คลอดธรรมชาติ รู้ก่อน เตรียมตัวก่อน

การคลอดและหลังคลอด

เวลาผ่านไป 9 เดือนกับการอุ้มท้อง เชื่อว่าคุณแม่ทุกท่านอยากจะคลอดลูกด้วยวิธีธรรมชาติ เพราะรู้มาว่าจะฟื้นตัวได้เร็วกว่าการผ่าคลอด แต่การคลอดด้วยวิธีธรรมชาตินี้จะมีข้อมูลอะไรที่คุณแม่ต้องรู้เพื่อการเตรียมตัวคลอดบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

ลักษณะของการคลอดธรรมชาติ

การคลอดด้วยวิธีธรรมชาติ คือ การคลอดเองโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือผ่าตัด ซึ่งอาจจะมีการใช้ยาเพื่อช่วยทุเลาอาการเจ็บปวดขณะคลอด หรืออาจใช้เครื่องมือทางการแพทย์ เพื่อให้ความช่วยเหลือคุณแม่ในการคลอด เช่น การเย็บแผลตัดขยายปากช่องคลอด

คลอดธรรมชาติดีอย่างไร?

มีผลข้างเคียงน้อย

คุณแม่และลูกจะมีโอกาสที่จะได้รับอันตรายหรือผลข้างเคียงจากการคลอดธรรมชาติน้อย

รู้สึกตัวตลอดเวลาขณะคลอด

คุณแม่จะรู้สึกตัวตลอดเวลา ทำให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วหลังคลอด เพราะร่างกายคุณแม่ไม่ต้องเจอกับแผลผ่าตัดใหญ่ที่ต้องอาศัยการดูแลมากเป็นพิเศษ

คุณพ่อของลูกน้อยสามารถอยู่ในห้องคลอดได้

กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณแม่ที่กำลังจะคลอดน้อง คุณพ่อของลูกสามารถเข้าไปอยู่ในห้องคลอด เพื่อให้กำลังใจและช่วยคุณแม่รับมือกับความเจ็บปวดของคุณแม่ขณะคลอดได้ค่ะ

คุณแม่เกิดความภูมิใจหลังคลอด

คุณแม่ทุกท่านที่เลือกวิธีคลอดธรรมชาติ จะเกิดความภูมิใจหลังการให้กำเนิดลูกน้อย ซึ่งถ้าตั้งครรภ์ในครั้งต่อไป คุณแม่ส่วนใหญ่ก็จะเลือกคลอดด้วยวิธีธรรมชาติเหมือนครั้งแรก

การคลอดธรรมชาติมีกี่แบบ

การคลอดธรรมชาติแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ

  • การคลอดในน้ำ : เป็นวิธีที่เริ่มได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากการคลอดในน้ำจะช่วยลดความเจ็บปวดในขณะที่คลอดลูกได้มากที่สุด ในน้ำจะมีออกซิเจนที่สามารถส่งไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดี ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การคลอดที่บ้าน : วิธีนี้ต้องมีสูติแพทย์และพยาบาลคอยดูแลอย่างใกล้ชิดขณะคลอด
  • การคลอดที่โรงพยาบาล : ข้อนี้หายห่วงค่ะ เพราะใกล้คุณหมอ ใกล้พยาบาลอยู่แล้ว เครื่องมือก็จะสะดวก สะอาด และปลอดภัย

คลอดธรรมชาติ ต้องเตรียมตัวอย่างไร?

คุณแม่ที่เลือกการคลอดด้วยวิธีธรรมชาติ ควรมีการเตรียมตัวแต่เนิ่น ๆ ดังนี้

  • เลือกโรงพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องการทำคลอดแบบธรรมชาติ
  • ปรึกษาและเตรียมวางแผนการคลอดกับคุณหมอ โดยพูดคุยถึงความต้องการเกี่ยงกับการคลอดงให้ชัดเจน
  • สอบถามคุณหมอว่าจำเป็นต้องใช้ยาหรือเครื่องมือทางการแพทย์ในการช่วยทำคลอดหรือไม่? อะไรบ้าง? เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน
  • โดยส่วนใหญ่ วิธีที่คุณหมอจะนำมาใช้ช่วยเหลือในการคลอด คือ การฉีดยาเข้าทางเส้นเลือดและการใช้เครื่องตรวจอัลตราซาวด์เพื่อดูลูกในครรภ์ จึงส่งผลให้ในระหว่างคลอด คุณแม่จะขยับตัวค่อนข้างลำบาก อาจจะรู้สึกว่าการคลอดแบบนี้เป็นเรื่องยากขึ้น แต่ก็เป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ค่ะ เพราะไม่เช่นนั้นคุณแม่จะรับมือกับความเจ็บปวดไม่ไหวแน่นอน
  • ลดความกังวลระหว่างคลอด ด้วยการฝึกปฏิบัติก่อน
  • การที่คุณแม่หาข้อมูลเรื่องวิธีการคลอดธรรมชาติและนำมาฝึกปฏิบัติด้วยนั้น จะทำให้ระหว่างการคลอดคุณแม่จะสามารถทำให้คล่องแคล่วและรู้วิธีมากขึ้น ทำให้ลดความวิตกกังวลและความเครียดระหว่างคลอดไปได้มาก เพราะหากคุณแม่มีความกังวลจะส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการคลอด เนื่องจากระดับฮอร์โมนความเครียดเพิ่มขึ้นสูงอาจกระทบต่อการบีบรัดตัวของมดลูกได้

ขั้นตอนการคลอดธรรมชาติ

คุณแม่ที่ตั้งใจอยากจะคลอดด้วยวิธีธรรมชาติ ต้องเผชิญกับระยะของการคลอด 3 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 ปากมดลูกขยายออกและบางลง

ซึ่งแบ่งออกเป็นระยะ ได้แก่

ระยะปากมดลูกเปิดตัวช้า

คุณแม่จะเริ่มรู้สึกถึงการหดรัดตัวของปากมดลูกเบาๆ โดยจะเกิดขึ้นครั้งละประมาณ 30-45 วินาที ทุก ๆ 5-30 นาที บางรายปากมดลูกอาจจะค่อยๆ ขยายออกประมาณ 3-4 เซนติเมตร มีอาการปวดหลังส่วนล่าง ปวดท้องคล้ายมีประจำเดือน หรือปวดตึงๆ บริเวณเชิงกราน หรืออาจมีน้ำสีมพูหรือน้ำปนเลือดออกมาด้วย

ระยะปากมดลูกเปิดตัวเร็ว

ระยะนี้ปากมดลูกจะค่อยๆ หดรัดตัวถี่และรุนแรงมากขึ้น ทำให้คุณแม่มีอาการปวดหลังส่วนล่างมากขึ้น เกิดตะคริวที่ขา รวมถึงคลื่นไส้ บางรายอาจมีน้ำคร่ำแตกออกมา คุณแม่ควรรีบไปโรงพยาบาลโดยด่วน

ระยะเปลี่ยนผ่าน

เป็นช่วงสุดท้ายของระยะที่ 1 ซึ่งอาจใช้เวลาตั้งแต่ 20 นาทีไปจนถึง 2-3 ชั่วโมง สำหรับการคลอดในท้องแรก แต่หากเป็นท้องสองการคลอดมักจะเปลี่ยนเป็นระยะที่ 2 อย่างรวดเร็ว ระยะนี้ปากมดลูกจะขยายออก 8-10 เซนติเมตร และมีการหดรัดตัวถี่ขึ้นเป็นครั้งละ 60-90 วินาที ทุก ๆ 0.5-2 นาที อย่างไรก็ตามระยะนี้หากคุณแม่ต้องการเบ่งคลอดให้แจ้งคุณหมอทันที คุณหมอจะให้อั้นไว้ก่อน เพราะปากมดลูกยังไม่เปิดเต็มที่ หากเบ่งเร็วเกินไปอาจทำให้เหนื่อยล้าและปากช่องคลอดบวมได้

ระยะที่ 2 ระยะเบ่งคลอด

ช่วงนี้คุณแม่จะเวลาประมาณ 5 นาทีไปจนถึง 2-3 ชั่วโมง บางรายหากเป็นท้องแรกอาจใช้เวลานานกว่านี้ คุณหมอจะให้ยาระงับปวด และคอยให้จังหวะการเบ่งเมื่อมดลูกมีการหดรัดตัว เมื่อเด็กคลอดออกมาแล้ว อันดับแรกคุณหมอจะทำความสะอาดทางเดินหายใจของเด็กและตัดสายสะดือ

ระยะที่ 3 ระยะคลอดรก

หลังจากที่คลอดลูกแล้ว คุณหมอจะทำการคลอดรกทันที ในขั้นตอนนี้คุณหมอจะขอให้คุณแม่เบ่งอีกครั้งเพื่อทำการคลอดรกออกมา โดยอาจให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกและลดการมีเลือดออก หรือให้คุณแม่ลองให้นมลูก เพื่อเป็นการกระตุ้นการหดรัดตัวของช่องคลอด พร้อมกับนวดเบาๆ ที่ท้อง เพื่อกระตุ้นให้รกลอกตัวออกมา

5 วิธีช่วยลดความเจ็บปวดระหว่างคลอด

ทำสมาธิ

ขณะคลอดให้คุณแม่หายใจเข้าออกช้า ๆ เป็นจังหวะที่เท่า ๆ กัน พร้อมกับเป่าปากในขณะที่หายใจออก แบบนี้ก็สามารถช่วยได้ค่ะ

ท่าคลอดตามแรงโน้มถ่วงโลก

โดยเฉพาะท่าคลอดแบบแมว หรือ PSU Cat position ที่ใช้แรงโน้มถ่วงโลกช่วยในการเคลื่อนตัวของทารกในครรภ์ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคุณหมอเป็นหลักนะคะ

เตรียมร่างกายให้พร้อม

แน่นอนว่าการเตรียมร่างกายของคุณแม่ก่อนคลอดเป็นสิ่งสำคัญมาก ซึ่งคุณแม่ควรดูแลตัวเองให้ดี พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ พร้อมกับออกกำลังกายแค่พอเหมาะเท่านี้คุณแม่ก็จะคลอดได้ง่าย และฟื้นตัวเร็ว

น้ำอุ่น ๆ ช่วยได้

น้ำอุ่นทีว่านี้ไม่ใช่ให้คุณแม่จิบไปคลอดไปนะคะ แต่หมายถึงการเลือกคลอดในน้ำต่างหาก เพราะน้ำอุ่นจะช่วยลดการหดเกร็งของช่องท้อง และเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตได้เป็นอย่างดี

สามี

จะให้มาเบ่งแทนคงไม่ได้ แต่ที่ได้คือ กำลังใจมากกว่า ถ้ากำลังใจดี อะไรก็ดีตามค่ะ

การคลอดธรรมชาติเป็นวิธีที่คุณแม่หลาย ๆ คนเลือกใช้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น บางคนไม่สามารถคลอดธรรมชาติได้เนื่องจากหลาย ๆ ปัจจัยด้วยกัน แต่ไม่ว่าจะเป็นการคลอดด้วยวิธีไหนก็ตาม ขออย่างเดียวให้ลูกแข็งแรง ครบ 32 ก็พอแล้วเนอะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  3. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  4. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP