ลมชักในเด็ก รู้ทัน ป้องกันได้

เลี้ยงลูก

เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่จะต้องเป็นกังวลอย่างแน่นอน หากลูกมีไข้ตัวร้อนและเกรงว่าลูกจะมีอาการชัก ซึ่งอาการไข้ตัวร้อนก็เป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่จะให้เด็กเกิดเป็นโรคลมชักได้ อีกทั้งยังมีอีกหลายปัจจัยเป็นสาเหตุที่เกิดลมชักในเด็ก ดังนั้น หากคุณแม่รู้ว่าคนในครอบครัวมีประวัติอยู่แล้วก็สามารถที่จะป้องกันได้ หรือปรึกษาแพทย์เพื่อไม่ให้เกิดกับลูกได้โดยเฉพาะวัย 5 ขวบปีแรก

ลมชักในเด็ก คืออะไร?

ลมชักเกิดจากการชักซ้ำตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปโดยไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง เป็นความผิดปกติในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติของเกลือแร่ ภาวะติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง หรือเกิดจากอาการไข้สูงที่ไม่สามารถควบคุมได้จนเกิดมีการชักขึ้นบ่อย ๆ

ที่สำคัญ มักจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดกับเด็กในช่วงอายุ 5 ปีแรกและความเสี่ยงดังกล่าวจะค่อย ๆ ลดลง จากนั้นจะมีความเสี่ยงสูงขึ้นอีกครั้งในกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุ ซึ่งหากมีอาการชักที่เกิดขึ้นในครั้งแรกก็จะมีโอกาสเกิดซ้ำได้ขึ้นอีก ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยด้วยกัน

กลุ่มเสี่ยงโรคลมชัก

บางครั้งคุณพ่อคุณแม่จำเป็นจะต้องคอยสังเกตลูกด้วยในแต่ละวัน โดยเฉพาะอาการลมชักมักจะเกิดขึ้นได้โดยที่ไม่ทันได้ตั้งตัว หรือแรกเริ่มของเด็กหรือคนไข้แต่ละคนจะแตกต่างกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ หากเกิดขึ้นก็อาจเกิดความเสี่ยงต่อโรคลมชักได้

เคยมีประวัติจากคนในครอบครัว

มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคลมชักมาก่อน หรืออาจจะเกิดจากพันธุกรรมได้

มีประวัติชักโดยไม่สัมพันธ์กับไข้

นั่นหมายถึงแม้จะอาการเจ็บป่วยธรรมดามีไข้ต่ำก็มีอาการชักได้

มีประวัติชักซ้ำจากไข้

ซึ่งเกิดจากการละเลยและปล่อยให้เด็กมีไข้สูงบ่อย ๆ ทำให้มีอาการชักซ้ำ

มีการเคลื่อนไหวร่างกายผิดปกติ

ซึ่งเป็นอาการที่ผู้ป่วยยังมีสติอยู่บ้าง แต่ควบคุมตัวเองไม่ได้

มีประวัติพัฒนาการล่าช้าแต่กำเนิด

ซึ่งอาจจะเกิดจากคนในครอบครัวมีประวัติเคยชัก หรือเกิดจากคุณแม่เอง

อาการลมชักในเด็ก มีกี่ประเภท

เด็กที่มีอาการชักเฉพาะส่วน

เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าในสมอง ที่มีการเริ่มจากจุดใดจุดหนึ่งในสมอง แล้วทำให้เกิดอาการแสดงต่าง ๆ โดยที่เด็กจะมีความรู้สึกตัวหรือไม่ก็ได้ เป็นได้ทั้ง 2 อย่าง ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยกระตุกแขนหรือขาข้างใดข้างหนึ่ง หรืออาการชักที่จะทำให้ศีรษะหันไปด้านใดด้านหนึ่ง

เด็กที่มีอาการชักทั้งตัว

เกิดจากการที่มีการเปลี่ยนแปลงคลื่นไฟฟ้าสมองออกเป็นบริเวณกว้างมีผลทำให้สมองทั้งสองข้างเกิดความผิดปกติอย่างรุนแรง และมักจะทำให้เด็กหรือผู้ป่วยหมดสติหรือไม่รู้สึกตัว เช่น การชักเกร็ง กระตุกเป็นจังหวะทั้งตัว อาการเหม่อลอยหรืออาจล้มลงแบบไม่รู้ตัวเพราะสูญเสียความตึงตัวของกล้ามเนื้อแบบเฉียบพลัน

การวินิจฉัยโรคลมชัก

จำเป็นจะต้องมีการซักประวัติ และทำการตรวจร่างกายทางระบบประสาทอย่างละเอียด รวมไปถึงประวัติการชักจากญาติพี่น้องที่เป็นสายเลือดเดียวกัน รวมไปถึงการตรวจเช็คพัฒนาการและวัดขนาดรอบศีรษะของเด็กเพื่อหาความผิดปกติ นอกจากนี้ยังต้องอาศัยการตรวจทางห้องปฏิบัติการร่วมด้วย

ตรวจเลือด

จำเป็นจะต้องมีการตรวจเลือด เพื่อเช็กดูระดับน้ำตาลและเกลือแร่ในร่างกายของคนไข้ว่าผิดปกติมากไม่

การตรวจน้ำไขสันหลัง

สำหรับกรณีนี้จะทำได้เมื่อสงสัยว่าเกิดภาวะการติดเชื้อในระบบประสาทหรือสงสัยอาการชักจากโรคทางพันธุกรรมบางอย่าง

การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG)

เป็นการตรวจที่มีประโยชน์มาก เพื่อเป็นการช่วยในการยืนยันการวินิจฉัย และสามารถจะจำแนกชนิดของโรคลมชัก เพื่อที่จะให้เป็นแนวทางในการรักษาและสามารถจะทำการทำนายโรคได้

การตรวจทางรังสีวิทยา

เช่น CT scan และ MRI จะให้สำหรับเด็กที่มีอาการชักเฉพาะที่ โดยต้องการจะหาสาเหตุว่ามีความผิดปกติของระบบประสาท หรือในกรณีที่ไม่สามารถจะควบคุมอาการชักได้

การรักษาโรคลมชัก

การรักษาโรคลมชัก สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้

  • การปฐมพยาบาลขณะที่เด็กมีอาการชักจนถึงมือแพทย์
  • จะต้องจัดเด็กหรือผู้ป่วยอยู่ในท่าที่เหมาะสมมากที่สุด
  • ให้การดูแลการหายใจและการไหลเวียนเลือด
  • ให้ยาหยุดชัก กรณีที่เด็กหรือผู้ป่วยมียาประจำตัวอยู่แล้ว
  • แพทย์จะทำการเจาะเลือดหรือตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาสาเหตุของอาการชัก
  • แพทย์อาจจะวินิจฉัยให้สารน้ำเพื่อสะดวกในการให้ยา สำหรับผู้ป่วยที่ยังไม่มีสติ
  • การป้องกันอาการชักซ้ำในเด็ก

สำหรับยากันชักมักจะมีผลข้างเคียงซึ่งในครอบครัวที่มีเด็กที่เป็นลมชักมักจะต้องตัดสินใจเพื่อรักษาอาการให้ลูกในปัจจุบัน โดยจะมีการให้ยาต่อเนื่องประมาณ 2 ปีขึ้นไป หรือบางรายหากอาการรุนแรงก็อาจจะต้องใช้ยาไปเรื่อย ๆ จนเด็กโตได้เลย โดยช่วงแรก ๆ จะมีการติดตามอาการอย่างใกล้ชิด และมีการเจาะเลือดดูระดับยา พร้อมกับตรวจเช็คผลข้างเคียง หากระหว่างนี้ไม่มีอาการชักอาจมีการลดขนาดยาลง หรือมีโอกาสที่จะได้รับการหยุดยากันชักได้ ซึ่งจะพบได้มากถึง 70% จากคนไข้ที่มีลมชักในเด็ก

ลมชักในเด็กสามารถจะป้องกันได้ หากคุณพ่อคุณแม่รู้ถึงสาเหตุต่าง ๆ ก็จะต้องเฝ้าดูเพื่อไม่ให้เกิดกับลูกได้ หากไม่ต้องการที่จะให้ลูกต้องรับยากันชักติดต่อกันไปเป็นระยะเวลานาน ๆ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  3. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  4. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP