค่ะ

วิธีปลุกลูกเข้าเต้า

หากคุณแม่พยายามปลุกลูกแล้ว แต่ดูแล้วลูกน้อยยังงัวเงียหรือดูง่วงเกินไปที่จะเข้าเต้า ให้คุณแม่ลองทำตามนี้ค่ะ

เอาผ้าคลุมตัวลูกออก

หากคุณแม่มีผ้าอ้อม หรือผ้าห่อตัวลูกอยู่ ให้เอาผ้าคลุมออก เพื่อที่จะได้ให้ลูกน้อยได้ขยับแขนและตัวได้อย่างสบาย

จัดท่านั่งลูกให้เหมาะสม

เมื่อลูกลืมตาแล้ว ให้คุณแม่ค่อย ๆ จับลำตัวลูกยกตั้งขึ้น (เกือบ ๆ ตั้งตรง) เพื่อให้ทารกกินนม

นวดเบา ๆ และชวนลูกคุย

นวดตามลำตัวลูกน้อยเบา ๆ พร้อมกับชวนทารกพูดคุย

ไม่ปลุกลูกด้วยการทำให้เจ็บ

คุณแม่ไม่ควรปลุกลูกน้อยด้วยการทำให้เจ็บไม่ว่าจะเป็นการตี หรือการหยิก

ถ้าคุณแม่ใช้วิธีปลุกลูกเข้าเต้าตามที่ได้กล่าวมานี้ อาจมีบ้างที่เด็กบางคนอาจงอแงร้องไห้ในช่วงแรก แต่ลูกก็จะเรียนรู้ และปรับตัวได้เองค่ะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP