อยากเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไปนานๆ ต้องรับมือกับปัญหาเหล่านี้ให้ได้

นมแม่

วันนี้จะชวนบรรดาคุณแม่ลูกอ่อนทั้งหลาย ที่ตั้งปณิธานว่าจะให้นมแม่แก่ลูกน้อยไปนานๆ มาดูวิธีรับมือกับปัญหาที่จะต้องเจอขณะให้นมแม่กันค่ะ อย่างว่าแหละค่ะ มารไม่มีบารมีไม่เกิดนะจ๊ะ อุปสรรคในเส้นทางนมแม่นั้นมี 108 อย่าง แต่ละคนก็จะเจอแต่ละปัญหาไม่เหมือนกัน แต่จะพาไปดูปัญหาเบสิคๆ กันจะได้แก้ได้ไม่จิตตกกันค่ะ

ลูกติดเต้าไม่เอาขวด แม่จะไปไหนก็ลำบาก

จริงๆ แล้วการที่ลูกติดเต้านั้น ย่อมดีกว่าการที่ลูกติดขวดนะคะ เพราะการได้ดื่มนมจากอกแม่นั้น นอกจากจะได้นมที่สดใหม่ ยังเป็นการสานสายใยรักระหว่างแม่ลูกได้ดี ตาประสานตา สัมผัสอกอุ่น คุณแม่ลองคิดดูสิคะว่าเราจะได้กอดลูกน้อยแบบนี้ไปได้อีกนานแค่ไหน อีกหน่อยเขาก็จะเติบโตจนไม่สามารถมาทำเช่นนี้ได้อีก ส่วนคุณแม่ที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้านอาจจะเผชิญปัญหาการที่ลูกติดเต้า แล้วไม่ยอมดูดขวด ก็จะเป็นกังวลว่าลูกจะไม่ยอมกินแล้วทำให้ขาดสารอาหารได้ วิธีแก้ปัญหาอย่างง่ายๆ คือในช่วงก่อนที่คุณแม่จะต้องกลับไปทำงานหลังจากลาคลอดมา 3 เดือนแล้ว อาจจะหาขวดนมเสมือนเต้านมแม่ ซึ่งก็มีหลายยี่ห้อให้เลือก ฟังก์ชั่นของขวดนั้นจะมีกลไกการทำงานที่เหมือนดื่มจากนมแม่ คือจะไม่ไหลเร็วจนเกินไป รวมถึงจุกแบบนิ่มฐานกว้างที่รองรับกับริมฝีปากลูก พอลูกกลับมาเข้าเต้าก็จะไม่เกิดความสับสนค่ะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องเกิดจากการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอนะคะ แรกๆ ก็อาจจะมีดราม่าได้ ทำใจให้สบายๆ อย่าเครียดจนเกินไป เดี๋ยวน้ำนมจะไม่ไหลนะคะ

ลูกติดขวด ไม่ดูดเต้า แล้วจะกระตุ้นให้น้ำนมไหลยังไงดี?

อันนี้ดูจะเป็นปัญหาที่อาจทำให้บางบ้านถึงกับยอมแพ้ แล้วเปลี่ยนไปให้นมผงเลยด้วยซ้ำ ก็เพราะการที่ลูกไม่ดูดเต้า ทำให้ไม่มีการกระตุ้นเต้านมทำให้สมองสั่งให้น้ำนมหยุดไหลเพราะคิดว่าหมดประโยชน์ไปโดยปริยาย เรื่องนี้อาจเกิดจากการที่บางบ้านเริ่มขวดให้ลูกเร็วเกินไปโดยเฉพาะเด็กแรกคลอดนั้น ไม่ควรให้ลูกดูดขวดก่อนที่จะเจอเต้านมแม่ ถ้าจำเป็นต้องป้อนนมผงในช่วงที่ยังดูดเต้าแม่ไม่ได้ หรือลูกยังดูดเต้าไม่เป็น ก็ควรจะป้อนด้วยช้อน หรือหลอดหยดก่อน แต่ถ้าผ่านไป 1-2 เดือนแล้ว ลูกเกิดรักขวดมากกว่าเต้าแม่จริงๆ คงต้องหาตัวช่วยแล้วล่ะค่ะ อาจลองเอาหลอดหยดดูดนมแม่แล้วหยดลงไปที่หัวนม เพื่อให้ลูกลองดูดดูว่านี่เต้าแม่ไง ดูดได้นะ หรือถ้าน้อยไปกลัวจะขาดตอน ให้ทำการต่อสายยางเล็กๆ แล้วพ่วงกับนมแม่จากภาชนะ จากนั้นทำการแปะไว้ที่หัวนมให้ลูกดูด เพราะวิธีนี้จะทำให้ลูกรู้สึกว่าดูดแล้วนมมาเร็วขึ้นเหมือนกับขวดได้ สำหรับคุณแม่ท่านไหนที่ทำยังไงลูกก็ไม่เอาเต้าจริงๆ ก็ต้องพึ่งเครื่องปั๊มไว้นะคะ เพื่อน้ำนมจะได้ไหลอย่างต่อเนื่องมีให้ลูกกินได้ตลอด

หัวนมแตก

ปัญหานี้อาจทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบายตัว และไม่สบายใจที่จะให้นมแม่ต่อ เมื่อท่าดูดเต้าของลูกไม่ถูกต้อง อาจก่อให้เกิดปัญหานี้ได้ วิธีป้องกันง่ายๆ คือลองใช้ที่ครอบหัวนมแบบที่มีรูให้ลูกดูดได้ เพื่อลดการเสียดสี และหลังจากให้นมแล้ว ควรคงความชุ่มชื้นให้แก่หัวนม โดยอาจใช้นมแม่นั่นแหละทารอบหัวนม หรืออาจใช้เป็นขี้ผึ้งลาโนลินก็ได้ค่ะ

ลูกกัดหัวนม

เมื่อลูกเริ่มฟันขึ้น อาจทำให้คุณแม่เจ็บตัวได้ จะลองใช้ตัวครอบหัวนมป้องกันก็ได้นะคะ หรือถ้าลูกเริ่มจะพูดรู้เรื่องแล้ว ก็ต้องบอกให้ลูกรับรู้ถึงความเจ็บปวดของแม่ค่ะ
อุ้มลูกเข้าเต้าจนเจ็บข้อมือ
ถ้าคุณแม่อุ้มลูกแบบลงน้ำหนักไว้แต่ที่ข้อมือ เมื่อนานไปก็จะมีปัญหาในส่วนนี้ได้ แต่การเอาลูกเข้าเต้านั้นต้องอุ้มเป็นเวลานานในระยะนึงด้วย ดังนั้นควรจะหาหมอนหนุนตัวลูกเพื่อให้ตัวลูกเข้าเต้าได้พอดี หรืออาจให้ลูกนอนบนโต๊ะแล้วคุณแม่นั่งโดยให้เต้านมอยู่ในระยะพอดีกับปากลูก ก็จะทำให้คุณแม่ไม่ต้องเหนื่อย และท่านอนด้วยกันทั้งแม่ทั้งลูกก็ช่วยถนอมข้อมือคุณแม่ได้เช่นกันค่ะ

นมคัดตึงจนเต้าเป็นหนอง

อันนี้ต้องโทษที่วินัยในการปั๊มนมของคุณแม่แล้วละค่ะ ถ้าตกรอบปั๊มเมื่อไหร่ หรือลูกดูดไม่เกลี้ยงเต้าแล้วไม่รีบเคลียร์ให้หมด จะสะสมจนเกิดเป็นหนองติดเชื้อได้ ก็จะทำให้ต้องหยุดให้นมเพราะต้องรักษาตัวคุณแม่เอง แต่ถึงจะต้องหยุดช่วงให้นมแม่ไป ถ้าคุณแม่ยังมีนมสต็อคสะสมไว้พอในช่วงนี้ก็ให้ลูกกินนมแม่จากขวดไปก่อนได้ค่ะ แต่ถ้าไม่มีแม้แต่สต็อคเลยจำเป็นต้องใช้นมผงไปก่อนก็ไม่ว่ากันค่ะ ไว้หายดีแล้วค่อยกลับมาสู้กันใหม่นะคะ

Featured post

โพสต์ที่อยากให้คุณแม่อ่าน

  1. 346 ชื่อจีนความหมายดี ๆ มีให้ลูกสาวและลูกชาย

  2. วิธีสต๊อก นมแม่ และการจัดเรียงให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้เย็น

  3. 10 อาหารว่างคนท้อง และลูกน้อยในครรภ์

  4. หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร? นับยังไง ไม่ท้องจริงหรือ

  5. 12 กลุ่มดาวจักรราศี มีอะไรบ้าง พร้อมเลขมงคลปี 2564

  6. 10 นิทานอีสป กับ 10 หนังสือนิทาน 2 ภาษา ปลูกฝังเรื่องราวดี ๆ สอนใจเด็ก ๆ

  7. ความฉลาด 11 ด้าน หรือ 11Q (11 Quotients) ที่เด็กยุคใหม่ควรมี

  8. 14 นิทานพื้นบ้านของไทย สอนใจเด็กได้ดี

หมวดหมู่โพสต์

บทความล่าสุด

  1. เช็คลิสต์ “ของเตรียมคลอด” “ของใช้เด็ก” “ของใช้หลังคลอด” เพื่อใช้หลังคลอดที่จำเป็น

  2. 8 อาหารที่แม่ให้นมห้ามทาน

  3. แนะวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่อย่างถูกวิธี

  4. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  5. White Noise เสียงคลื่นความถี่ที่กล่อมลูกให้หลับฝันดี เพิ่มสมาธิได้อีกด้วย

รีวิวผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก

  1. รีวิว นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก 10 ยี่ห้อ เปรียบเทียบกันตัวต่อตัว ยี่ห้อไหนดี พร้อมแนะวิธีการเลือกนมกล่องให้ลูก

  2. เปรียบเทียบนมผงสูตร 1 ในท้องตลาด สารอาหารที่น่าสนใจ

  3. 4 แปรงสีฟันเด็กยุคใหม่ แบรนด์ไหนใช้ดี เทียบแบรนด์ต่อแบรนด์

  4. รีวิวเปรียบเทียบชัดๆ ล้างจมูกให้ลูกด้วย Hashi Plus VS ไซริงค์

  5. รีวิว แชมพูสบู่เหลว Head to toe 5 แบรนด์ เทียบกันแบรนด์ต่อแบรนด์

  6. รีวิว นมผง สำหรับลูกน้อย 11 ยี่ห้อ ละเอียดยิบ ปี 2566 พร้อมหลักการเลือกซื้อนมผงให้ลูกน้อย

  7. 12 คาร์ซีท ยี่ห้อไหนดี 2023 ปลอดภัย คุ้มค่า คุ้มราคา

  8. 10 แป้งเด็ก ยี่ห้อไหนดี 2023 ปกป้อง อ่อนโยนต่อผิวลูก

  9. 10 เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 ใช้งานง่าย ปั๊มเกลี้ยงเต้า

  10. 10 เบบี้โลชั่น ยี่ห้อไหนใช้ดี 2023 เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวลูกได้ดั่งใจแม่

ท่องเที่ยวกับครอบครัว

  1. 5 ที่เที่ยวปีใหม่ใกล้กรุงเทพ 2566 อิน ไม่มีเอ้าท์

  2. 5 พิกัดเช็คอิน ที่เที่ยวโคราช เมืองย่าโม

  3. 6 ที่เที่ยวเชียงใหม่ สำหรับครอบครัว ลูกแฮปปี้ พ่อแม่ดี๊ด๊า

  4. 5 พิกัด พาลูกเที่ยวญี่ปุ่น เปิดประสบการณ์การเรียนรู้

  5. 8 ที่เที่ยวครอบครัว หน้าหนาว ที่ไม่ควรพลาด

  6. 6 สถานที่พาลูกเที่ยว เรียนรู้ธรรมชาติ เสริมสร้างพัฒนาการ

TOP